ความพร้อมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นการสำรวจดูผลที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในส่วนของฝ่ายผลิต ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนในการเตรียมถ่ายทำภาพยนตร์ การถ่ายทำภาพยนตร์ และขั้นตอนหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างประการใดจากการถ่ายทำด้วยระบบแอนะล็อกเดิมที่ใช้ฟิล์ม ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของคนในกระบวนการผลิตภาพยนตร์ เพื่อรับมือกับการแข่งขันในการที่จะพัฒนาให้ได้มาตรฐานเป็นอุตสาหกรรมส่งออกทางวัฒนธรรมให้ทัดเทียมกับประเทศในภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 วัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์จากระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิทัล ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย และ 2) เพื่อสำรวจความพร้อมของบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระบบดิจิทัลของประเทศไทย
งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยโดยใช้เครื่องมือเชิงคุณภาพคือการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus-Group Interview) โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลหลักออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ และกลุ่มทีมงานในการผลิต ได้แก่ ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพ ตากล้อง อย่างน้อยกลุ่มละ 3 ท่าน และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-Interview) นักวิชาการภาพยนตร์ 3 ท่าน เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์จากระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิทัลของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสำรวจความพร้อมของบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ด้วยระบบดิจิทัลในประเทศไทย
Article Details
References
2. Buosonte, R. (2008). A qualitative research in education. Bangkok: Kumsamai press.
3. Fidler, R. (1997). MediaMorphosis understanding new media. UK: Pine Forge Press.
4. Gadd, N. (2005). The resistance to digital cinema in Australia. Metro Magazine, 145(15), 58-61.
5. Jettana, D. (2010). Analysis of the transitional trend from film cinematography to digital cinema in Thailand. Master thesis, M.A., Chulalongkorn University. Bangkok.
6. Kamket, W. (2008). Research methodology in behavioral sciences (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University press.
7. Office of the National Economic and Social Development Council. (2008). Strategic framework for regional development. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.
8. Smudits, A. (2002). Mediamorphosen des Kulturschaffens: Kunst und Kommunikationstechnologien im Wandel. Vienna: Braumuller.
9. Vittayarat, S (2004). The development of new media: The influence of the digital language communication patterns of the human race and its impact on media ethics. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University press.