แนวทางการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวกว๊านพะเยา

Main Article Content

ทศพล คุ้มสุพรรณ [Thosaphon Khumsuphan]
ฤทัยภัทร พิมลศรี [Luethaipat Pimonsree]

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวของกว๊านพะเยาจะต้องมีการสร้างความรับรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น จึงต้องมีแนวทางการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างความโดดเด่นและแตกต่างให้แก่เมืองพะเยาเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ของเมืองพะเยาให้เป็นเมืองที่ “ใช้ชีวิตช้า ๆ อย่างสุข ๆ” เป็นการสอดคล้องกับผลการศึกษาลักษณะเฉพาะ และศักยภาพของเมือง ด้วยการสร้างแคมเปญ Phayao Together เพื่อกระตุ้นให้คนในจังหวัดพะเยาปรับตัวร่วมมือกันเพื่อรองรับกับรูปแบบการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวคาดหวังถึงการรับประทานอาหารที่ดี ปลอดภัย อร่อย เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากกว๊านพะเยา และใช้ชีวิตสบาย เดินทางสะดวกด้วยรถจักรยาน ที่พักสะอาดสวยงามมีสไตล์ ถึงแม้ว่าพะเยาจะมีความเป็นเมืองผ่าน ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดทัศนคติว่าผ่านพะเยาได้มาเห็นกว๊านพะเยาเพื่อถ่ายรูปแล้วเดินทางต่อ เป็นค่านิยมที่ถูกฝังอยู่กับนักท่องเที่ยวเป็นเวลานาน ดังนั้น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าเป็นคนอายุ 30 ปีขึ้นไป รายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ซึ่งวิถีชีวิตของคนในกลุ่มนี้ที่มักเป็นคนที่ทำงานในเมืองใหญ่ เวลาปกติมักเคร่งเครียดกับงานที่ต้องมีข้อจำกัดด้านเวลาเป็นตัวบีบคั้น พะเยาจึงเป็นแหล่งพักผ่อนที่ดีของคนกลุ่มนี้ ด้วยบรรยากาศที่งดงามของเวิ้งน้ำและภูเขาสูง กระบวนการการสื่อสารการตลาด จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลายโดยเฉพาะการสื่อสารผ่านสื่อบุคคลด้วยช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายคือสื่อสังคมออนไลน์ที่ผลิตเนื้อหาออกมาหลากหลายรูปแบบ เพื่อตอกย้ำและกระตุ้นให้นึกถึงการใช้ชีวิตที่สงบสุขไม่เร่งรีบและบีบคั้น ทั้งนี้ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ และผู้ประกอบการในท้องถิ่นต้องวางเป้าหมายและแนวทางให้กระบวนการการสื่อสารการตลาดไปในทิศทางดังที่กล่าวมาเพื่อทำให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic article)

References

1. Belch, E. G. and Belch, A. M. (2015). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective. (K. Chaiwat, Trans.). Bangkok: McGraw Hill. (Original work published in English, 2011)

2. Isarabhakdee, P. (2016). Branding 4.0 (2nd ed.). Bangkok: Amarin How to.

3. Jittangwattana, B. (2014). Sustainable tourism development planning (2nd ed.). Bangkok: Dhamasarn.

4. Phayao Municipality. (2018). General information and population. Retrieved May 16, 2018, from
https://www.tessabanphayao.go.th/index.php?name=page&file=page&op=ptb11

5. Pimonsompong, C. (2014). Planning and development tourism market (12nd ed.). Bangkok: Kasetsart University Press.

6. Pimonsree, K. (2010). Development of the interpretation model in tourism destination based on local people participation. Doctoral Dissertation, Maejo University, Chiangmai.

7. Pimonsree, L. (2016). Research report of product and integrated marketing communication development for tourism in Kwan Phayao. Phayao: University of Phayao.

8. Siripat, C. (2018). Tourists’ attitudes toward 7 greens affecting tourism image perception on Samui Island. Journal of Business, Economics and Communications, 13(1), 124-136.

9. Sitikarn, B. (2014). Tourism development planning: Concept to practice. Chiangmai: Santiparb packprint.