การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

ข้อแนะนำการจัดทำต้นฉบับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอักษราพิบูล

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 


1. วัตถุประสงค์การจัดพิมพ์ 

วารสารอักษราพิบูล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ทั้งคณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งในสถาบันและนอกสถาบันได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับศาสตร์ดังกล่าว โดยวารสารอักษราพิบูลอยู่ภายใต้กำกับของคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ อีกทั้งเพื่อให้เกิดการศึกษาทางมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ซึ่งนับวันยิ่งจะลดน้อยถอยลง

2. กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่

กำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม

3. ข้อกำหนดทั่วไปของบทความ 

  1. บทความวิชาการ ประเด็นที่น่าสนใจศึกษาทางด้านภาษาตะวันออก (ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ฯลฯ) ภาษาตะวันตก (ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ) วรรณคดีไทย คติชน ดนตรี และบรรณารักษศาสตร์ บทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์หรือบทวิจารณ์หนังสือในสาขามนุษยศาสตร์ พร้อมทั้งบทคัดย่อภาษาไทย อีกทั้งผู้เขียนต้องกำหนดคำสำคัญ (คำที่ช่วยค้นหาบทความได้อย่างสะดวก) อย่างน้อย 3-5 คำ 
  2. ต้นฉบับมีความยาวไม่เกิน 15 หน้า กระดาษ B5 
  3. บทความต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น ยกเว้นกรณีที่ต้องการยกตัวอย่างเป็นภาษาอื่น ให้ดูขนาดตัวอักษรในรูปแบบตัวอักษร
  4. บทความจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน (double-blind peer review ผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง) จากหลากหลายสถาบัน

4. การส่งต้นฉบับและกำหนดวันส่ง 

  1. ส่งแบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสาร 
  2. ผู้ส่งบทความต้องส่งบทความในรูปแบบของไฟล์ Microsoft word (*.doc หรือ *.docx) และ PDF file (*.pdf) โดยปรับรูปแบบบทความให้ตรงกับรูปแบบของวารสารอักษราพิบูล 
  3. ส่งไฟล์บทความ และแบบฟอร์มขอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารทางอีเมล huso@psru.ac.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองบรรณาธิการ : ผศ.ภัครพล แสงเงิน โทรศัพท์ 087-1943678 อาจารย์ ดร.สุธัญญา ปานทอง โทรศัพท์ 087-9393913 และเจ้าหน้าที่ประสานงาน : นางสาวสุนิสา เพ็ชรพูล โทรศัพท์ 086-9046203 
  4. ผู้ได้รับการตอบรับตีพิมพ์บทความจะได้รับวารสารอักษราพิบูลจำนวน 1 ฉบับ ทั้งนี้การส่งบทความ จะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 
  5. กำหนดส่งบทความฉบับที่ 1 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ และฉบับที่ 2 ภายในเดือนสิงหาคม โดยเปิดรับบทความตลอดปี

5. การพิจารณาบทความ

  1. บทความต้องมีความเกี่ยวข้องและมีคุณค่าต่อการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ฯ มีระบบการอ้างอิงที่ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด 
  2. บทความที่ส่งมาตีพิมพ์นั้นจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หากบทความของท่านได้รับการพิจารณา ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งผลให้ทราบ โดยผู้เขียนบทความจะต้องแก้บทความส่งตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อคิดเห็นและส่งคืนภายในเวลาที่กำหนด
  3. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการส่งคืนต้นฉบับบทความ กรณีผู้ส่งบทความขอยกเลิกการส่งพิจารณาตีพิมพ์บทความ และเมื่อบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนบทความจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด

6. คำแนะนำในการเขียนและจัดเตรียมต้นฉบับ  (คลิกเปิดอ่านและดาวน์โหลด)

เอกสารดาวน์โหลด

- แบบฟอร์มขอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารอักษราพิบูล (คลิกเปิดอ่านและดาวน์โหลด)

- Template (บทความวิจัย) (คลิกเปิดอ่านและดาวน์โหลด)

- Template-for-English-Research-Article (คลิกเปิดอ่านและดาวน์โหลด)

- Template (บทความวิชาการ) (คลิกเปิดอ่านและดาวน์โหลด)

- Template-for-English-Academic-article (คลิกเปิดอ่านและดาวน์โหลด)

7. ขั้นตอนการดำเนินงานหลังรับต้นฉบับบทความ

1. กองบรรณาธิการวารสารตรวจสอบบทความเบื้องต้น หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) พิจารณาบทความ หากพบว่าเนื้อหาไม่ผ่านการพิจารณา (ปฏิเสธการตีพิมพ์) ของผู้ทรงคุณวุฒิ ทางกองบรรณาธิการจะส่งคืนต้นฉบับให้ผู้วิจัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนผลงานที่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งสิ่งที่ต้องปรับแก้ไขให้ทราบ เพื่อทำการแก้ไขจนกว่าบทความจะมีความสมบูรณ์

2. บทความที่ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ได้รับการยืนยันให้ตีพิมพ์ได้แล้วนั้น จะเข้าสู่การพิจารณาโดยกองบรรณาธิการวารสารเป็นขั้นตอนสุดท้าย บทความบางเรื่องอาจไม่ได้รับการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการวารสารถือเป็นที่สิ้นสุด

3. กองบรรณาธิการวารสารแจ้งตอบรับบทความให้ผู้วิจัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมระบุฉบับที่ลงตีพิมพ์

 

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ