การวัดศักยภาพในการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นจนแข็งของไทย

Main Article Content

ชัยพล บุญยพิมพะ [Chaiyapon Bunyapimpa]
มาฆะสิริ เชาวกุล [Makasiri Chaowagul]

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ การวัดศักยภาพในการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นจนแข็งของประเทศไทย โดยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกของกุ้งสดแช่เย็นจนแข็งของประเทศไทย ด้วยแบบจำลองส่วนแบ่งการตลาดคงที่ (Constant Market Share Model: CMS) ใช้ข้อมูลจาก UN Comtrade โดยแบ่งช่วงเวลาที่ทำการศึกษาออกเป็น 5 ช่วง คือ ปี 2532-2538, ปี 2539-2546, ปี 2547-2551, ปี 2552-2557 และปี 2558 ตามเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นจนแข็งของประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว


ผลการศึกษา ในแต่ละกลุ่มปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นจนเย็น โดยกลุ่มปัจจัยการแข่งขันเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดต่อการเพิ่มศักยภาพในการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นจนแข็ง เนื่องจากเป็นกลุ่มปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ โดยมีปัจจัยราคาส่งออกเป็นองค์ประกอบสำคัญ การเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาส่งออกเกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมการผลิตมีการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการดำเนินนโยบายภาครัฐ พบว่า มูลค่าเฉลี่ยของการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นจนแข็งลดลงในช่วงปี 2539-2546 เทียบกับ 2532-2538 เท่ากับ 28,011,523.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2547-2551 เทียบกับ 2539-2546 ลดลง 240,441,715.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้น 296,861,625.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปี 2552-2557 เทียบกับ 2547-2551 และกลับลดลง 665,481,035.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปี 2558 เทียบกับ 2552-2557 โดยมีกลุ่มปัจจัยจากการขยายตัวทางการค้ารวมของโลกส่งผลทางบวกต่อมูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นจนแข็งทุกช่วงเวลาที่ศึกษา ส่วนกลุ่มผลจากการส่งเสริมการส่งออกนั้นส่งผลทางลบต่อมูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นจนแข็งทุกช่วงเวลาที่ทำการศึกษา สำหรับกลุ่มปัจจัยจากการกระจายตลาด และผลจากการแข่งขันอย่างแท้จริง ส่งผลทางลบสองช่วงแรก และช่วงท้าย แต่ส่งผลทางบวกในช่วงปี 2552-2557 เทียบกับ 2547-2551


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. Leamer, E. E. and Stern, R. M. (1970). Quantitative international economic. Boston: Allyn and Bacon.

2. Ngensiam, S. (2004). An analysis of revealed comparative advantage and constant market share: A case study of frozen shrimps and prawns from residual problem. Master thesis, M. A., Kasetsart University, Bangkok.

3. Prakobkij, P. (2007). An analysis of export competitiveness for frozen shrimps and processed shrimps of Thailand. Master thesis, M. S., Kasetsart University, Bangkok.

4. Thongpakde, N., Sirisathien, D. and Na Ayuthaya, J. A. (1999). The strengthening the competitiveness. Bangkok: Thailand Development Research Institute.

5. United Nations Commodity Trade Statistics Database. (n.d.). UN comtrade database. Retrieved March 8, 2016, from https://comtrade.un.org/db/dqBasicQuery.aspx

6. Vaiyarabud, P. (2000). An analysis of market share of Thai frozen and chilled shrimp in major markets. Master thesis, M. S., Kasetsart University, Bangkok.