การส่งเสริมและสนับสนุนของครูเพื่อให้นักเรียนวัยรุ่นตอนต้น เรียนเปียโนอย่างต่อเนื่อง

ผู้แต่ง

  • ศศิรักษ์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

นักเรียนวัยรุ่นตอนต้น, เรียนเปียโน, การส่งเสริมและสนับสนุนของครู

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบการศึกษาเฉพาะกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นก่อนที่จะนำไปสู่การเลิกเรียน ศึกษาถึงสาเหตุของการเลิกเรียนเปียโนของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น และศึกษาวิธีการในการส่งเสริมและสนับสนุนของครูเพื่อให้นักเรียนวัยรุ่นตอนต้นเรียนเปียโนอย่างต่อเนื่องโดยการสัมภาษณ์ครูเปียโนทั้งหมด 10 ท่าน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่เลิกเรียนเปียโนไปนั้นมีพฤติกรรมดังนี้ คือ มีความตั้งใจในการเรียนลดลงและไม่มีสมาธิในระหว่างเรียน การตอบสนองต่อคำสั่งของครูลดลง มีเวลาในการซ้อมลดลง ลาหยุดและขาดเรียนบ่อย โดยสาเหตุหลักของการเลิกเรียน คือ นักเรียนต้องเรียนพิเศษเพื่อเตรียมตัวสอบในระดับมัธยมหรือมหาวิทยาลัย มีความสนใจในการเรียนลดลง ไม่ชอบการซ้อม และผู้ปกครองไม่ให้ความสนใจและสนับสนุนต่อการเรียน ซึ่งครูได้ใช้วิธีการส่งเสริมและสนับสนุนโดยการตั้งเป้าหมายในการเรียนการสอนร่วมกับนักเรียน ทำงานร่วมกันกับผู้ปกครอง ใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ ใช้บทเพลงนอกบทเรียนในการสอน สอนให้นักเรียนซ้อมอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลิกภาพของครูเปียโน การชมการแสดงดนตรี การสอบเกรด การแสดงคอนเสิร์ต การประกวดแข่งขัน การจัดสตูดิโอคลาสและการจัดกิจกรรมค่ายดนตรี

References

จงรัก พุกกะณานนท์. (2542). หลักการสอนเปียโน(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพมหานคร: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี (พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Baker, M. J. (1981). The student-teacher relationship: How important is it?.The American music teacher, Nov-Dec, 37-38.
Creswell, J. W. (2014). Research design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. Thousand Oaks, CA:
Sage.
Duke, R. A., Flowers, P. J., & Wolfe, D. E. (1997). Children who study piano with excellent teachers in the United States.
Bulletin of the council for research in music education 132: 51-84.
Dyal, E. I. C. (1991). An examination of factors which associate with a successful outcome in piano lessons. PhD dissertation,
Teacher college. Columbia University.
Hallam, S. (1998). The predictors of achievement and dropout in instrumental tution.
Psychology of music 26: 116-132.
Hilton, V. O. (1960). The problem of teenage dropout in private piano study.Thesis for the degree master of arts. The Ohio State
University.
Miles, B. M., Huberman, M. A. (1994). Qualitative data analysis. An expanded sourcebook (Second edition). Thousand Oaks,
CA: Sage.
Music teachers national association foundation. (1990). National survey of independent music teacher income and lesson fees.
Rockville. MD: Association Research, Inc.
Steinel, D. V. (1984). Data on music education: A national review of statistics describing education in music and the other arts.
Reston. VA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30