การจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติกีตาร์เบสสมัยนิยมระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติกีตาร์เบสสมัยนิยม ระดับอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติกีตาร์เบสสมัยนิยมระดับอุดมศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ฮามีร อ่อนทอง[1], เอกชัย พุหิรัญ[2], พิมลมาศ พร้อมสุขกุล[3], รุ่งเกียรติ สิริวงษ์สุวรรณ[4]
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติ กีตาร์เบสสมัยนิยมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติกีตาร์เบสสมัยนิยมในระดับอุดมศึกษา ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอน 2) การเลือกเนื้อหาสาระ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4) การใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน 5) การวัดผลและประเมินผล โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้สอนวิชาปฏิบัติกีตาร์เบสสมัยนิยม ระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลทั้งหมด 4 คน ผู้เรียน 16 คน
ผลการวิจัยพบว่ามีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเนื้อหาเลือกตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นหลักโดยเน้นทักษะพื้นฐานทางด้านปฏิบัติ และทฤษฎี มีกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในสถานศึกษา สื่อและอุปกรณ์จะใช้หนังสือ และคลิปวิดิโอจากยูทูป มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนอยู่ตลอดเวลา แนวทางในการจัดการเรียนการสอนพบว่า ควรใช้การสอนตามหลักสูตร แบบมีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง และการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพราะ ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน เนื้อหาผู้สอนต้องดูจากศักยภาพของผู้เรียนก่อนเพิ่มลำดับความยากง่าย กิจกรรมการเรียนการสอนควรเพิ่มการจัดแสดงคอนเสิร์ต ด้านการใช้สื่อรูปแบบหนังสือของสำนักพิมพ์ Hal Leonard และหนังสือเสริม Jazz Standard 100 licks คลิปวิดิโอจากยูทูบ และการบันทึกเสียง ผู้สอนวัดผลและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคล ยกเว้นตอนสอบจะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี หรือศิลปินที่มีชื่อเสียงจากภายนอกมาร่วมประเมินด้วย
[1] นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดนตรีตะวันตก (ดนตรีศึกษา) วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
[2] อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
[3] อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
[4] อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
References
http://music.su.ac.th/สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สมเชาว์ เนตรประเสริฐ และสุดา สินสกุล. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี : ฉบับปรับปรุงแก้ไข. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดําริห์ บรรณวิทยกิจ. (2545). แนวการสอนดนตรีปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ สาระดนตรีศึกษา. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยพันธ์ แสนทวีสุข. (2550). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาดนตรีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26 (4), 27-44.
ภานุวัฒน์ วัฒนจินดา. (2552). การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องสาย ของโรงเรียน
ดุริยางค์ทหารอากาศ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ.
สุประวัตร จำเพียรและ ณรงชัย ปิฎกรัชต์. (2558). แบบฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาท่าทางการปฏิบัติกีตาร์เบส
ไฟฟ้าเบื้องต้น. วาสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2 (1), 60-71.
Berklee college of music. (2001).
Bachelor of professional studies in bass private lessonsexclusive, private bass instruction. From https://online.berklee.edu/bass?pid=6383#!courses-tab
University Of Liverpool. (2019). Undergraduate Degrees in Music.
From https://www.liverpool.ac.uk/study/undergraduate/courses/music-popular-music-ba-hons/overview/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล