"เพราะกล้าม...คือตัวตน": กระบวนคิดต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้ในการสร้างกล้ามเนื้อ ของชายไทย กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การสร้างกล้ามเนื้อ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร่างกายที่พึงประสงค์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนความคิดต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้ในการสร้างกล้ามเนื้อของชายไทย โดยผลการศึกษาจะสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาแนวการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกชายสร้างกล้ามจำนวนทั้งหมด 15 คน โดยคัดเลือกให้ความหลากหลายทั้งบริบทชีวิต อายุ อาชีพ และการใช้บริการศูนย์ฟิตเนส ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยการจัดกลุ่มแบ่งประเภทและจัดหมวดหมู่ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การสร้างข้อสรุปของการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบร่างกายที่มีมัดกล้ามเนื้อชัดเจนยังเป็นกระแสหลักของรูปร่างที่พึงประสงค์ของชายไทย โดยการสร้างกล้ามเนื้อสามารถแยกได้เฉพาะส่วนของร่างกายตามต้นทุนและการให้ความสำคัญของเจ้าของร่างกาย และเมื่อให้พิจารณาร่างกายของตนเองผู้ให้ข้อมูลเห็นว่ารูปร่างของตนเองยังคงมีระยะห่างกับรูปร่างที่พึงประสงค์จึงจำเป็นต้องพัฒนาร่างกายอยู่อย่างต่อเนื่อง จนร่างกายมีลักษณะเป็นโครงการที่ต้องสร้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในการสร้างร่ายกายผลิตภัณฑ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อจะถูกนำมาใช้ในฐานะสิ่งจำเป็นของนักสร้างกล้าม และหากต้องการขยายร่างกายให้ใหญ่เกินขีดจำกัดธรรมชาติ (super body) กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อจะเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ เช่น ยาฉีด Testosterone Propionate เป็นต้น ช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อมีได้หลายช่องทาง เช่น กลุ่มคนสร้างกล้าม เทรนเนอร์ในศูนย์ฟิตเนส ร้านยา รวมถึงพื้นที่ไซเบอร์ เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงและมีใช้อย่างแพร่หลายโดยไม่ได้เป็นไปตามองค์ความรู้และความเข้าใจทางการแพทย์ ประโยชน์ของการสร้างกล้ามมีในหลายมิติ เช่น การดึงดูดความสนใจของบุคคลรอบข้างและคู่ความสัมพันธ์ก่อให้เกิดการมีตัวตน (Sense of Self) เป็นต้น ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในการสร้างกล้ามเนื้อในฐานะปัจจัยที่ 5 ของชายสร้างกล้าม จึงเป็นการใช้ภายใต้การตีความใหม่ตามชุดประสบการณ์ของตนเองและกลุ่มจึงนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านสุขภาพ
References
ญดาณัฎ โชติวิจิตร และ กันยาวีร์ เมฆีวราพันธุ์. (2560). กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ประเภทโปรตีนหางนมในเขตภาคกลางของไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 11(2): 49-61.
ธนกร ศิริสมุทร. (2557). สเตอรอยด์ที่มีฤทธิ์เสริมสร้างและมีฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย การนำ ไปใช้และความเป็นพิษ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 15(1): 1-11.
ประชาชาติธุรกิจ. (สืบคืนเมื่อ 9 ตุลาคม 2560). "ฟิตเนส" แรงไม่หยุด ใหญ่-เล็กแห่ชิงหมื่นล้าน. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นจาก http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1451579549
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2541). เผยร่าง พรางกาย ทดลองมองร่างกายในศาสนา ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และมานุษยวิทยา. หน้า 33-35. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ
วรกมล วิเศษศรี. (2560). ผู้ชายพันธุ์ใหม่: ความภาคภูมิใจกับการใช้ร่างกายเสมือนวัตถุทางเพศ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. 9(2): 24-33.
ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา. (สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2560). สารโด๊ป “กับมะเร็ง”. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นจาก http://www.dc.mahidol.ac.th/th/index.php/2013-04-01-04-20-50/2013-04-02-04-10-50/41-20
สำนักงานงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสำรวจพฤติกรรมเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายของประชากรและสุขภาพจิตปี 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานงานสถิติแห่งชาติ.
Consumer report. (cited 9 Oct 2017). Health risks of protein drinks. [internet]. Available from https://www.consumerreports.org/cro/2012/04/protein-drinks/index.html
Hakim, C. (2010). Erotic capital. European Sociological Review, 26(5): 499–518.
Simonart T. (2012). Acne and whey protein supplementation among bodybuilders. Dermatology. 225(3): 256-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล