นางครวญ : การศึกษาเชิงนิเวศในมุมมองสัตวศึกษา
คำสำคัญ:
นางครวญ , สัตวศึกษา , การวิจารณ์เชิงนิเวศบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความเป็นสัตว์ในนวนิยายเรื่อง
นางครวญ ของภาคินัย กสิรักษ์ โดยใช้แนวคิดสัตวศึกษาภายใต้มุมมองการวิจารณ์เชิงนิเวศ ในการนำมาศึกษาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า นักเขียนประกอบสร้างความเป็นสัตว์ในนวนิยายผ่าน 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) สัตว์หิมพานต์ในฐานะนักล่า เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างโซ่อาหารในระบบนิเวศธรรมชาติ 2) ความเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างเผ่าพันธุ์มนุษย์และสัตว์ 3) อุปลักษณ์ให้สัตว์เป็นเหมือนมนุษย์ เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่ามนุษย์และสัตว์ ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งในระบบนิเวศเดียวกัน 4) สัตว์เหนือกว่ามนุษย์ เพื่อนำเสนอว่าสัตว์ มีความเหนือกว่ามนุษย์ในด้านความฉลาด และ 5) การช่วงชิงอำนาจ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์ต่างอยากเป็นเผ่าพันธุ์ที่เหนือกว่าอีกเผ่าพันธุ์หนึ่ง จึงสามารถสรุปได้ว่าการประกอบสร้างความเป็นสัตว์ในนวนิยายเป็นการนำเสนอให้เห็นภาพแทนของสัตว์ว่ามีความต่างจากมนุษย์ มีความเหนือกว่ามนุษย์ อีกทั้งสัตว์ยังเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่มีความเสมอภาคกับมนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตหนึ่งในระบบนิเวศเดียวกัน
References
กิตติกานต์ หะรารักษ์. (2563). การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษานวนิยายร่วมสมัยที่มีสัตว์เป็นผู้เล่าเรื่อง. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ชญาดา ชูชัยสิงหะกุล. (2561). เจ้าเอย...เจ้ากรงหัวจุก : ภาพสะท้อนนิเวศสำนึกเชิงจริยศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของสัตว์. ใน เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. (น. 13-26). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ดารินทร์ ประดิษฐ์ทัศนีย์. (2560). การวิจารณ์วรรณกรรมแนวนิเวศ (Ecocriticism) : บทแนะนำเบื้องต้น. ใน รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (บรรณาธิการ), ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ: ทัศนะของนักวิชาการไทย (น. 236-327). ปทุมธานี: นาคร.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2560). ใช่เพียงเดรัจฉาน: สัตวศึกษาในมุมมองของการวิจารณ์แนวนิเวศ. ใน รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (บรรณาธิการ), ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ: ทัศนะของนักวิชาการไทย (น. 328-407). ปทุมธานี: นาคร.
ภาคินัย. (2559). นางครวญ. กรุงเทพฯ: ก้าวกระโดด.
ราชบัณฑิตยสภา. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร. (2562). จากงูกลายเป็นคน จากคนกลายเป็นงู: ความลักลั่นของความเป็นมนุษย์และความเป็นสัตว์ในนวนิยายเรื่อง“นาคี”. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 26(1), 153-178.
________. (2566). ค้างคาวดูดเลือด สายพันธ์ต่างถิ่น และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในนวนิยายเรื่อง พันธะรัตติกาล ของ นันทนา วีระชน. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 40(1), 145-181.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย