พุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศล ฉบับหอสมุดแห่งชาติ : ความสัมพันธ์กับเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
อรรถกถามหาสุบินชาดก, พุทธทำนาย, ความฝัน, พระเจ้าปเสนทิโกศล, เพลงยาว, พยากรณ์กรุงศรีอยุธยา, ผลิตซ้ำบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศล ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 196 เปรียบเทียบกับเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ผลการศึกษา พบว่า เนื้อหาเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาคล้ายคลึงกับเนื้อหาของอรรถกถามหาสุบินชาดก กล่าวคือ ผู้แต่งได้นำเนื้อหาความฝันและคำทำนายบางประการมาเพิ่มเติมในเนื้อหาของเพลงยาว พยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และไม่ได้เรียงตามลำดับข้อตามที่ปรากฏในอรรถกถาดังกล่าว โดยนำความ ฝันมาเพียงบางประการ หรือนำคำทำนายสั้น ๆ มาใช้เท่านั้น ขณะเดียวกันก็มุ่งนำเสนอแนวคิดที่ สัมพันธ์กันคือ อนาคตของสังคมที่เลวร้ายนั้นเกิดจากการละทิ้งศีลธรรมของคนในสังคมเอง เป็นการทำนายอนาคตเพื่อให้ตระหนักถึงความทุกข์ ความเดือดร้อนนานาประการ โดยมนุษย์ สามารถหลุดพ้นหรือหนีรอดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนตามพระธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนา ความสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความแพร่หลายของอรรถกถา มหาสุบินชาดกที่มีการผลิตซ้ำ หรือนำมาสร้างสรรค์ต่อยอดเป็นพุทธทำนายความฝันพระเจ้า ปเสนทิโกศลหลากหลายสำนวน รวมถึงวรรณคดีเรื่องอื่นในสังคมไทย
References
กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 5. (2542) กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรม และประวัติศาสตร์.
คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัดและพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ์. (2507). กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
จิตร ภูมิศักดิ์. (2547). โองการแช่งน้ำ และข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2508). นิทานวรรณคดี. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). (2551). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2553). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1 เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พุทธทำนายฝันพระยาปัถเวน มีนิราศนรินทร์ต่อท้าย. สมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นหมึก. เลขที่ 196 ตู้ 115 ชั้น 6/5 มัดที่ 29. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย