ชนิดคำคาตาคานะในภาษาเขียนและภาษาพูดภาษาญี่ปุ่น
คำสำคัญ:
คำตามแหล่งกำเนิด , คำตามหน้าที่ , คำคาตาคานะ , ภาษาเขียนและภาษาพูดภาษาญี่ปุ่นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจชนิดคำคาตาคานะที่ปรากฏในภาษาเขียนและ ภาษาพูดภาษาญี่ปุ่น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่ง ได้แก่ 1) ข่าวจาก NHK NEWS WEB จำนวน 25 ข่าว โดยเลือกเก็บข้อมูลจากข่าวหลักลำดับ 1-5 (ข่าว Top 5) ของแต่ละเดือน ที่เผยแพร่ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2566 และ 2) รายการจากยูทูป (Youtube) จำนวน 25 รายการ คัดเลือกแบบเจาะจงโดยเลือกเก็บข้อมูลจากรายการที่มียอดวิวตั้งแต่ 3 แสนวิวขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการจำแนกชนิดคำโดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏคำคาตาคานะทั้งหมด 835 คำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดคำ ตามแหล่งกำเนิดและชนิดคำตามหน้าที่ ทั้งนี้ ชนิดคำตามแหล่งกำเนิดพบ 5 ชนิด เรียงตามชนิดคำที่พบจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ 2) คำญี่ปุ่นเดิม 3) คำภาษาอังกฤษ ที่ญี่ปุ่นสร้าง 4) คำผสม และ 5) คำเลียนเสียงธรรมชาติและคำบอกอาการ ส่วนชนิดคำตามหน้าที่พบ 5 ชนิด เรียงตามชนิดคำที่พบได้ดังนี้ 1) คำนาม 2) คำคุณศัพท์なและคำแสดงสภาพ 3) คำกริยาวิเศษณ์ 4) คำกริยา และ 5) คำคุณศัพท์ い
References
ณิชานันท์ ไชยศรี. (2560). การสอนตัวอักษรคาตาคานะให้แก่ผู้เรียนชาวไทย: กรณีศึกษานักเรียนอาชีวศึกษา. JSN Journal, 7(1), 21-32.
ณัฏฐิรา ทับทิม. (2556). การศึกษาวิธีการและประเภทการแปลคำเลียนเสียงธรรมชาติและคำบอกอาการหรือสภาพจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 30(1), 41-56.
สุดารัตน์ กาญจนพนาสนท์และขวัญจิรา เสนา. (2561). การศึกษาความเข้าใจความแตกต่างของไกไรโงะกับคำประเภทอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(2), 177-190.
江間直美. (2020). 「カタカナ語30語とマスコミ教育・日本語教育に関する試論―大学生のカタカナ語理解度調査と一般生活者アンケート調査の結果から―」『江戸川大学紀要』, 17-56.
日本語教育学会編. (2000). 『日本語教育事典(縮刷版第12刷)』東京: 大修館書店.
日本語教育学会編. (2010).『新版日本語教育事典(第2刷)』東京: 大修館書店.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย