จารึกบ้านพันดุง : มุมมองจากการอ่านและแปลใหม่
คำสำคัญ:
จารึกบ้านพันดุง, จังหวัดนครราชสีมา, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธบทคัดย่อ
จารึกบ้านพันดุง เป็นจารึกภาษาสันสกฤต จารด้วยอักษรสมัยหลังปัลลวะ ระบุมหาศักราช 751 (ตรงกับพุทธศักราช 1372) พบที่บ้านพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจารึกหลักนี้ด้วยวิธีการถ่ายถอดคำอ่านจากศิลาจารึกโดยตรง แปลเป็นภาษาไทย และเปรียบเทียบกับคำอ่านและคำแปลที่เคยมีผู้ศึกษาไว้แล้ว ผลการศึกษาพบว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกที่มีความสำคัญและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะแสดงให้เห็นถึงร่องรอยการผสมผสานระหว่างกลุ่มคนที่นับถือศาสนาต่างกัน อันได้แก่ ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ จากการอ่านและแปลใหม่มีข้อแตกต่างจากคำอ่านและคำแปลเดิม 4 ประเด็น ได้แก่ 1) บทที่ 1 แต่งด้วยปรหรณกลิกาฉันท์ 2) บทที่ 5 คำว่า “ฤษิเวทตุรงฺเคน” เป็นการบอกศักราช 3) อาจจะไม่มีพราหมณ์ชื่อ “ศรีธีธรรมาตมกะ” และ 4) การบอกวันและเดือนในบทที่ 9 (บรรทัดที่ 10) และมีข้อสังเกต 3 ประเด็นคือ 1) ด้านอักขรวิทยา 2) ด้านไวยากรณ์และภาษา และ 3) ด้านสังคมและประวัติศาสตร์ จากข้อสังเกตนี้ทำให้สันนิษฐานว่าอาลักษณ์และผู้ประพันธ์อาจมีมากกว่า 1 คน
ทั้งยังพบว่ามีความเชื่อมโยงกับจารึกเมืองเสมา ด้านที่ 2 (พ.ศ. 1514)
References
กรมศิลปากร. (2529). จารึกในประเทศไทย เล่ม 4. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
กรมศิลปากร. 2559). จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
กรมศิลปากร. (2564). จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
ก่องแก้ว วีระประจักษ์. (2563, มกราคม-กุมภาพันธ์). จารึกวัดพระงาม. ศิลปากร, 63(1), 4-15.
ชะเอม แก้วคล้าย. (2530, พฤศจิกายน-ธันวาคม). จารึกพระศรีวัตสะสร้างเทวรูป อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต. ศิลปากร, 31(5), 91-96.
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2521). จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ณัฐพล บ้านไร่ และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย. (2564, มกราคม-เมษายน). ภูตสังขยาในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์. มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), น. 35-46.
พระคันธสาราภิวงศ์. (2551). วฤตตรัตนากร และวุตโตทยมัญชรี การศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบฉันทลักษณ์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทโฆส นครปฐม.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ นครราชสีมา. (ม.ป.ป.). ศิลาจารึกบ้านพันดุง. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/mahavirawongmuseum/view/12487-ศิลาจารึกบ้านพันดุง--Ban-Phan-Doong-Stone-Inscription-
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2564). จารึกพันดุง. สืบค้นจาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/974
อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2560). ภูตสังขยา: ศัพท์แทนจำนวนในวัฒนธรรมภาษาสันสกฤต. ใน คือรัตนะประดับนภา (น. 203-236). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำไพ คำโท. (2549). จารึกเมืองเสมา. ใน รวมบทความและศิลาจารึก (น. 238-254). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Cœdès, G. (1937). Inscriptions du Cambodge Vol. I. Hanoi: Imprimerie d'Extrême-Orient.
Cœdès, G. (1954). Inscriptions du Cambodge Vol. VI. Paris: Imprimerie d'Extrême-Orient.
Estève, J. (2014). L'inscription K. 237 de Prāsāt Preaḥ Khsaet. Une caturmūrti insolite?. Bulletin de l'Ecole française d'Extrême-Orient, 100, p. 167-200.
Karandikar, M. A. & Karandikar, S. (1982). Bhaṭṭi-Kāvyam (Text with English Translation and Notes). Delhi: Motilal Banarsidass.
Monier-Williams, M. (1989). A Sanskrit-English Dictionary (Reprint). Delhi: Motilal Banarsidass.
Patel, D. (2020). Kedārabhaṭṭa: Vṛttaratnākara with Sulhaṇa's commentary Sukavihṛdayānandinī. Retrieved from http://gretil.sub.uni-goettingen.de/gretil/corpustei/transformations/html/sa_kedArabhaTTa-vRttaratnAkara-comm.htm
Pou, S. (2001). Stèle de Sema (Korat) (K.1141). In Nouvelles Inscriptions du Cambodge II&III (p. 115-118). Paris: École Française d’Extrême-Orient.
Sharan, M. K. (1974). Studies in Sanskrit Inscriptions of Ancient Cambodia. New Delhi: Abhinav Publications.
Shastri, S. V. (2014). Sanskrit Inscriptions of Thailand. Delhi: Vikas Computer & Printers.
Skilling, P. (2017). The Wat Maheyong Inscription (NS 10, K 407): The Thai-Malay Peninsula in the Wide World of Buddhist Material and Cultural Exchange. In Wannasarn Noonsuk (ed.), Peninsular Siam and Its Neighborhoods: Essays in Memory of Dr. Preecha Noonsuk (p. 55-79). Nakhon Si Thammarat: Cultural Council of Nakhon Si Thammarat Province.
Wisdom Library. (2021). Kosha, Kośa, Kosa, Kośā, Koṣā. Retrieved from https://www.wisdomlib.org/definition/kosha
Zakharov, A. (2019). The inscription K. 733 from Phnom Preah Vihear and the root Vidyā- in Cambodia. Bostok (Oriens), 5, p. 21-32.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย