การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, มาตราตัวสะกด, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์1) เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกดให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่ก๋งวิทยาอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 15 คน เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบก่อนเรียน 2) แบบทดสอบความรู้ 3) แบบทดสอบหลังการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของเครื่องมือ (E1/E2) ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพ 87.50/ 88.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/ 80 คุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
คีรีบูรณ์ สีทา. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) และวิธีการสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พัทธนันท์ ทองบุราณ. (2550). ผลของการใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกดในภาษาไทยของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-Book หนังสือพูดได้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: ฐานการพิมพ์.
วนิชา อุดคำเที่ยง. (2554). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาน้ำมันและโรงเรียนบ้านเพียซำพุวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิไลรักษ์ บุญงาม. (2550). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภาคตัดกรวย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สุนันทา สายแวว. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ประสมสระลดรูปเปลี่ยนรูปที่สะกดตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย