การอ้างถึงวรรณคดี นิทานไทยในนิราศสมัยใหม่: การสืบสานและการสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • พรเทพ โตชยางกูร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การอ้างถึง, นิราศสมัยใหม่

บทคัดย่อ

การอ้างถึง (allusion) วรรณคดี นิทานไทย มีความสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างสรรค์วรรณกรรมไทยโดยเฉพาะวรรณกรรมประเภทนิราศมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน กวีใช้การอ้างถึงเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสื่อสารและสร้างอารมณ์สะเทือนใจ ขยายขอบเขตเนื้อหา ตลอดจนเชื่อมโยงประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านที่นอกจากจะทำให้งานเขียนมีความลึกซึ้งแล้ว ยังเป็นการแสดงภูมิปัญญาและความรอบรู้ของทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน ตลอดจนความแพร่หลายของวรรณคดีและนิทานเรื่องที่กวีอ้างถึงด้วย นิราศโบราณนิยมอ้างถึงเหตุการณ์พลัดพรากของตัวละครในวรรณคดี หรือนิทานเรื่องอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงความโหยหาความรักเและเน้นย้ำปริมาณความทุกข์โศกของกวีที่มีมากกว่าตัวละครเหล่านั้น

จากการศึกษานิราศสมัยใหม่จำนวน 4 เรื่อง คือ ลำนำภูกระดึง ของอังคาร กัลยาณพงศ์ หมายเหตุร่วมสมัย ของไพบูลย์ วงษ์เทศ กลอนกล่อมโลก ของไพวรินทร์ ขาวงาม และโคลงนิราศแม่เมาะ ของก้องภพ รื่นศิริ พบว่านิราศสมัยใหม่จะอ้างถึง ตัวละคร เหตุการณ์ ฉากและสารสำคัญ ตลอดจนสำนวนโวหารและความเปรียบของเรื่องอื่น ๆ ข้อน่าสังเกตคือ เนื้อหาและจุดประสงค์ของการอ้างถึงวรรณคดี นิทานไทยในนิราศสมัยใหม่จะแตกต่างและหลากหลายกว่านิราศโบราณ เพราะกวีจะอ้างถึงตัวบท เรื่องราวอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพลัดพรากของตัวละคร เพื่อขยายความและขอบเขตเนื้อหานิราศ ตลอดจนแบ่งปันประสบการณ์ร่วม สร้างอารมณ์ร่วม อันมีบทบาทสำคัญในการสื่อสาร แสดงทัศนะและวิพากษ์วิจารณ์สังคมของกวี กล่าวได้ว่านิราศสมัยใหม่ได้สืบสานกลวิธีการอ้างถึงนี้จากนิราศโบราณมาสร้างสรรค์ให้สอดรับกับจุดประสงค์และพันธกิจแห่งกวีนิพนธ์สมัยใหม่

References

กรมศิลปากร. กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (2539). วรรณกรรมสมัยสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มปท.
ก้องภพ รื่นศิริ. (2549). โคลงนิราศแม่เมาะ. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.
กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และ สุภาษิตสอนสตรี ของ สุนทรภู่. (2516). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเชื่อม เอมกมล ณ เมรุวัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 7 เมษายน 2516.
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ พระประวัติและพระนิพนธ์ร้อยกรอง. (2513). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์. (2512). ทวาทศมาส โคลงดั้น : พร้อมทั้งพระวิจารณ์ของ พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลาภภฤฒิยากร. กรุงเทพฯ : ศิริมิตรการพิมพ์.
ณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2547). นิราศสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์และไพวรินทร์ ขาวงาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตรัง, เจ้าพระยา. (2547). วรรณกรรมพระยาตรัง. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2542). ดาวลูกไก่ : นิทาน. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม 5. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรม ธนาคารไทยพาณิชย์.
ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง. (2547). กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
ประเสริฐ ณ นคร. (2546). โคลงนิราศหริภุญชัย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร สอบกับต้นฉบับเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
พรเทพ โตชยางกูร. (2553). การอ้างถึงในนิราศสมัยใหม่ :การสื่อสารและการสร้างอารมณ์สะเทือนใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิทยาลงกรณ, กรมหมื่น. (2513). นิราศนรินทร์คำโคลงและนิราศปลีกย่อย. ตรวจสอบชำระใหม่โดย พ.ณ.ประมวลมารค. พระนคร : แพร่พิทยา.
ไพบูลย์ วงษ์เทศ. (2539). หมายเหตุร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่.
ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2547). กลอนกล่อมโลก. กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์.
วงศาธิราชสนิท, กรมหลวง. (2465). โคลงนิราศพระประธมประโทน. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2516). ลำนำภูกระดึง. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร : ศึกษิตสยาม.
M.H. Abrams. (2005). A Glossary of Literary Terms. 8 th ed. Boston : Heinle & Heinle.
R.E. Allen. (1990). The Concise Oxford Dictionary of Current English. 8 th ed. New York : Oxford University Press.
William Irwin. (2001). What Is an Allusion ?. The Journal of Aesthetics and Art Criticism 59 pp. 287 – 297.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31