การพัฒนารูปแบบการจัดการให้ความช่วยเหลือ ประชาชนผู้อยู่ในภาวะยากลำบาก และกลุ่มเปราะบางทางสังคม ผ่านกลไกกองทุนประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
กองทุนประชารัฐเพื่อสังคม, ผู้อยู่ในภาวะยากลำบาก, กลุ่มเปราะบางทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการให้ความช่วยเหลือและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตประชาชนผู้อยู่ในภาวะยากลำบากและกลุ่มเปราะบางทางสังคมผ่านกลไกกองทุนประชารัฐเพื่อสังคมก่อนและหลังดำเนินโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัดเสริมสร้างสังคมสุขภาวะ จังหวัดปทุมธานีกลุ่มเป้าหมายคือคณะกรรมการบริหารกองทุนประชารัฐเพื่อสังคมรวม33 คน และกลุ่มประชาชนผู้อยู่ในภาวะยากลำบากและกลุ่มเปราะบางทางสังคม (กลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียง และกลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง) จำนวน 84 คน สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ทฤษฏีความน่าจะเป็น โดยเลือกแบบกำหนดโควต้าใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบวัดคุณภาพชีวิตเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน พ.ศ.2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และตรวจสอบสามเส้าจากผู้ให้ข้อมูลที่ต่างกัน (Data triangulation)
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงและกลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งดีขึ้นหลังดำเนินโครงการ โดยมีข้อเสนอด้านโครงสร้างคณะกรรมการควรเปิดโอกาสให้เครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับพื้นที่มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือประชาชน ด้านงบประมาณต้องวางระบบการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพทั้งภาครับ/ภาคจ่าย โดยจัดให้มีการระดมทุนหลากหลายรูปแบบด้านวัสดุ/อุปกรณ์ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนประชารัฐเพื่อสังคมเป็นกลไกหลักในการระดมทรัพยากรมาสนับสนุนการขับเคลื่อนกองทุนประชารัฐเพื่อสังคมในทุกระดับและด้านการบริหารจัดการกองทุน ต้องเพิ่มจำนวนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐและบทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนประชารัฐเพื่อสังคมให้มากขึ้น
ข้อเสนอแนะ ต้องปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการดำเนินงานจิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมให้มีผู้แทนจิตอาสาประชารัฐระดับพื้นที่ ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ จัดให้มีการระดมทุนและจัดทำข้อเสนอนโยบายเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนประชารัฐเพื่อสังคมในทุกระดับ
References
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
ระพีพรรณ คำหอและคณะ. (2543).การประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมการประเมินโครงการ
บริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
วิษณุ ธรรมลิขิตกุล.(2540). กระบวนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.), สืบค้นจาก https : //www.hfocus.org/content/2015/04/9734
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2545). โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่
ปี พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต, สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/test/whoqol
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. (2559). รายงานผลการดำเนินงานโครงการสำรวจสภาวะ
สุขภาพอนามัยของประชาชนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2559.ปทุมธานี: พีปริ้นติ้งกรุ๊ป.
World Bank. (2015).“Live Long and Prosper : Aging in East Asia and Pacific”.World Bank
East Asia and Pacific. Washington, DC. Regional Report.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล