รูปแบบและแนวทางการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษา ในกรุงเทพมหานคร.
คำสำคัญ:
การป้องกัน, ทะเลาะวิวาท, นักเรียน, นักศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาท รวมถึงศึกษาขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงาน และปัญหาอุปสรรคของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จากนั้นจะเป็นการศึกษาเพื่อเสนอแนะรูปแบบและแนวทางการป้องกันและเป็นการสร้างคู่มือการจัดการความรู้ในการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาทมีสาเหตุมาจากการรับค่านิยมที่ไม่ดีมาจากรุ่นพี่ การหาอาวุธในการทะเลาะวิวาทหาได้ง่ายขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมการทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษามีความรุนแรงมากขึ้น ในส่วนของขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงานและปัญหาอุปสรรคของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นจะต้องมีการทำงานร่วมกันเป็นภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง แต่ปัญหาอุปสรรคคือการปฏิบัติงานร่วมกันของเครือข่ายมีจำนวนผู้ปฏิบัติงานลดลง การติดต่อประสานงาน การสานต่อนโยบายการป้องกันแก้ไขการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของทุกภาคส่วนยังมีความไม่สอดคล้องและไม่นื่อง จากนั้นจะเป็นการจัดทำคู่มือการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษา โดยรวบรวมข้อมูลแนวทางในการป้องกัน ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษา พร้อมทั้งการสำรวจรายชื่อของหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกทั้งจะมีการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
References
จิรพัฒน์ พรหมสิทธิการ. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา : ศึกษากรณีเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี. (2554). ทฤษฎีอาชญาวิทยาร่วมสมัยกับการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาในปัจจุบัน. นนทบุรี: หยินหยางการพิมพ์
ณัฏฐาภรณ์ โสกัณฑัต. (2557). พฤติกรรมการใช้ความรุนแรง กรณีศึกษาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
รุจิราพร หงส์ทอง. (2550). การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักเรียนระดับอาชีวศึกษา เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุณีย์ กัลยะจิตร. (2556). ปัญหาการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน: แนวทางการป้องกัน และการแก้ไข. กรุงเทพมหานคร: สินทวี พริ้นติ้ง.
สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษารัตน์ นิติยารมย์. (2548). กระทรวงศึกษาธิการกับการจัดการแก้ไขปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Aker, Ronald L. (1994). Criminological Theories: Introduction, Evaluation and Application. (4th ed.). Los Angeles, CA: Roxbury Publishing Company.
Becker, Gary S. (1968). Crime and punishment: An economic approach. Journal of Political Economy 76 (2): 169-217.
Cohen, Lawrence E. and Marcus Felson. (1979). Social change and crime rate trends: A routine activities approach. American Sociological Review 44: 588-609.
Hirschi, T. (1969). Causes of Delinquency. Berkeley, University of California Press.
Michael Gottfredson and Travis Hirschi. (1990). Self-Control Theory and Crime. Oxford Research Encyclopedia of Criminology. July 2017: 1-27.
Schur. (1971). Labelling Deviant Behavior. New York: Harper & Row.
Sutherland, Edwin H and Donald, Cressey R. (1987). The Professional Thief. Chicago, IL: Universityof Chicago Press.
เวปไซต์
พนม เกตุมาน. (2550). ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น. 15 มิถุนายน 2556. http://www.psyclin. co.th/new_page_57.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล