การศึกษาวิธีการสร้างคำประสมคันจิสองตัวในหมวดคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา เลิศเสม บุณยานันต์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ต่อศักดิ์ ร่มส้มซ่า หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ศิริชล วรพุฒ นักวิจัยอิสระ
  • สุนารี ยาสี โรงเรียนเสรีศึกษา เพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

คำประสมคันจิ , คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ , การสร้างคำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมคำประสมคันจิสองตัวในหมวดคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจที่มีค่าความถี่การใช้สูงในคลังข้อมูลภาษา 100 คำ และ 2) เพื่อวิเคราะห์วิธีการสร้างคำประสมคันจิสองตัวตามเกณฑ์เสียงอ่านและความหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1) คำประสม  คันจิสองตัวแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบตามเสียงอ่าน ได้แก่ คำประสมคันจิสองตัวที่มีเสียงอ่านแบบจีน จำนวน 95 คำ คำประสมคันจิสองตัวที่มีเสียงอ่านแบบญี่ปุ่น จำนวน 4 คำ และคำประสมคันจิ  สองตัวที่มีเสียงอ่านแบบผสมจีน-ญี่ปุ่น จำนวน 1 คำ โดยไม่พบคำประสมคันจิสองตัวที่มีเสียงอ่านแบบผสมญี่ปุ่น-จีน และ 2) พบวิธีการสร้างคำประสมคันจิสองตัวตามความสัมพันธ์ทางความหมาย 4 รูปแบบ ได้แก่ คำประสมคันจิสองตัวแบบอักษรตัวหน้าขยายอักษรตัวหลัง จำนวน 53 คำ คำประสมคันจิสองตัวที่มีความหมายเหมือนกัน จำนวน 34 คำ คำประสมคันจิสองตัวแบบอักษรตัวหลังเป็นกรรมหรือส่วนเติมเต็มของอักษรตัวหน้า จำนวน 8 คำ และคำประสมคันจิสองตัวแบบอักษรตัวหน้าเป็นประธาน อักษรตัวหลังเป็นภาคแสดง จำนวน 5 คำ โดยไม่พบคำประสมคันจิสองตัวที่มีความหมายตรงข้ามกัน ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเข้าใจด้านวิธีการสร้างคำและการอ่านอักษรคันจิ รวมถึงการนำไปใช้พัฒนาทักษะการสื่อสารและแปลเอกสารทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

References

กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คะตะกิริ (บรรณาธิการ). (2558). ศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐนันท์ กิจจาเกษมกุล และพัชราพร แก้วกฤษฎางค์. (2565). กลยุทธ์การเรียนคันจิของผู้เรียนชาวไทยที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกในระดับอุดมศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 39(2), 26-50.

นฤมล ลี้ปิยะชาติ. (2548). คันจิในบทบาทของหน่วยคำเติม. ภาษาและวัฒนธรรม. 24(2), 23-45.

นฤมล ลี้ปิยะชาติ. (2553). BUUIR คลังปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา. การอ่านคันจิประสม. สืบค้นจาก https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/576

บุษบา บรรจงมณี. (2561). ความคิดเห็นต่อกลยุทธ์การเรียนคันจิของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย: เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของผู้สอนและผู้เรียน. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา. 8(2), 77-94.

ปาจรีย์ วิวัฒนปฐพี. (2560). การศึกษาการใช้แผนผังเชื่อมโยงคันจิในการเรียนการสอนคันจิ สำหรับผู้เรียนชาวไทยในระดับกลางตอนต้น. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา. 7(1), 51-65.

Benesse. (2020). 熟語の構成 [Composition of compound words]. Retrieved from https://sho.benesse.co.jp

Hirota, T. (2020, September 4). 二字熟語の構成 見分け方 [How to distinguish the construction of two-character kanji compounds]. Retrieved from https://shuei-yobiko.co.jp

Kawakami, M. (2018). Constructing a database of semantic transparency of Japanese two kanji compound words. Osaka Shoin Women’s University, Faculty of Arts and Sciences, Department of Psychology.

Manab. (2024, August 18). 二字熟語の構成 種類と例 [The structure of two-character kanji compounds: Types and examples]. Retrieved from https://manab-juku.me

JAL Academy. (2553). พจนานุกรมศัพท์ธุรกิจ ญี่ปุ่น-ไทย. (กมลทิพย์ พลบุตร, แปล)

กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม.

Katekyo, M. (2018, April 23). 5種類の構成を知れば自然に身につく!二字熟語を攻略するコツと、おすすめ問題集. [5 types of structure to master naturally! Tips to conquer two-character kanji compounds and recommended problem sets.]. Retrieved from https://keteyo.mynavi.jp

Kim, M and Andrew. Shirabe jisho. Retrieved from https://jisho.org/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20