การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการรถบรรทุกขนส่งสินค้าส่งออก ในพื้นที่เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยตัวแบบจำลอง

Main Article Content

พนิดา แช่มช้าง
จรรยา ชาญชัยชูจิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินประสิทธิภาพการจัดการรถบรรทุกขนส่งสินค้าส่งออกในพื้นที่เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบการจัดการเพื่อลดความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่
ตัวแบบจำลองได้ถูกนำมาใช้ร่วมกับการประยุกต์ใช้โปรแกรม Arena เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบการจัดการในปัจจุบันและระบบปรับปรุงใหม่ อัตราการเข้ามารับบริการของรถทั้งหมดได้ถูกเก็บรวบรวมระหว่างเดือน พ.ค.-ส.ค. 2561 รวมทั้งได้เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างรถ 335 คัน เพื่อสำรวจระยะเวลาที่รถใช้จริงในพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่า รถบรรทุกสินค้าส่งออกใช้เวลาเฉลี่ยในพื้นที่ 55 นาที โดยมีจำนวนรถในพื้นที่สูงสุด 138 คันในช่วงเวลา 17:01-18:00 น. ในด้านอรรถประโยชน์ของการใช้ช่องเทียบรถเพื่อการขนถ่ายสินค้า พบว่าส่วนใหญ่มีค่าต่ำกว่าร้อยละ 50 ยกเว้นช่วงเวลา 15:01-20:00 น.ที่อรรถประโยชน์เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยด้วยค่าสูงสุดเป็นร้อยละ 70 ในช่วงเวลา 18:01-19:00 น. และพบว่าเวลารอคอยเฉลี่ยเพื่อใช้ช่องเทียบรถมีค่าต่ำมาก รวมทั้งพบว่าปัญหาความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่ไม่ได้เกิดจากความไม่เพียงพอของช่องเทียบรถ นอกจากนี้จากการวิเคราะห์กิจกรรมในกระบวนการให้บริการ พบว่าการกำหนดรายการเอกสารที่ต้องแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนแรกของการรับบริการไม่ครอบคลุมเอกสารทั้งหมดที่ต้องใช้ในพื้นที่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่ จากการอนุญาตให้รถที่ไม่พร้อมสำหรับการขนถ่ายสินค้าเข้ามาในพื้นที่ได้


              งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางการปรับปรุงระบบโดยปรับการดำเนินงานในขั้นตอนการตรวจสอบขาเข้าเป็นการกำหนดให้รถบรรทุกสินค้าต้องแสดงเอกสารทั้งหมดที่ต้องใช้ในพื้นที่ให้กับเจ้าหน้าที่ ผลจากการจำลองสถานการณ์ภายใต้แนวทางดังกล่าว พบว่า รถใช้เวลาในพื้นที่น้อยลงโดยเฉลี่ย 20 นาที ส่งผลให้ปริมาณรถคงค้างในพื้นที่ลดลงกว่าร้อยละ 30 จากเดิม


คำสำคัญ: 1) การจำลองสถานการณ์ 2) ประสิทธิภาพ 3) สถานีขนถ่ายสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Chamnanwech, S. (2012). Quantitative Analysis. (6th ed.). Bangkok: S. Asia Press (1989).

Chanchaichujit, J., Chamchang, P., Chanklap, B., Jawjit, W., Sukahbot, S., Kokkaew, N., et al. (2018). Project: A smart backhaul trucking system. The Thailand Research Fund, Bangkok.

El-Naggar. (2010). Application of queuing theory to the container terminal at Alexandria seaport. Journal of Soil Science and Environmental Management, 1(4), 77-85.

Fialkin and Veremeenko. (2017). Characteristics of traffic flow management in multimodal transport hub (by the example of the seaport). Transportation Research Procedia, 20(1), 205-211.

Free zone Suvarnabhumi Airport. (2018). Free zone. Retrieved January 15, 2018, from https://freezone.airportthai.co.th

Kelton, Sadowski and Sturrock. (2007). Simulation with Arena (4th ed.). New York: McGraw Hill.

Loutanasin, C. (2008). The efficiency improvement of outbound transportation by utilizing a container yard. Master Thesis, M.S., King Mongkut's University of Technology Thonburi. Bangkok.

Manasilapapan,S. & Sensod, A. (2017). The management of the value added area in the free zone at Suvarnabhumi airport. Journal of Technical Education Development, 29(101), 100-107.

Phisatphen, R. (2010). A guide to simulation modeling with ARENA (revised edition). Bangkok: SE-Education.

Sathitman, U. (2013). Analysis of queuing system models services examine the vehicle the laem chabang port. Master Thesis, M.S., Burapa University. Chonburi.

Surachoetkiat, W. (2001). Computer Simulation. Pathumthani: Sky Book.

Tadashi. (2003). Optimizing the handling capacity in a container terminal for investigating efficient handling systems. Journal of Eastern Asia Society for Transportation Studies, 5, 597–608.

Thongprasert, S. (1999). Problem Simulation (5th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Torteeka, T. (2011). Cost analysis of queuing system for container vessel at port of Bangkok. Master Thesis, M.Econ., Kasetsart University. Bangkok.

Yongram, S. (2014). Efficiency improvement in sugar cane unloading process. Master Thesis, M.S., Kasetsart University. Bangkok.