ยุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
คำสำคัญ:
การบริหาร, เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา, การพัฒนาที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามในการบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และนักวิจัยโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก และทุนอุดหนุนการวิจัยภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ประจำปีงบประมาณ 2557-2558 ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกประเด็น 2) กิจกรรม การบริหารด้านการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเครือข่าย ด้านการจัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกเครือข่าย ด้านการจัดระบบสื่อสารของเครือข่าย ด้านการจัดการให้เกิดการได้ประโยชน์ของสมาชิกทุกฝ่ายภายในเครือข่าย ด้านการบริหารจัดการเครือข่ายโดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงานและหลักความโปร่งใส ด้านการติดตามตรวจสอบและประเมินผลเครือข่ายมีสภาพเป็นจุดแข็งในการบริหารการวิจัยของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ในขณะที่กิจกรรมการบริหารด้านการจัดผังกลุ่มเครือข่าย ด้านการสร้างแผนงานเครือข่าย ด้านการสรรหาแหล่งทุนอื่นๆ สร้างแม่แบบสัญญาและขั้นตอนการจัดการด้านการเงินของเครือข่าย ด้านการจัดการให้เกิดพันธะสัญญาของสมาชิกเครือข่าย ด้านการสร้างการสนับสนุนด้านการปฏิบัติการของเครือข่าย ด้านการจัดวางโครงสร้างทรัพยากรบุคคลของเครือข่าย ด้านการวางแนวทางในการจัดการกับปัจจัยต่างๆซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานของทีมงานเครือข่าย ด้านการจัดระบบสารสนเทศของเครือข่าย ด้านการจัดระบบการเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่าย ด้านการกระตุ้นให้สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมเครือข่าย มีสภาพเป็นจุดอ่อนในการบริหาร 3) สภาพแวดล้อมภายนอกด้านการเมืองและนโยบายรัฐ และสภาพเศรษฐกิจเป็นภาวะคุกคามต่อการบริหารการวิจัยของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ในขณะที่สภาพสังคมและสภาพทางเทคโนโลยีเป็นโอกาสต่อการบริหารการวิจัยของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
References
สังคม และสิ่งแวดล้อม.พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคณะ. (2551). เครือข่ายวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร.สำนักงานบริหาร
และพัฒนาองค์ความรู้
ยุทธศาสตร์เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน. (2559). ยุทธศาสตร์เครือข่ายบริหารการวิจัย
ภาคเหนือตอนบน ปีงบประมาณ 2559 – 2563. Retrived 17 พฤษภาคม 2559, from
https://unrn.rac.oop.cmu.ac.th/main/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).(2558). คิดยกกำลังสอง: จะวิจัย “ขึ้นหิ้ง” หรือ
“ขึ้นห้าง”. โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์. Retrived 17 พฤษภาคม 2559, from
https://tdri.or.th/page/6B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.
2555-2559). Retrived 17 พฤษภาคม 2559, from
https://www1.nrct.go.th /downloads/ps/55/08/strategy8/01_nayo.pdf
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). นโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติ ฉบับที่ 6
Retrived 1 พฤษภาคม 2555, from https://www.agri.ubu.ac.th/news/pdf/01lessons 4000945.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.). (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ
ราชการไทย. Retrived 18 พฤษภาคม 2559, from
https://www.opdc.go.th/uploads/files/2556/yutasadtext.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554.) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). Retrived 15 สิงหาคม 2555, from
https://www.nesdb.go.th/Portals/O/news/plan/p11/plan11.pdf
สุวิมล ว่องวานิช. (2548).การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส.
UNCSTD. United Nations Commission for Science and Technology for Development
.(1999). Making North-South research networks work. United Nations, New York
and Geneva
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล