วารสารอักษราพิบูล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ <p>วารสารอักษราพิบูล มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์ โดยเปิดรับบทความซึ่งอาจเป็นบทความวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ บทความทั่วไป และบทความวิจารณ์หนังสือเกี่ยวกับด้านมนุษยศาสตร์เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์คุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journals Citation Index-TCI) ในอนาคต มีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม</p> <p>บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย&nbsp;</p> huso@psru.ac.th (อาจารย์ ดร.สุธัญญา ปานทอง) sunisa@psru.ac.th (นางสาวสุนิสา เพ็ชรพูล) Fri, 20 Dec 2024 16:43:21 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ชื่อกล้วยไม้ : การศึกษาประเภทความหมายและความเชื่อ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/268121 <p>บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทความหมายของชื่อกล้วยไม้ และวิเคราะห์ความเชื่อที่ปรากฏจากชื่อกล้วยไม้ โดยใช้ทฤษฎีอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnosemantics) เก็บข้อมูลจากหนังสือที่รวบรวมชื่อกล้วยไม้ไทย 5 เล่ม จำนวน 135 ชื่อ ผลการวิจัยพบประเภทความหมายของชื่อกล้วยไม้ 5 กลุ่มความหมาย โดยลำดับจากจำนวนมากไปน้อย ได้แก่ 1) ความหมายเกี่ยวกับสัตว์ มีจำนวน 74 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 54.81 2) ความหมายเกี่ยวกับสิ่งของจำนวน 34 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 25.19 3) ความหมายเกี่ยวกับพืช จำนวน 18 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 13.33 4) ความหมายเกี่ยวกับมนุษย์ จำนวน 5 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 3.70 และ 5) ความหมายเกี่ยวกับสถานที่ จำนวน 4 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.96 ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์ ความเชื่อที่ปรากฏจากชื่อกล้วยไม้ พบความเชื่อ 3 ด้าน ได้แก่ ความเชื่อเรื่องกล้วยไม้เป็นพืชมงคล ความเชื่อเรื่องกล้วยไม้เป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง และความเชื่อเรื่องกล้วยไม้เป็นพืชมีคุณค่า ในท้องถิ่น</p> ธนกฤต เพชรรอบ, สุไพรรัตน์ พุ่มทอง, ศกลวรรณ เหมยคำ, สุชาดา เจียพงษ์ Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/268121 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 นางครวญ : การศึกษาเชิงนิเวศในมุมมองสัตวศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/269719 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความเป็นสัตว์ในนวนิยายเรื่อง<br />นางครวญ ของภาคินัย กสิรักษ์ โดยใช้แนวคิดสัตวศึกษาภายใต้มุมมองการวิจารณ์เชิงนิเวศ ในการนำมาศึกษาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า นักเขียนประกอบสร้างความเป็นสัตว์ในนวนิยายผ่าน 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) สัตว์หิมพานต์ในฐานะนักล่า เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างโซ่อาหารในระบบนิเวศธรรมชาติ 2) ความเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างเผ่าพันธุ์มนุษย์และสัตว์ 3) อุปลักษณ์ให้สัตว์เป็นเหมือนมนุษย์ เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่ามนุษย์และสัตว์ ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งในระบบนิเวศเดียวกัน 4) สัตว์เหนือกว่ามนุษย์ เพื่อนำเสนอว่าสัตว์ มีความเหนือกว่ามนุษย์ในด้านความฉลาด และ 5) การช่วงชิงอำนาจ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์ต่างอยากเป็นเผ่าพันธุ์ที่เหนือกว่าอีกเผ่าพันธุ์หนึ่ง จึงสามารถสรุปได้ว่าการประกอบสร้างความเป็นสัตว์ในนวนิยายเป็นการนำเสนอให้เห็นภาพแทนของสัตว์ว่ามีความต่างจากมนุษย์ มีความเหนือกว่ามนุษย์ อีกทั้งสัตว์ยังเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่มีความเสมอภาคกับมนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตหนึ่งในระบบนิเวศเดียวกัน</p> เวณิกา ยงพรม, ณิชาภัทร พุ่มอิ่ม, สุปราณี เอี่ยมอิ่ม, รัตนาวดี ปาแปง, เมศิณี ภัทรมุทธา Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/269719 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 วิเคราะห์ความหมายและที่มาของการตั้งชื่อนักเรียน โรงเรียนอนุบาลศรีนคร จังหวัดสุโขทัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/272322 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายและที่มาของชื่อนักเรียน โรงเรียนอนุบาลศรีนคร จังหวัดสุโขทัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแจกไปยังกลุ่มประชากรจำนวน 350 คน โดยศึกษาความหมายจากผู้ตั้งชื่อแยกเป็นนักเรียนชายหญิง และแยกตามกลุ่มความหมาย ผู้ใดเป็นผู้ตั้งชื่อ และเหตุผลสำคัญในการตั้งชื่อผลการวิจัยพบว่าความหมายของชื่อนักเรียนชายมีจำนวน 12 กลุ่มความหมาย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเกียรติยศอำนาจ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านความมั่งคั่งร่ำรวย ด้านความดีงามความเจริญรุ่งเรือง ด้านมนุษย์วงศ์ตระกูล ด้านความเชื่อศาสนา ด้านความสุข ด้านคุณลักษณะคุณสมบัติ ด้านการดำรงอยู่ ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านความเหมาะสมการเปรียบเทียบ และด้านอากัปกิริยาส่วนความหมายของชื่อนักเรียนหญิงพบว่ามี 11 กลุ่มความหมาย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านความดีงาม ด้านความเจริญรุ่งเรือง ด้านมนุษย์วงศ์ตระกูล ด้านความมั่งคั่งร่ำรวย เกียรติยศ ด้านอำนาจ ด้านความสุข ด้านความเหมาะสม ด้านการเปรียบเทียบ ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านคุณลักษณะคุณสมบัติ ด้านการดำรงอยู่ ด้านความเชื่อ ศาสนา ในประเด็นที่มาของการตั้งชื่อพบว่ามี 6 ที่มา เรียงลำดับตามที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ มารดา บิดา เลือกชื่อจากหนังสือแนะนำการตั้งชื่อ ญาติผู้ใหญ่ (ยาย, ปู่, ย่า, ป้า, ตา, ลุง, น้า, อา, พี่) แหล่งอื่น ๆ (เว็บไซต์, สื่อโทรทัศน์, วารสาร) และพระภิกษุ ตามลำดับ <br />ส่วนเหตุผลสำคัญในการตั้งชื่อพบว่ามีการตั้งชื่อทั้งหมด 10 เหตุผล เรียงลำดับตามที่ พบจากมากไปน้อย ได้แก่ มีความเป็นสิริมงคล มีความไพเราะ และออกเสียงง่าย มีความสอดคลองกับบุคคลในครอบครัว (พี่, บิดา, มารดา, น้อง, ยาย) ตั้งตามโหราศาสตร์ มีความแปลกใหม่ เลียนแบบชื่อเฉพาะ มีความสอดคล้องกับนามสกุลของครอบครัว ต้องการเปลี่ยนแปลงดวงชะตาชีวิต (เพื่อให้หายจากการเจ็บป่วย, เพื่อให้มีทรัพย์สินบารมี) และเหตุผลอื่น ๆ (เกิดตรงวันสำคัญของประเทศ - ไทย, เดือนเกิด) ตามลำดับ</p> เจษฎาภรณ์ ฉุยฉาย, ทิวัตถ์ นาคเส็ง, อัฐธพล เพ็ชรนา, วรารัชต์ มหามนตรี Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/272322 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์คุณานุประโยคที่ปรากฏในรายงานข่าวโรคติดต่อ ไวรัสโคโรนา 2019 ทางเว็บไซต์กรมควบคุมโรค https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/272742 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาและวิเคราะหคุณานุประโยคที่ปรากฏในรายงานข่าวโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 ทางเว็บไซต์กรมควบคุมโรค กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ ไดแก คุณานุประโยคที่ปรากฏในรายงานข่าวโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 ทางเว็บไซต์กรมควบคุมโรค จำนวน 1,271 ประโยค จากจำนวนทั้งสิ้น 4,621 ประโยค โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กรอบแนวคิดในการวิจัย ไดแก คุณานุประโยคตามทฤษฎีของ Oshima and Hogue (2006) สถิติที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้เพื่อหาค่าความถี่ ได้แก่ ค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบวาคุณานุประโยคที่ปรากฏในรายงานข่าวโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 ทางเว็บไซต์กรมควบคุมโรค จำนวน 1,271 ประโยค คิดเป็นร้อยละ27.50 เมื่อพิจารณาการใชคุณานุประโยคตามประเภท พบว่ามีการใชคุณานุประโยค จำนวน 6 ประเภท โดยประเภทที่พบมากที่สุด คือประเภท Relative Pronouns as Subjects จำนวน 1,190 ประโยค คิดเปนรอยละ 93.63 อันดับที่สอง คือประเภท Adjective Clauses of Time and Place จำนวน 43 ประโยค คิดเปนรอยละ 3.38 อันดับที่สาม คือประเภท Relative Pronouns as Objects of Prepositions จำนวน 16 ประโยค คิดเปนรอยละ 1.26 อันดับที่สี่ คือประเภท Relative Pronouns as Objects จำนวน 12 ประโยค คิดเปนรอยละ 0.94 อันดับที่หา คือประเภท Possessive Adjective Clauses จำนวน 6 ประโยค คิดเปนรอยละ 0.47 และอันดับสุดทาย คือประเภท Relative Pronouns in Phrases of Quantity and Quality จำนวน 4 ประโยค คิดเปนรอยละ 0.32</p> อธิษฐาน งามกิจวัตร, จิรายุ ภาณุเจต Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/272742 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 คำยืมภาษาจีนในภาษาไทยกับการเปลี่ยนแปลงความหมาย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/273523 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย จากผลการวิจัยพบคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย จำนวน 360 คำ</p> <p>ผลการวิจัย ดังนี้ 1) อาหารและการปรุงอาหาร จำนวน 64 คำ คิดเป็นร้อยละ 17.8 2) เครื่องมือและเครื่องใช้ จำนวน 39 คำ คิดเป็นร้อยละ 10.8 3) เครือญาติและบุคคล จำนวน 55 คำ คิดเป็นร้อยละ 15.3 4) กริยาท่าทางและลักษณะทางอารมณ์ จำนวน 68 คำ คิดเป็นร้อยละ 18.9 5) ธุรกิจการค้าขายและมาตราชั่ง วัด ตวง จำนวน 21 คำ คิดเป็นร้อยละ 5.8 6) ประเพณีและวัฒนธรรมจำนวน 24 คำ คิดเป็นร้อยละ 6.7 7) ธรรมชาติ จำนวน 31 คำ คิดเป็นร้อยละ 8.6 และ 8) เบ็ดเตล็ด จำนวน&nbsp; 58 คำ คิดเป็นร้อยละ16.1 ซึ่งทั้ง 8 ประเภทเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาจีนไหหลำ และภาษาจีนกลาง นอกจากนี้ยังพบว่าคำยืมภาษาจีนในภาษาไทยทั้งหมด 360 คำ เกิดการเปลี่ยนแปลงความหมาย 3 ลักษณะ ดังนี้ 1)ความหมายแคบเข้าจำนวน 20 คำ คิดเป็นร้อยละ 5.6 2) ความหมายกว้างออกจำนวน 19 คำ คิดเป็นร้อยละ 5.3 3) ความหมายย้ายที่จำนวน 54 คำ คิดเป็นร้อยละ 15 และไม่มีการเปลี่ยนแปลงความหมาย (ความหมายคงเดิม) จำนวน 267 คำ คิดเป็นร้อยละ 74.1</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>:&nbsp; คำยืม&nbsp; ภาษาจีน&nbsp; ภาษาไทย&nbsp; ความหมาย</p> กมลชนก สิทธิโชคสถิต, Xingcheng Han, ธารีรัตน์ สุนิพันธ์ Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/273523 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาวิธีการสร้างคำประสมคันจิสองตัวในหมวดคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/274274 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมคำประสมคันจิสองตัวในหมวดคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจที่มีค่าความถี่การใช้สูงในคลังข้อมูลภาษา 100 คำ และ 2) เพื่อวิเคราะห์วิธีการสร้างคำประสมคันจิสองตัวตามเกณฑ์เสียงอ่านและความหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1) คำประสม&nbsp; คันจิสองตัวแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบตามเสียงอ่าน ได้แก่ คำประสมคันจิสองตัวที่มีเสียงอ่านแบบจีน จำนวน 95 คำ คำประสมคันจิสองตัวที่มีเสียงอ่านแบบญี่ปุ่น จำนวน 4 คำ และคำประสมคันจิ&nbsp; สองตัวที่มีเสียงอ่านแบบผสมจีน-ญี่ปุ่น จำนวน 1 คำ โดยไม่พบคำประสมคันจิสองตัวที่มีเสียงอ่านแบบผสมญี่ปุ่น-จีน และ 2) พบวิธีการสร้างคำประสมคันจิสองตัวตามความสัมพันธ์ทางความหมาย 4 รูปแบบ ได้แก่ คำประสมคันจิสองตัวแบบอักษรตัวหน้าขยายอักษรตัวหลัง จำนวน 53 คำ คำประสมคันจิสองตัวที่มีความหมายเหมือนกัน จำนวน 34 คำ คำประสมคันจิสองตัวแบบอักษรตัวหลังเป็นกรรมหรือส่วนเติมเต็มของอักษรตัวหน้า จำนวน 8 คำ และคำประสมคันจิสองตัวแบบอักษรตัวหน้าเป็นประธาน อักษรตัวหลังเป็นภาคแสดง จำนวน 5 คำ โดยไม่พบคำประสมคันจิสองตัวที่มีความหมายตรงข้ามกัน ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเข้าใจด้านวิธีการสร้างคำและการอ่านอักษรคันจิ รวมถึงการนำไปใช้พัฒนาทักษะการสื่อสารและแปลเอกสารทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น</p> สุจิตรา เลิศเสม บุณยานันต์, ต่อศักดิ์ ร่มส้มซ่า, ศิริชล วรพุฒ, สุนารี ยาสี Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/274274 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 ชนิดคำคาตาคานะในภาษาเขียนและภาษาพูดภาษาญี่ปุ่น https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/274218 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจชนิดคำคาตาคานะที่ปรากฏในภาษาเขียนและ ภาษาพูดภาษาญี่ปุ่น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่ง ได้แก่ 1) ข่าวจาก NHK NEWS WEB จำนวน 25 ข่าว โดยเลือกเก็บข้อมูลจากข่าวหลักลำดับ 1-5 (ข่าว Top 5) ของแต่ละเดือน ที่เผยแพร่ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2566 และ 2) รายการจากยูทูป (Youtube) จำนวน 25 รายการ คัดเลือกแบบเจาะจงโดยเลือกเก็บข้อมูลจากรายการที่มียอดวิวตั้งแต่ 3 แสนวิวขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการจำแนกชนิดคำโดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏคำคาตาคานะทั้งหมด 835 คำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดคำ ตามแหล่งกำเนิดและชนิดคำตามหน้าที่ ทั้งนี้ ชนิดคำตามแหล่งกำเนิดพบ 5 ชนิด เรียงตามชนิดคำที่พบจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ 2) คำญี่ปุ่นเดิม 3) คำภาษาอังกฤษ ที่ญี่ปุ่นสร้าง 4) คำผสม และ 5) คำเลียนเสียงธรรมชาติและคำบอกอาการ ส่วนชนิดคำตามหน้าที่พบ 5 ชนิด เรียงตามชนิดคำที่พบได้ดังนี้ 1) คำนาม 2) คำคุณศัพท์なและคำแสดงสภาพ 3) คำกริยาวิเศษณ์ 4) คำกริยา และ 5) คำคุณศัพท์ い</p> วรรณกานต์ จันดำ , สวิชญา ยอดส่ง, อลิษา ส้มจันทร์, วารีรัตน์ สีแดง, เพ็ญพร แก้วฟุ้งรังษี , ณัฏฐิรา ทับทิม Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/274218 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/275587 สุธัญญา ปานทอง; ภัครพล แสงเงิน Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/275587 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 รุกขเทวดาและนางไม้ในนิราศบันทึกการเดินทางสู่ภาคตะวันออกของไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/272948 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาคติความเชื่อเรื่องรุกขเทวดาและนางไม้ในนิราศบันทึกการเดินทางสู่ภาคตะวันออกของไทย โดยศึกษาจากนิราศ 5 เรื่อง ได้แก่ นิราศเมืองแกลง โคลงนิราศฉะเชิงเทรา นิราศปราจีนบุรี นิราศจันทบุรี-กรุงเทพฯ และ นิราศเมืองตราด โดยใช้กรอบแนวคิดการศึกษาภูมิวัฒนธรรมกับความเชื่อและตำนาน การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมทางคติชนวิทยา และการศึกษาวิเคราะห์วรรณคดี<br />ผลการศึกษาพบว่า กวีบันทึกคติความเชื่อเรื่องรุกขเทวดาและนางไม้แบ่งได้เป็นประเภทรุกขเทวดา พบใน โคลงนิราศฉะเชิงเทรา ได้แก่ เจ้าพ่อโพ (โพเทพ) และเจ้าพ่อไทร (ไทรเทพยเจ้า) สัมพันธ์กับคติความเชื่อดั้งเดิมและอ้างถึงวรรณคดีไทยเรื่อง สมุทรโฆษคำฉันท์ และ อนิรุทธคำฉันท์ และประเภทนางไม้ พบใน นิราศเมืองแกลง โคลงนิราศฉะเชิงเทรา และ นิราศปราจีนบุรี ได้แก่ นางตะเคียนและนางไม้ในป่า โดยที่กวีไม่ได้ระบุชื่อ นอกจากนั้นยังพบคติความเชื่อเกี่ยวกับ ผีอารักษ์ ประเภทเจ้าป่า ใน นิราศเมืองแกลง ผลการศึกษาไม่ปรากฏคติความเชื่อเรื่องรุกขเทวดาและนางไม้ใน นิราศจันทบุรี-กรุงเทพฯ และ นิราศเมืองตราด บทบาทของรุกขเทวดาและนางไม้ ในนิราศบันทึกการเดินทางสู่ภาคตะวันออกของไทยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ แสดงให้เห็นการเชื่อมโยง ความเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ของต้นไม้ การขอพร ความรู้สึกไม่ปลอดภัย และความสัมพันธ์ ของกวีที่มีต่อนางผู้เป็นที่รัก สร้างสีสันของฉากและบรรยากาศที่ตื่นเต้นให้แก่ผู้อ่าน และสืบทอด คติความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีอารักษ์ ประเภทผีประจำต้นไม้ในสังคมไทย</p> รัตนพล ชื่นค้า Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/272948 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700