ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดี เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณคะแนนเป็นการหาค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 3.20 คะแนน และค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 8.58 คะแนน 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X = 4.53) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.51)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
งานวิชาการโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี. (2563). รายงานผลการทดสอบความสามารถในการอ่านและการเขียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563. อุตรดิตถ์: โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี.
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสาร Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8 (2) เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม, น. 1313 -1326.
ทัศนีย์ หนูนาค. (2550). ผลของการเรียนการสอนภาษาไทย ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ ที่มีต่อความสามารถคิดวิเคราะห์ และการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ธิติยา พงศ์ศิริไพศาล. (2557). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ กับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพมหานคร.
ประยุทธ ไทยธานี. (2541). ผลของการฝึกการคิดแบบหมวกหกใบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษา ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. สารนิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ปิยะนุช ยุตยาจาร. (2544). การเปรียบเทียบผลของการฝึกคิดแบบหมวกหกใบกับกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐมฯ.
พระมหาอำนาจ แสงศรี. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วรรณคดี เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ที่ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ กับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐมฯ.
ยุพาวดี มหาหิง. (2558). การประยุกต์ใช้เทคนิคคำถามหมวกความคิดหกใบ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2555). ความรู้ทั่วไปทางภาษาไทย (ภาควรรณคดีไทย). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง.
วิริยา วิริยารัมภะ. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบและวิธีสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐมฯ.
ศิริพร ศรีสุวรรณ. (2558). เรื่องการศึกษาความสามารถทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐมฯ.
สุรชัย รัตนกิจตระกูล. (2553). รองเท้า 6 ปฏิบัติการ 6 แบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Dunn, Rita. (1972). Team Learning and Circles of Knowledge. Practical Approaches to Individualization, New York : Packer Publishing Company inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย