https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/issue/feed วารสารอักษราพิบูล 2024-06-23T15:02:47+07:00 อาจารย์ ดร.สุธัญญา ปานทอง huso@psru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารอักษราพิบูล มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์ โดยเปิดรับบทความซึ่งอาจเป็นบทความวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ บทความทั่วไป และบทความวิจารณ์หนังสือเกี่ยวกับด้านมนุษยศาสตร์เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์คุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journals Citation Index-TCI) ในอนาคต มีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/271581 บทบรรณาธิการ 2024-06-23T14:56:46+07:00 ภัครพล แสงเงิน huso@psru.ac.th <p>วารสารอักษราพิบูล ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2567) ที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นวารสาร วิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม วารสารที่มีเนื้อหา ด้านมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งสร้างเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการสายมนุษยศาสตร์ซึ่งนับวันจะถูก “ลดทอน” และ “ละเลย” ความสำคัญและคุณค่าลงไปอย่างมาก โดยเนื้อหาของบทความที่ปรากฏในวารสาร อักษราพิบูลฉบับนี้มีความเข้มข้นทางวิชาการและประกอบไปด้วยผู้เขียนทั้งในและภายนอกสถาบันโดยบทความที่น่าสนใจ ดังนี้ </p> <p>บทความวิจัย เรื่อง การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ของขวัญหทัย สุรินทรามนต์ อุมาภรณ์ ยศเจริญ และคุณากร คงชนะ บทความวิจัย เรื่อง คำอุทาน : การวิเคราะห์ประเภทและการสื่อความหมายในรายการโหนกระแส ของกฤษดา บุญเกิด กฤติญาณี เพชรสุข ทิพรดา น้ำกระจาย น้องหญิง นิ่มแสง อมรรัตน์ วระคุณ และสุชาดา เจียพงษ์ บทความวิจัย เรื่อง บทบาทหน้าที่ของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ของภัชญาภรณ์ จุ่มไฝ ธัญทิพย์ จันพรหมมา สุกัญญา กาหลง และสุกัญญาโสภี ใจกล่ำ บทความวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกโดยวิธีสอนภาษา แบบฟัง-พูดและหลักการทางสรีรสัทศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของ ปนัดดา หุ่นศิลป์ และสำราญ ท้าวเงิน บทความวิจัย เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันด้วยเกมออนไลน์ (Wordwall) : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปิยธิดา จันคะณา วิลาสินี ปาเฉย และปทุมพร บุญชุม บทความวิชาการ เรื่อง ศิลปะการประพันธ์เพลงฉ่อยประยุกต์ ของศราวุธ สุดงูเหลือม บทความวิชาการ เรื่อง การวิเคราะห์บทบาทและอำนาจของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรในฐานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ของณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ และบทความวิชาการ เรื่อง กระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเพื่อการสื่อสารด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)ของมะลิตา จันทร์ใหม่ และหทัยรัตน์ มัตยะสุวรรณ</p> <p>บทความวิจัยและบทความวิชาการทั้งหมดล้วนผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสถาบันจำนวน 3 ท่านต่อบทความตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2564 ทำให้เนื้อหา ในวารสารอักษราพิบูลนี้เต็มไปด้วยความเข้มข้นทางวิชาการเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก</p> <p>วารสารอักษราพิบูล ขอขอบพระคุณผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์ อันเป็นองค์ความรู้สำคัญที่ใช้ในการเรียนรู้ชีวิตมนุษย์ และขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจและรักที่จะรังสรรค์ผลงานวิชาการในทางมนุษยศาสตร์ วารสารอักษราพิบูลขอเป็นหนึ่ง ในตัวเลือกของท่านที่จะรับผลงานด้านมนุษยศาสตร์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่สร้างสรรค์องค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์ให้กว้างขวางไปยิ่งขึ้นอีก</p> 2024-06-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/262523 การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก 2023-05-02T08:19:55+07:00 ขวัญหทัย สุรินทรามนต์ krookobjung@gmail.com อุมาภรณ์ ยศเจริญ krookobjung@gmail.com คุณากร คงชนะ krookobjung@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาแยกตามเพศ และสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นการเลือกแบบเจาะจง คือ 1) นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน และสาขาวิชาทันตสาธารณสุข 2) หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามของ Oxford version 5.1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และมีค่าความเชื่อมั่น 0.871 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติทีแบบเป็นอิสระต่อกัน (t-test Independent) ค่าสถิติเอฟ (F-Test) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Schhefe’ Method)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษในภาพรวมอยู่ในระดับที่มีการปฏิบัติ ปานกลางและผลการเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษจำแนกตามเพศ และสาขาวิชาในภาพรวมไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ใช้อภิปัญญา</p> 2024-06-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/267194 คำอุทาน : การวิเคราะห์ประเภทและการสื่อความหมายในรายการโหนกระแส 2024-01-09T11:54:30+07:00 กฤษดา บุญเกิด Kritsada.bo@psru.ac.th กฤติญาณี เพชรสุข Kritsada.bo@psru.ac.th ทิพรดา น้ำกระจาย Kritsada.bo@psru.ac.th น้องหญิง นิ่มแสง Kritsada.bo@psru.ac.th อมรรัตน์ วระคุณ Kritsada.bo@psru.ac.th สุชาดา เจียพงษ์ Suchada.3009@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทของคำอุทานในรายการโหนกระแสและ เพื่อวิเคราะห์การสื่อความหมายของคำอุทานในรายการโหนกระแส ผลการวิจัยพบรูปคำอุทาน 47 รูปคำ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ คำอุทานบอกอาการ 45 รูปคำ และคำอุทานเสริมบท 2 รูปคำ เรียงลำดับประเภทคำอุทานที่พบมากที่สุด คือ คำอุทานบอกอาการ จำนวน 45 รูปคำ คิดเป็นร้อยละ 95.75 รองลงมา คือ คำอุทานเสริมบท จำนวน 2 คำ คิดเป็นร้อยละ 4.25 ส่วนการสื่อความหมายของคำอุทาน 3 ประเภท ได้แก่ 1) คำอุทานสื่อความหมายแสดงอารมณ์ คือ อารมณ์สงสาร/ปลอบโยน จำนวน 5 คำ คิดเป็นร้อยละ 6.10 ประหลาดใจ/ตกใจ จำนวน 20 คำ คิดเป็นร้อยละ 24.40 เจ็บปวด จำนวน 3 คำ คิดเป็นร้อยละ 3.65 โกรธเคือง จำนวน 5 คำ คิดเป็นร้อยละ 6.10 2) คำอุทานสื่อความหมายแสดงความปารถนา คือ ทักท้วง/ห้าม จำนวน 10 คำ คิดเป็นร้อยละ 12.20 สงสัย/ไต่ถาม จำนวน 15 คำ คิดเป็นร้อยละ 18.29 3) คำอุทานสื่อความหมายแสดง การรับรู้ คือ เข้าใจ จำนวน 17 คำ คิดเป็นร้อยละ 20.73 ร้องเรียกให้รู้ตัว จำนวน 7 คำ คิดเป็นร้อยละ 8.53</p> 2024-06-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/267421 บทบาทหน้าที่ของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 2024-01-09T11:57:52+07:00 ภัชญาภรณ์ จุ่มไฝ patchayaporn9065@gmail.com ธัญทิพย์ จันพรหมมา Patchayaporn9065@gmail.com สุกัญญา กาหลง Patchayaporn9065@gmail.com สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ sukunyasopee@gmail.com <p>งานวิจัยบทบาทหน้าที่ของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ทฤษฎีบทบาทหน้าที่ของวิลเลียม บาสคอม (William Bascom) ผลการวิจัยพบว่า บทบาทหน้าที่ของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ที่พบมากที่สุด คือ การให้ศึกษาด้วยวิธีการบอกเล่า อาทิ การสอนให้รู้จักสามัคคี มีความรอบคอบ รับผิดชอบต่องาน ฯลฯ จำนวน 10 ครั้ง รองลงมาคือการอธิบายที่มาและเหตุผลในการทำพิธีกรรม คือ เชื่อว่าพิธีเป็นส่วนหนึ่งในการค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้มีอายุยืนยาว และเป็นโอกาสในการทำบุญร่วมกัน ฯลฯ มีจำนวน 5 ครั้ง อันดับที่สาม คือ การให้ความเพลิดเพลินและเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคล คือ ในการประกอบพิธีจะสร้างความสนุกสนานให้แก่ผู้เข้าร่วม ทำให้ผู้เข้าร่วมพิธีคลายความเครียดหรือความคับข้องใจ มีจำนวน 4 ครั้ง และพบน้อยที่สุด คือ การรักษามาตรฐานทางพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนของสังคม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมจะต้องมีพฤติกรรมแบบเดียวกันและ ยังต้องสามัคคีกัน พิธีจึงจะสำเร็จ โดยจำนวน 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 13.1 โดยบทบาทหน้าที่ของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์จึงเป็นเสมือนเครื่องมือในการหล่อหลอมกลุ่มชนให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข</p> 2024-06-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/268065 การพัฒนารูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกโดยวิธีสอนภาษาแบบฟัง-พูดและหลักการทางสรีรสัทศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2024-03-28T08:33:14+07:00 ปนัดดา หุ่นศิลป์ nutdapanutda1011@gmail.com สำราญ ท้าวเงิน nutdapanutda1011@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและความต้องการของผู้สอน 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกที่พัฒนาขึ้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกโดยเปรียบเทียบผลการทดสอบการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษของนักศึกษา ก่อนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกที่พัฒนาขึ้นของนักศึกษา สาขาพลศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 4 ห้อง มีนักศึกษา จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ความคิดเห็นของผู้สอนเกี่ยวกับการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษ และแบบฝึกการออกเสียงเสียงแทรก สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ E1/E2 และ t-test แบบ Dependent จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลปรากฏว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและความต้องการของผู้สอน มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน เท่ากับ 3.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.08 อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิภาพของคู่มือการออกเสียงเสียดแทรกในภาษาอังกฤษ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.02/82.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด 80/80 3. การออกเสียงเสียดแทรกในภาษาอังกฤษหลังการสอนหลังเรียนตามแบบฝึกการออกเสียงเสียดแทรก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.80 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.43 และคะแนนก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.23 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.50 เมื่อเปรียบเทียบ พบว่า คะแนนก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 แสดงให้เห็นว่านักศึกษา มีการพัฒนาการออกเสียงเสียดแทรกภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหาดีขึ้น และ 4.ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรกโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อรูปแบบการสอนการออกเสียงพยัญชนะเสียงเสียดแทรก อยู่ในระดับมาก ( = 4.18 , S.D.= 1.26)</p> 2024-06-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/268651 การพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันด้วยเกมออนไลน์(Wordwall) : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-04-09T13:26:25+07:00 ปิยธิดา จันคะณา patumpornb@gmail.com วิลาสินี ปาเฉย patumpornb@gmail.com ปทุมพร บุญชุม patumpornb@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียนรู้โดยการใช้เกมออนไลน์ (เวิร์ดวอล) และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้เกมออนไลน์ (เวิร์ดวอล) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เกมออนไลน์เกมคำศัพท์เวิร์ดวอล 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้เกมเวิร์ดวอลเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน (𝑥̅ = 28.70 และ S.D. = 2.81 ) 2) ผลความพึงพอใจเฉลี่ยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยเกมคำศัพท์ออนไลน์ในภาพรวม อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (𝑥̅ = 4.61 และ S.D. = 0.72)</p> 2024-06-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/267699 ศิลปะการประพันธ์เพลงฉ่อยประยุกต์ 2024-01-20T13:39:20+07:00 ศราวุธ สุดงูเหลือม manunsree55@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอศิลปะการประพันธ์เพลงฉ่อยประยุกต์ ซึ่งเพลงฉ่อยประยุกต์เป็นเพลงพื้นบ้านภาคกลางที่ใช้รูปแบบการประพันธ์เนื้อหาและภาษาที่ทันสมัยจนได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างดี บทความนี้นำเสนอแนวทางการใช้ศิลปะการประพันธ์เพลงฉ่อยประยุกต์ใน 3 ประเด็น ได้แก่ กวีนิพนธ์เพลงฉ่อยประยุกต์ ความสนุกของเนื้อหา และการใช้ภาษาอย่างมีพลัง ในด้านการใช้ภาษาผู้เขียนบทความใช้การนำเสนอตามแนวคิดของสมบัติ สมศรีพลอย ที่กล่าวถึงศิลปะการใช้ภาษาในเพลงฉ่อยไว้ 4 ประการ คือ เสน่ห์เสียงอักษรศิลป์ เสน่ห์คำยิน ของลับ เสน่ห์จับจินตภาพพจน์ และเสน่ห์ปรากฏการลำดับความ ผู้สนใจสามารถใช้แนวทางดังกล่าวไปพัฒนา ฝึกฝน และนำไปต่อยอดเพื่อเป็นศิลปะในการประพันธ์เพลงฉ่อยประยุกต์</p> 2024-06-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/268432 การวิเคราะห์บทบาทและอำนาจของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ในฐานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 2024-03-10T16:12:43+07:00 ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ natawut.kla@mbu.ac.th <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทและอำนาจของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรในฐานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ผลการศึกษาในด้านบทบาทพบว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ทรงมีบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่ด้านบริหารบ้านเมืองตามพระบรมราชโองการของสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นอกจากนี้ยังพบว่าทรงมีบทบาทในการช่วยเหลือบาทหลวงและพวก เข้ารีตศาสนาคริสต์ให้รอดพ้นจากการถูกขุนนางไทยกดขี่ สำหรับผลการศึกษาด้านอำนาจ พบว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงมีอำนาจในการสั่งลงโทษขุนนางผู้ใหญ่ชั้นอัครมหาเสนาบดี รวมถึงข้าในกรมของเจ้าต่างกรมได้</p> 2024-06-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/269368 กระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 2024-04-10T16:33:28+07:00 มะลิตา จันทร์ใหม่ atommalita@gmail.com เฉิน เสี่ยวหวี้ atommalita@gmail.com พนัส มัตยะสุวรรณ atommalita@gmail.com คิม แทฮยอง atommalita@gmail.com หทัยรัตน์ มัตยะสุวรรณ tukky_mattayasuwan@hotmail.com <p>จากการศึกษาเรื่องกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่าผู้สอนภาษาจีนในประเทศไทยในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาจีนในรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยการทำกิจกรรมด้วยตัวผู้เรียน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งการประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงรุกในการสอนภาษาจีนมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในกระบวนการเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยที่สำคัญคือ 1) พื้นฐานของผู้เรียน 2) กลยุทธ์การสอน 3) ทรัพยากรในการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้มีการประเมิน การวัดผลทางความรู้ ความคิด การแก้ปัญหา ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ 6 ระดับ คือ จดจำ เข้าใจ ประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์ ทำให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ สอดคล้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันตลอดจนถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนภาษาจีนขั้นสูง</p> 2024-06-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม