สถานะองค์ความรู้ นโยบาย กลไกการดำเนินงาน และระบบวิจัย เพื่อการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์

ผู้แต่ง

  • penchan pradubmook sherer Faculty of Social Sciences and Humanities Mahidol University

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ทบทวนสถานะองค์ความรู้ ตัวกำหนดทางสังคมและสุขภาพ ยุทธศาสตร์การวิจัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสถานะองค์ความรู้ ระบบข้อมูล มาตรการ กลวิธีด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอของระบบวิจัยเพื่อการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ระเบียบวิธีการศึกษา เป็นทบทวนองค์ความรู้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย ระหว่างปี พศ. 2556-2562 และ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงวุฒิทางวิชาการ ผู้จัดการงานวิจัย ผู้ปฎิบัติงานในองค์กรพัฒนาเอกชน และรัฐ จำนวน 8 คน การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหาจากเอกสารงานวิจัยและบทสัมภาษณ์

องค์ความรู้ที่ผ่านมาพบว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัยที่มีมีความซับซ้อน(complexity) และเกี่ยวโยงกับตัวกำหนดทางสังคมด้านสุขภาพหลายมิติ และความเปราะบางทางสังคมของวัยรุ่น  การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่พบว่าอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดเชิงพฤติกรรม และการพัฒนาโปรแกรมที่มุ่งการแก้ปัญหาเชิงพฤติกรรม  สอดคล้องกับงานของต่างประเทศที่มีข้อวิพากษ์ในประเด็นที่ว่าองค์ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่เกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมทางสังคมยังมีน้อย องค์ความรู้ส่วนใหญ่มักเน้นไปในเรื่องการขาดข้อมูล หรือการเข้าถึงบริการการคุมกำเนิดเป็นปัจจัยกำหนดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังน้อย  ขณะที่องค์ความรู้ในต่างประเทศ ชี้นำกรอบการมองปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ไปในการมองปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นเรื่องความเปราะบางทางสังคม  และ ความด้อยโอกาสหลายมิติ (intersectionality) ในปัญหาการตั้งครรรภ์ในวัยรุ่น ที่ซึ่งต้องใช้กรอบการมองจากหลายสาขาวิชา หลายมุมมอง การมีระเบียบวิธีการวิจัย และกลยุทธเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ระบบการวิจัยมักเป็นไปเพื่อเป็นการสร้างความรู้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการวิจัยเพื่อเชื่อมโยงกับผู้ใช้ประโยชน์ และให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงระบบกลไกและโครงสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น  บทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้และเข้าใจ เงื่อนไขกำหนดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีสำคัญ ตลอดจน การเสนอความท้าทายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาองค์ความรู้และระบบวิจัย เพื่อการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

 

References

Bharmal N, Derose KP, Felician M, Weden M.M. (2015). Understanding the upstream social determinants of health. RAND Health:1–20.

Chaikoolvatana, A. et al. (2013). Effects of a Cigarette Smoking Prevention Program among Junior High School Students in North-East Thailand: A Pilot Survey. J Med Assoc Thai. 96 (6):730-741.

Chanakira, E. et al. (2015). Goyder EC, Freeman JV, O’Cathain A, Kinghorn G, Jakubovic M. Social and psychosocial factors associated with high-risk sexual behavior among university students in the United Kingdom: a web survey. Int J STD AIDS. 26(6):369-78.

Darroch et al, (2016) Adding It Up: Costs and Benefits of Meeting the Contraceptive Needs of Adolescents. New York GUTTMATCHER institute.

Department of Health, Ministry of Health. (2017). Annual Report 2017. Bangkok: Arksorngraphic and design printing.

Hankivsky, O., Reid, C., Cormier, R. et al. Exploring the promises of intersectionality for advancing women's health research. Int J Equity Health 9, 5.

Haque, M. & Soonthorndhada A. (2009). Risk Perception and Condom-use among Thai Youths: Findings from Kanchanaburi Demographic Surveillance System Site in Thailand. Journal of Health, Population and Nutrition. 27, 772-783.

Jani, J. S. et al. (2013). Access to intersectionality, content to competence: Deconstructing social work education diversity standards. Journal of Social Work Education. 47(2), 283-301.

Kaufman, C. et al. (2007). Culture, context and sexual risk among Northern Plain American Indian youth. Soc Sci Med. 64(10):2152-2164

McCal, L. (2005). The Complexity of Intersectionality. Signs. 30(3),1771-1800.

Murphy, Y. (2009). Incorporating Intersectionality in Social Work Practice, Research, Policy, and Education. NASW Press, National Association of Social Workers.

Oringanje, C. et al. (2009). Interventions for preventing unintended pregnancies among adolescents. Cochrane Database Syst Rev.(4):CD005215. Published 2009 Oct 7. doi:10.1002/14651858.CD005215.pub2

Saleh, L. D., & Operario, D. (2009). Moving beyond ‘‘the Down Low’’: A critical analysis of terminology guiding HIV prevention efforts for African American men who have secretive sex with men. Soc Sci Med. 68:390–395.

Schoepf B G. (1995). Culture, Sex Research and AIDS Prevention in Africa. Culture and Sexual Risk: Anthropological Perspectives on AIDS : Overseas Publishers Association.

Schoepf, B. G. (2003). International AIDS Research in Anthropology: Taking a Critical Perspective on the Crisis Source. Annual Review of Anthropology. 30,335-361.

Singh, S. et al. (2001). Socioeconomic disadvantage and adolescent women’s sexual and reproductive behavior: the case of five developed countries. Family Planning Perspectives. 33(6):251-289.

Sørensen, K. et al. (2012). Brand H. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 12 : 80, 1-13.

UNFPA. (2015) Girlhood, not motherhood: Preventing adolescent pregnancy. New York: UNFPA.

WHO. (2014). Regional Office for Europe Smart governance for health and well-being: the evidence Kickbusch I. and Gleicher, D. (eds.) WHO Regional Office for Europe, Denmark.

เอกสารอ้างอิงภาษาไทย

พิมพวัลย์ บุญมงคล และคณะ (2559) รายงานผลการวิจัยเพื่อทบทวน การสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาไทย กระทรวงศึกษา และ องค์กรยูนิเซฟ กรุงเทพ

รักมณี บุตรชน ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล ยศ ตีระวัฒนานนท์ (2561) การตั้งครรภ์วัยรุ่นในประเทศไทย: ความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานและนโยบาย วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 27 ฉบับที่ 7 หน้า 1011-1022

วิพุธ พูลเจริญและคณะ (2562) สังคมอายุรวัฒน์ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย บริษัทหนังสือดีวัน จำกัด

วีระชัย สิทธิปิยะสกุล พิชานัน หนูวงษ์ รัชนี ลักษิตานนท์ เบ็ญจา ยมสาร (2556) สำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในประเทศไทย วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 22 ฉบับที่ 6 หน้า 979-987

ศรีเพ็ญ ตันติเวสส และคณะ (2556) สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสขุภาพ นนทบุรี

ศศิกาญจน์ ชินรัตน์ และเพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์ (2562) ประสบการณ์ความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมที่ส่งผลให้เยาวชนกระทำความรุนแรง บทความนำเสนอ สัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 18 ประจำปี 2562 วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ โรงแรมเอส ดี อเวนิว ปิ่นเกล้า กรุงเทพ

ศิริพร จิรวัฒน์กุล, และคณะ. (2555). “สถานการณ์การตั้งครรภ์วัยรุ่น : การรับรู้ของวัยรุ่นใน 7 จังหวัดของประเทศไทย” วารสารวิชาการ สาธารณสุข 21: 865-877.

ศิริวรรณ ทุมเชื้อ พรพรรณ พุ่มประยูร (2561)วัยรุ่นตั้งครรภ์ : แนวคิดแก้ปัญหาด้วยกระบวนการระบบสุขภาพอําเภอ วารสารวิจยัทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2: กรกฎาคม – ธันวาคม 2561, 29

องค์การยูนิเซฟ (2558) การวิเคราะห์สถานการณ์ การตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ในประเทศไทย องค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31