การบริหารคนเก่ง: การประเมินความสำเร็จและความพึงพอใจ โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ก้อนทอง ผ่องศรี, สุภาพร โชติวาทิน, ไพริน บุญประเสริฐ งานทรัพยากรบุคคล สำนักงานคณบดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การบริหารคนเก่ง, งานทรัพยากรบุคคล, ความก้าวหน้าทางวิชาการ, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลสำเร็จและสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าโครงการ          “การบริหารคนเก่ง (Talent Management)” ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ระหว่างปี พ.ศ 2556 - 2560 สำหรับบุคลากรสายวิชาการรุ่นใหม่ที่มีอายุงานไม่เกิน 5 ปี โดยการสนับสนุนเงินพิเศษรายเดือน และทุนทางวิชาการ   ที่เกี่ยวข้อง งานทรัพยากรบุคคลของคณะฯ มีหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าตามเป้าประสงค์โครงการ ทุก 3 เดือน และประเมินความพึงพอใจโดยแบบสอบถามเมื่อจบโครงการ 4 ปี
ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์/นักวิจัยผู้มีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการครบทั้ง 20 ราย อายุเฉลี่ย (mean + SD) 36.5 + 3.3 ปี เป็นชาย 6 คน หญิง 14 คน ประกอบด้วยบุคลากรใหม่ 6 ราย (อายุงานน้อยกว่า 1 ปี) และบุคลากรเดิม 14 ราย (อายุงาน 1-5 ปี) หลังเข้าร่วมโครงการทุกรายมีผลงานตีพิมพ์เพิ่มขึ้น โดย18 ราย (ร้อยละ 90) ตีพิมพ์ในฐานะผู้นิพนธ์หลัก รวมมีผลงานตีพิมพ์เพิ่มขึ้น 23 เรื่อง (ค่ามัธยฐาน 7.50; 2.00 – 23.0 เรื่อง)  ด้านทุนวิจัย 19 ราย (ร้อยละ 95) มีทุนวิจัยในฐานะผู้วิจัยหลัก รวมมีทุนโครงการวิจัยทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น 27 โครงการ การเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. 03 หรือ ม.ม. 01) พบว่าทุกรายเสนอตามกำหนดระยะเวลาของโครงการ รวมเฉลี่ยคือ 29.10 + 10.92 เดือน และ 18 ราย (ร้อยละ 90) ได้รับผลการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการแล้ว การเปรียบเทียบระหว่างบุคลากรใหม่และบุคลากรเดิมไม่พบความแตกต่างของจำนวนผลงานตีพิมพ์ (p > 0.42) แต่กลุ่มบุคลากรเดิมส่งตีพิมพ์ได้เร็วกว่า (26.07 + 11.03 เดือน เปรียบเทียบกับ 36.17 + 6.49 เดือน, p = 0.03) การประเมินความพึงพอใจ (0-5 คะแนน) ทั้งหมด 10 ประเด็น ได้คะแนนรวม ที่ระดับปานกลางถึงดีมาก คือ 3.84 + 1.01 คะแนน โดยประเด็นการให้บริการของงานทรัพยากรบุคคล ได้คะแนนสูงสุด (4.35 + 0.59) บุคลากรทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจเหมือนกันต่อทั้ง 10 ประเด็นคำถาม (p > 0.06)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า โครงการ “การบริหารคนเก่ง” เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้บุคลากร     สายวิชาการรุ่นเยาว์มีความก้าวหน้าทางวิชาการตามระยะเวลาที่เหมาะสม และมีความพึงพอใจต่อโครงการ งานวิจัยนี้ได้ข้อเสนอแนะคือ (1) การบริหารคนเก่ง สามารถเป็นโครงการระยะสั้นแต่ควรให้การสนับสนุนแบบครบวงจร (2) ควรมีการติดตามวัดผลความสำเร็จระหว่างโครงการ (3) งานทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะสนับสนุนด้านการบริการโครงการ (4) การสำรวจความพึงพอใจที่กระชับและตรงประเด็นจะได้ความร่วมมือ   ที่ดี (5) บุคลากรรุ่นเยาว์มีความเหมาะสมที่จะเข้าโครงการ “คนเก่ง” เพื่อการพัฒนา และ (6) องค์กรควรมีการวางแผนระยะยาวเพื่อหาแหล่งทุน “การบริหารคนเก่ง” สำหรับบุคลากรรุ่นใหม่ทุกรุ่น

References

Edgar, S. (1977). Increasing Organizational Effectiveness through Better Human Resources Planning and Development. Sloan Management Review, 19 (1), 1-20.
Eric, A. (2003). Retaining the best of the best. AFP Exchange, 23(6), 48.
Global location. McKinsey & Company (2016). Retrieved from https://en.wikipedia.org/wiki/McKinsey_%26_Company [2018, May 2]
McKinsey & Company (2018). [Online]. Retrieved from https://www.mckinsey.com/about-us/overview/history-of-our-firm [2018, February 25].
Thorne, K., Pellant, A. (2017). The essential guide to managing talent. London Philadelphia: Replika Press Pvt Ltd.
คนึงนิจ อนุโรจน์. (2560). การรักษาคนเก่งให้คงอยู่คู่กับองค์กร How to keep and care talent people. วารสาร NDC SECURITY REVIEW, 8, 6.
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2018). สืบค้นจาก https://www.opdc.go.th/special.php?spc_id=4&content_id=120 [2018, May 2].
ธันย์ชนก ศรีสวัสดิ์ และ กมลพร สอนศรี. (2556). การศึกษาแนวทางปฏิบัติในการธำรงรักษาบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง: กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. วารสารวิทยบริการ, 47 (3), 47-59.
พัลลภา เอี่ยมสอาด. (2552). การสร้างระบบการบริหารจัดการคนเก่งของกรุงเทพมหานคร.คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Online]. สืบค้นจาก digi.library.tu.ac.th/thesis/po/1220/01TITLE-ILLUSTRATIONS.pdf
คนึงนิจ อนุโรจน์. (2560). การรักษาคนเก่งให้คงอยู่คู่กับองค์กร How to keep and care talent people. วารสาร NDC SECURITY REVIEW, 8, 22-23.
วาสิตา ฤทธิ์บำรุง (2547). Talent Management. ฅน, 25 (4), 34-40.
สุพรหม ทำจะดี. (2551). การบริหารจัดการคนเก่ง (Talent Management). สืบค้นจาก https://www.person.rtaf.mi.th/doc/content/Talent Management.pdf. [15 ก.พ.51]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31