การศึกษาคำปรากฏร่วม (Collocation) Have Get Take และ Give ที่ปรากฏในข่าวโควิด 19 ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษโดยใช้คลังข้อมูล
คำสำคัญ:
คำปรากฎร่วม , ข่าวโควิค 19 , คลังข้อมูลภาษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำปรากฏร่วม (collocation) ในข่าวโควิด 19 ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในประเทศไทย (บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่น) ผ่านการใช้คลังข้อมูลภาษา โดยเน้นศึกษาการใช้ have get take และ give ในคำปรากฏร่วม 2 โครงสร้าง คือ (1) verb + noun และ (2) phrasal verb เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พจนานุกรมภาษาอังกฤษจำนวน 2 ฉบับ คือ Oxford Collocations Dictionary for Students of English (2008) และ Longman Phrasal Verbs Dictionary (2000) และเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ โปรแกรม AntConc 3.5.9 ข้อมูลภาษาที่ได้ถูกนำไปวิเคราะห์การปรากฏร่วมตามทฤษฎีของ Lewis (2000) โดยใช้โปรแกรม AntConc 3.5.9 ผลการวิจัยพบว่าในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นมีการใช้คำปรากฏร่วม คำว่า have get take และ give จำนวน 109 คำ คิดเป็นร้อยละ 0.06 จากจำนวนคำทั้งสิ้น 187,992 คำ โดยพบในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ 52 คำ (47.71%) และเดอะเนชั่น 57 คำ (52.29%)
References
เนาวรัตน์ อินทรประสิทธิ์. (2556). การศึกษาการปรากฏของคำปรากฏร่วมในหนังสือนวนิยายภาษาอังกฤษ. พระนครศรีอยุธยา: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
วงศ์ วรรธนพิเชษฐ. (2547). English by example A dictionary of English collocations with Thai Translations (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส.
สุปรานี พุ้ยมอม, เจนจิรา เกิดทอง และชนิศา นิ่มสะอาด. (2555). การสำรวจการใช้คำปรากฏร่วม (Collocation) ในงานเขียนของผู้เรียนไทยระดับปริญญาตรี. สืบค้นจาก http://research.rmutsb.ac.th.
อภินันท์ ตันติวัตนะ. (2553). ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษทางเลือก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bueraheng, N. (2014). Receptive and Productive Knowledge of Verb + Noun and Adjective + Noun Collocations of International Program and English Major Students of Prince of Songkla University. (Master’s thesis, Teaching English as International Language, Prince of Songkla University).
Detdamrongpreecha, B. (2014). The acquisition of basic collocations by Thai learners of English. SDU Research Journal Humanities and Social Sciences, 10(3), 37-53.
Lewis, M. (ed.). (2000). Teaching collocation: Further developments in the Lexical Approach. Hove: Language Teaching.
Lewis, M. (2008). Implementing the lexical approach: putting theory into practice. Hampshire: Heinle Cengage Learning.
Lin, L. Y. & Lin, C. H. (2019). Grammatical and Lexical Patterning of Make in Asian Learner Writing: A Corpus-Based Study of ICNALE. The Southeast Asian Journal of English Language Studies, 25(3), 1-15. doi.org/10.17576/3L-2019-2503-01
Liu, C. P. (2000). A study of strategy use in producing lexical collocations. Selected papers from the Tenth International Symposium on English Teaching, 481-492. Taipei: The Crane.
Sinclair, J. (1991). Corpus, concordance, collocation. New York: Berkley Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย