วัจนกรรมโควิด 19 ในสื่อออนไลน์ : ประเภทวัจนกรรมและความหมาย

ผู้แต่ง

  • ณัฐณิชา ฝั้นคำสาย สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุนิสา กัลเกตุ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อรณัฐ ลุสนธิ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อัญธิกา เผือกเนียม สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุชาดา เจียพงษ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

วัจนกรรม , โควิด 19 , สื่อออนไลน์ , ความหมาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทวัจนกรรมโควิด 19 (Covid-19) ที่ปรากฏ ในสื่อออนไลน์และเพื่อวิเคราะห์ความหมายที่สัมพันธกับวัจนกรรมโควิด 19 (Covid-19)  ในสื่อออนไลน์ ผลการวิจัยพบวัจนกรรมทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ วัจนกรรมการกล่าวความจริง ปรากฏทั้งหมด 44 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 44 วัจนกรรมการกล่าวแสดงความรู้สึก ปรากฏทั้งหมด 28 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 28 และวัจนกรรมการกล่าวชี้นำ ปรากฏทั้งหมด 28 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 28 และผลการวิเคราะห์ความหมายปรากฏ 6 ความหมาย ได้แก่ ความหมายเกี่ยวกับความรักปรากฏมากที่สุด จำนวน 70 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมาคือความหมายเกี่ยวกับการแพทย์ จำนวน 14 ข้อความคิดเป็นร้อยละ 14 ความหมายเกี่ยวกับการเมือง จำนวน 6 ข้อความคิดเป็นร้อยละ 6 ความหมายเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมจำนวน 4 ข้อความคิดเป็นร้อยละ 4 ส่วนความหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจและความหมายเกี่ยวกับบทเพลงปรากฏน้อยที่สุด โดยปรากฏความหมายละ 3 ข้อความเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 3

References

รัตนา บุนนาค. (2560). วัจนกรรมของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในรายการคืนความสุขให้คน ในชาติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2549). วัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อิงอร พึ่งจะงาม. (2554). การใช้วัจนกรรมและกลวิธีทางภาษาบนป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

อุมาภรณ์ สังขมาน. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การใช้กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันของไทย. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 23(1), 154-178.

Searl, J. R. (1969). Speech Act: An Essays in the Philosophy of Language. Cambridge: Cambrigde University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-21