รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผล ในการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ลภัสรดา ผลประทุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

รูปแบบการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ดำเนินการ 3 ระยะ 1) ศึกษาข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) พัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ และ 3) การประเมินรูปแบบโดยกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

  1. รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออก มี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยหลักการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา คือ การบริหารงานด้านวิชาการและการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน สถานศึกษา และชุมชน การส่งเสริมความมีวินัย คุณธรรม จริยธรรมสำหรับครู การปรับปรุงกรอบงบประมาณรายจ่ายที่สอดคล้องกับภารกิจงานที่จะต้องดำเนินงาน 2) ปัจจัยคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา คือ ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้บริหารเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล สามารถวางเป้าหมายเพื่ออนาคตของโรงเรียน 4) ปัจจัยประสิทธิผลในการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา คือ การจัดหาและพัฒนาครูผู้สอนให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน พัฒนาแหล่งความรู้สำหรับครูได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
  2. การประเมินรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยหลักการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ปัจจัยคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 4) ปัจจัยประสิทธิผลในการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ทุกปัจจัยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

References

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2560). เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://www.drkan chit.com/general_articles/ articles-24.html.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา: กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ธัญนันท์ แก้วเกิด. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนในฝันให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธวัชชัย อุ่ยพานิช. (2558). การพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(1), 156-168.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2555). การบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยและพัฒนาเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ์. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในมุมมองของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 1(2), 110-123.

Bass, B. M. (1999). Two decades of research and development in transformation leadership. European journal of work and organizational Psychology, 8(1), 3-9.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). The implications of transactional and transformational leadership for individual, team, and organizational development. Research in Organizational Change and Development, 4, 231-272.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory, Research and Practice (6th ed.). New York: McGraw-hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28