แนวทางในการเตรียมความพร้อมของตำรวจด้านการสืบสวนสอบสวน
คำสำคัญ:
ตำรวจ, การเตรียมความพร้อม, การสืบสวนสอบสวน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวยความยุติธรรมในด้านการสืบสวนสอบสวน รวมทั้งเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาในด้านการสืบสวนสอบสวนสอบสวน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป โดยศึกษาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถที่มีประสบการณ์หรือที่ปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในงาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลจากการวิจัยครั้งนี้พบว่า
เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการเตรียมความพร้อมทั้งในแง่ของนโยบายและการบริหารและการปฏิบัติ รวมทั้งการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสืบสวน-สอบสวน ในระดับดี กล่าวคือมีการกำหนดไว้ในในรูปของยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แผนปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยเฉพาะประจำปีงบประมาณ 2559 ที่มีการกำหนดรายและเอียดต่างๆ อีกอย่างเช่น กำหนดเป็นกลยุทธ์ แนวทางในการดำเนินการ แผนงาน โครงการและกิจกรรม รวมทั้งคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการเตรียมความพร้อมเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในลักษณะของการมีความรู้ความเข้าใจ (ความสามารถและทักษะ) ในงานที่ตนเองปฏิบัติอยู่ด้านการสืบสวนสอบสวนเป็นอย่างดี จากการทำงาน ประสบการณ์ จากการฝึกอบรม อย่างไรก็ดีผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ยังเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจควรที่จะศึกษา อบรมเพิ่มเติมในสาขาวิชาที่สำคัญอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น หลักสิทธิมนุษยชน จริยธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจกับระบอบประชาธิปไตย สังคมและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน หลักอาชญาวิทยา บุคลิกภาพกับอาชญากรรม (จิตวิทยา) การป้องกันอาชญากรรมร่วมสมัย ให้มีความรู้ความสามารถที่แข็งแกร่งและดีขึ้นเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
References
ทรงวุฒิ เชื้อพลากิจ. (2550). ทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนต่อปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการ สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดในคดีอาญา : ศึกษาเฉพาะกรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภราดร สุวรรณรัตน์. (2557). ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานสอบสวนของพนักงานสอบสวน : เฉพาะกรณีศึกษาของกองบังคับการตำรวจนครบาล 4. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วุฒิ ลิปตพัลลภ. (2556). ทิศทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการฑูต รุ่นที่ 5 ปี 2556 สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
สันต์ ธีรกุลวาณิช. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนสังกัดกองบัญชาการตำรวจ. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2556). คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 419/2556 เรื่องการอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวนและมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัด การสอบสวนคดีอาญา. (อัดสำเนา).
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2554). ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (อัดสำเนา).
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2555). ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (อัดสำเนา).
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2557). ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (อัดสำเนา).
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2559). ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (อัดสำเนา).
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2558). คู่มือประชาคมอาเซียนปี 2558 กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (อัดสำเนา).
สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2557). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557. (อัดสำเนา).
สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2558). ประชาคมอาเซียน ปี 2558 กับสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ. (อัดสำเนา).
สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2559). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. (อัดสำเนา).
สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2557). นโยบายการบริหารราชการของพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (อัดสำเนา).
สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2555). นโยบายการบริหารราชการของพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (อัดสำเนา).
Cullen, Francis T., & Agnew, Robert. (2011). Criminological Theory: Past to Present. (Forth Edition). Oxford University Press.
Jassem Abdulla, Ramdane Djebarni, Kamel Mellahi. (2011). “Determinants of job satisfaction In The UAE”: A case study of the Dubai police. Personnel Review. Vol. 40 No 1, 126146.
Johnson, Richard R. (2012). “Police Officer Job Satisfaction: A Multidimensional Analysis.” Policy Quarterly. 15(2) 157176.
Maslow, A. H. (1943). “A theory of human motivation.” Originally Published in Psychological Review. 50(4), 370396.
Nalla, M. K., & Kang, W. (2012). “Organizational Climate, Perceived Citizen Support, and Job Satisfaction of Police Officers: Findings from the Post-Grand Reform Era in South Korea B Satisfaction among South Korean Police Officers.” Asian Criminology. 7, 153171.
Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. (2002). Professional Training Series No. 5/Add.2, Human Rights and Law Enforcement: A Trainer’s Guide on Human Rights for the Police. New York and Geneva: United Nations Publication.
Siegle, J. Larry. (2010). Criminology: Theories, Patterns, and Typologies. Belmont, California: Wadsworth Thomson Learning.
Schmalleger, Frank. (1999). Criminal Justice Today. (fifth edition) New Jersey: Prentice Hall.
Sadik, Arin. (2015). Understanding the Factors Influencing Job Satisfaction of Crime Scene
Investigators in Turkey. A Dissertation Criminal Justice—Doctor of Philosophy.
Scheb, John M., & Scheb, John M. II. (1999). Criminal Law & Procedure. (Third edition) Belmont, California: Wadsworth Publishing com.
Weiner, Bryan, J. (2009). A Theory of Organizational Readiness for Change. Implementation Science. October, 4 : 67.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล