วารสารอักษราพิบูล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ <p>วารสารอักษราพิบูล มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์ โดยเปิดรับบทความซึ่งอาจเป็นบทความวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ บทความทั่วไป และบทความวิจารณ์หนังสือเกี่ยวกับด้านมนุษยศาสตร์เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์คุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journals Citation Index-TCI) ในอนาคต มีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</p> คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม th-TH วารสารอักษราพิบูล 2697-5165 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม</p> <p>บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย&nbsp;</p> ความหมายในชีวิต : บทสังเคราะห์แนวคิดสู่ปฏิบัติการทางวรรณกรรมวิจารณ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/262890 <p style="font-weight: 400;">ความหมายในชีวิตเป็นการรับรู้และเข้าใจประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของบุคคลการตระหนักรู้ถึงตัวตนและศักยภาพของตนเอง ยอมรับสถานการณ์ ภาวะที่ตนกำลังเผชิญและเรียนรู้ความหมายจากสิ่งเหล่านั้นเพื่อก้าวข้ามผ่านอย่างมั่นคง แนวคิดความหมายในชีวิตเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับการศึกษาวรรณกรรมเพื่อตรวจสอบตัวบทในการนำเสนอการสร้างความหมายในชีวิตให้กับผู้อ่านได้ ซึ่งเป็นการบูรณาการการศึกษาวรรณกรรมกับจิตวิทยาผ่านองค์ประกอบของวรรณกรรม โดยการสังเคราะห์ให้เห็นความหมายในชีวิตที่ปรากฏในตัวบทอันจะนำไปสู่การสร้างโจทย์หรือบทเรียนให้ผู้อ่านตระหนักถึงความหมายในชีวิตของตนเอง เห็นคุณค่าของการมีชีวิต และใช้ชีวิตเพื่อการสร้างสรรค์สังคม ซึ่งการค้นหาความหมายในชีวิตผ่านวรรณกรรมน่าจะเป็นแรงกระเพื่อมหนึ่งในการสร้างสรรค์สังคมแห่งความหมายต่อไปในอนาคต</p> ขวัญชนก นัยจรัญ อิศรา รุ่งทวีชัย Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-04 2023-12-04 4 2 103 120 ภาษาศาสตร์เชิงนิเวศ : วิธีการใหม่แห่งความหมาย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/262396 <p>ภาษาศาสตร์เชิงนิเวศ เป็นสาขาใหม่ของการศึกษาภาษาศาสตร์ที่เกิดเริ่มก่อตัวขึ้น ในตะวันตกตั้งแต่ปี 1970 และได้พัฒนาในด้านระเบียบวิธีที่ชัดเจนมากขึ้นในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม ภาษาศาสตร์เชิงนิเวศอาจจะค่อนข้างใหม่สำหรับวงวิชาการด้านภาษาและวรรณกรรมไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและนำเสนอสาระสำคัญของภาษาศาสตร์เชิงนิเวศใน 4 ประเด็นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาศาสตร์กับนิเวศวิทยา ความหมายและความเป็นมาของภาษาศาสตร์เชิงนิเวศ ระเบียบวิธีในการศึกษาที่สำคัญของภาษาศาสตร์เชิงนิเวศ และประเด็นสุดท้าย คือข้อถกเถียงทางวิชาการในหมู่นักภาษาศาสตร์เชิงนิเวศที่มีต่อการศึกษาภาษาในแนวทางนี้ โดยหวังว่าจะได้เป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจได้นำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการศึกษาภาษาศาสตร์เชิงนิเวศในวงวิชาการด้านภาษาและวรรณกรรมไทยต่อไป</p> ธัญญา สังขพันธานนท์ Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-04 2023-12-04 4 2 121 150 การศึกษาคำปรากฏร่วมประเภทกริยาเบาที่ปรากฏในหนังสือนวนิยาย เรื่องแม่มดแคสเตอร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/260447 <p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปรากฏร่วมประเภทกริยาเบาของคำว่า have take make give go และ do ในหนังสือนวนิยายเรื่องแม่มดแคสเตอร์ (Beautiful Creatures) จากคำทั้งหมดจำนวน 523,956 คำ เครื่องมือที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ Oxford Collocation Dictionary for Students of English (2009) และ AntConc เวอร์ชั่น 4.1.1 โดยใช้ทฤษฎีของเบนสัน (Benson et al., 1997) ในโครงสร้าง Verb + Noun ในการวิเคราะห์คำปรากฏร่วม (collocation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลสถิติพรรณนาร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า มีการใช้คำปรากฏร่วมทั้งสิ้นจำนวน 548 คำ คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของจํานวนคำทั้งหมด 523,956 คำ และเมื่อวิเคราะห์ความหมายแล้วพบว่าเป็นกริยาเบา (delexical verbs) จำนวน 165 คำ โดยพบมากที่สุดคือคำว่า have จำนวน 56 คำ คิดเป็นร้อยละ 33.93 ตามด้วย คำว่า make จำนวน 55 คำ คิดเป็นร้อยละ 33.33 คำว่า take จำนวน 52 คำ คิดเป็นร้อยละ 31.51 และคำว่า do จำนวน 2 คำ คิดเป็นร้อยละ 1.21 อย่างไรก็ตามไม่พบการใช้คำว่า give และ g</p> ปณชัย อนุสรณ์ ทิศากร ไชยมงคล Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-04 2023-12-04 4 2 1 12 The ผลการใช้บอร์ดเกม (Name It) ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (English for Specific Purposes) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/261013 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้บอร์ดเกม Name It ก่อนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อบอร์ดเกม Name It ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา (R&amp;D : Research and Development ) ที่มีการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการพัฒนาบอร์ดเกม Name It ระยะสองเป็นการนำบอร์ดเกม Name It ไปทดลองใช้ดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาปฐมวัย กลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ที่ลงทะเบียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (English for Specific Purposes) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 65 คน ซึ่งทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย โดยวิธีการจับฉลากใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ บอร์ดเกม Name It แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบทดสอบความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติ t-test Dependent ผลการวิจัยพบว่า ผลการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการใช้บอร์ดเกม Name It หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีความพึงพอใจ ต่อบอร์ดเกม Name It มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยที่ 4.64</p> อโรชา วงศ์ธัญญลักษณ์ ชลธิฌา ทองคำ สิรินญา ศรีชมภู ณัฐกานต์ เส็งชื่น Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-04 2023-12-04 4 2 13 28 อุปกิเลส 16 ที่ปรากฎในนวนิยายเรื่อง กรงกรรม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/262206 <p>การศึกษาอุปกิเลส 16 ที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องกรงกรรม ของ จุฬามณี ตีพิมพ์ปี พ.ศ.2560 ครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า อุปกิเลส 16 ที่ปรากฏมากที่สุด คือ 1) โกธะ (ความโกรธ) ปรากฏในนวนิยายจำนวน 36 ครั้ง รองลงมา คือ 2) อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภ) และ อิสสา (ความริษยา) จำนวน 12 ครั้ง คือ 3) อติมานะ (ความถือตัว) จำนวน 8 ครั้ง 4) ถัมภะ (ความหัวดื้อ) และ สารัมภะ (ความแข่งดี) จำนวน 6 ครั้ง 5) พยาบาท (คิดร้ายเขา) และอุปนาหะ (ความผูกโกรธ) จำนวน 5 ครั้ง 6) มานะ (ความถือตัว) จำนวน 4 ครั้ง 7) มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จำนวน 3 ครั้ง และอุปกิเลสที่ปรากฎ น้อยที่สุด คือ 8) ปมาทะ (ความประมาท) ปลาสะ (ความตีเสมอ) และมทะ (ความมัวเมา) จำนวน 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าตัวละครมีพฤติกรรมโกรธมากที่สุด ด้วยสาเหตุของความโลภและความอิจฉา อันเป็นกิเลสละเอียดที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง และความทุกข์ในชีวิต นวนิยายเรื่องนี้จึงเป็นกระจกสะท้อนแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ทำให้เราเห็นสาเหตุแห่งทุกข์ และสอดแทรกข้อคิดในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขให้แก่ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี</p> พัชราวดี คงสน สุรีรัตน์ จงสวัสดิ์ ธนากรณ์ ภูทวี สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-04 2023-12-04 4 2 29 44 นิทานพื้นบ้านของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก : การวิเคราะห์ความขัดแย้ง และการแก้ไขปัญหา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/262375 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหาที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก โดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมของตัวละครที่ปรากฏในนิทาน โดยใช้นิทานจำนวน 65 เรื่อง ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดของความขัดแย้งและกรอบแนวคิดการแก้ไขปัญหา ผลการวิจัยพบว่า ความขัดแย้งที่พบมากที่สุดคือความขัดแย้งกับผู้อื่นคิดเป็นร้อยละ 70.66 โดยแยกเป็นความขัดแย้งกับผู้อื่นภายในกลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 21.90 และความขัดแย้งกับผู้อื่นภายนอกกลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 48.76 ความขัดแย้งที่พบรองลงมาคือความขัดแย้งกับตนเอง คิดเป็นร้อยละ 15.29 ความขัดแย้งกับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 7.85 และความขัดแย้งที่พบน้อยที่สุด คือ ความขัดแย้งกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ 6.20 ส่วนสาระสำคัญของการแก้ไขปัญหาพบจำนวนทั้งสิ้น 14 วิธี โดยเรียงลำดับจากที่พบมากที่สุดไปน้อยที่สุดใน 3 อันดับแรก คือ การแก้ไขปัญหาโดยการพึ่งตนเองหรือผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 20.19 รองลงมาคือการแก้ไขปัญหาโดยการลงโทษตนเองหรือผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 12.73 และการแก้ไขปัญหาโดยการเจรจา คิดเป็น ร้อยละ 11.18 การแก้ไขปัญหาที่ไม่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลกคือ การแก้ไขปัญหาโดยการใช้กฎหมาย </p> สมเกียรติ ติดชัย Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-04 2023-12-04 4 2 45 70 การสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาการสนทนาภาษาไทย ของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/262670 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาการสนทนาภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยในครั้งนี้ คือ ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในสถาบันการศึกษา We Learn Thai จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาการสนทนาภาษาไทย โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 19 เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของผู้เรียนปรากฎค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้ง 19 เนื้อหา โดยเรียงลำดับจากค่าคะแนนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้ดังนี้ 1) การทักทาย การแนะนำตัวเองและผู้อื่น 2) การขอความช่วยเหลือ 3) อาหาร/การสั่งอาหาร 4) การขอโทษ/ขอบคุณ 5) การเดินทาง 6) บุคลิกภาพ/นิสัย 7) วันเดือนปี / เวลา 8) การพูดโทรศัพท์ 9) งานอดิเรก 10) ครอบครัว 11) ดินฟ้าอากาศ 12) ที่อยู่อาศัย 13) โรงพยาบาล 14) ร่างกาย 15) การแจ้งความ 16) สี 17) การซื้อขาย 18) การอวยพร และ 19) เทศกาล โดยกลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจำนวน 9 ประเด็น คือ ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านสุนทรียศาสตร์ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านหลักภาษา ด้านวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรมต่าง ๆ เศรษฐกิจและการเมือง และด้านอาชีพ</p> จุลณีย์ บุญมี วาสินี มีเครือเอี่ยม Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-04 2023-12-04 4 2 71 86 การสื่อสารด้านการเมืองของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้อง และโคลงราชสวัสดิ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/263482 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาประเด็นการเมืองจากพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 2) วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยศึกษาจากโคลงทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้อง และโคลงราชสวัสดิ์ ผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงใช้โคลงทั้ง 3 เรื่อง เป็นเครื่องมือในการสื่อสารด้านการเมือง โดยทรงสื่อสารถึงพระมหาอุปราช เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการขึ้นครองราชสมบัติ และสื่อสารถึงกลุ่มเชื้อพระวงศ์ รวมถึงกลุ่มขุนนางให้มีความจงรักภักดีต่อพระมหาอุปราช และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความถูกต้อง ไม่ก่อความวุ่นวายทางการเมือง ทั้งนี้ ผลการศึกษายังทำให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศว่า มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ไม่รู้กาลอันควร ส่วนพระราชประสงค์ในการแต่งโคลง ทั้ง 3 เรื่อง เนื่องจากทรงต้องการสอนพระมหาอุปราชให้มีความรอบรู้ในการปกครองบ้านเมือง และสั่งสอนเชื้อพระวงศ์ ตลอดจนขุนนางให้รู้จักผิดชอบชั่วดี และปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง</p> ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-04 2023-12-04 4 2 87 102 ไม่มีเธออยู่ข้าง โลกนี้ก็กว้างเกิน : การต่อสู้เพื่อความสมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียว https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/266935 <p>ภายใต้เมืองอันแสนสงบที่ดูเหมือนจะอบอวลไปด้วยความรัก แต่แท้จริงแล้วกลับเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ชิงชัง นั่นเป็นเพราะกระบวนการคิดและอุดมการณ์ของคนในสังคมที่ไม่ตรงกันต่างฝ่ายต่างยึดผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งโดยที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เป็นเหตุที่อาจนำไปสู่การโต้ตอบหรือการเลือกที่ต่างออกไป นวนิยายเรื่อง ไม่มีเธออยู่ข้าง โลกนี้ก็กว้างเกิน&nbsp; บทประพันธ์ของ ปะการัง เป็นนวนิยายที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ประเภทนวนิยาย ประจำปีพุทธศักราช 2562 ได้นำเสนอถึงเรื่องราวความรักของหนุ่มสาว คือ&nbsp; &nbsp;อาดิโก และโยชิดา ซึ่งทั้งคู่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งหนึ่งเป็นเมืองที่สงบและน่าอยู่โอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ทุกอย่างดูเหมือนจะดำเนินไปด้วยดีแต่แล้วก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้ทั้งสองต้องแยกจากกัน&nbsp; โดยที่มีเรื่องราวของความขัดแย้ง อุดมการณ์ และสงครามเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยความขัดแย้งนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากผู้มีอำนาจในสังคมต่างมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ใช้อำนาจในทางที่ผิดและเห็นผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม จึงกลายเป็นสงครามที่แบ่งแยกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ความขัดแย้งนั้นส่งผลให้คนในสังคมได้รับผลกระทบ เช่น โรงเรียนถูกปิดด้วย “วาระพิเศษ” การคมนาคมถูกตัดขาดทำให้คนในครอบครัวต้องแยกจากกัน เป็นต้น เนื้อหานำเสนอแก่นเรื่องที่สำคัญ คือ การที่สังคมที่สงบสุขอย่างแท้จริง คนในสังคมต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เมื่อเผชิญกับความขัดแย้งต้องแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยปัญญา สิ่งที่น่าสนใจและถูกนำเสนอตลอดเรื่อง คือ การนำเสนอแนวทางในการสร้างสังคมแห่งสมานฉันท์ด้วยสันติวิธี</p> อมรรัตน์ ราชสุธรรม Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-04 2023-12-04 4 2 151 158