การปรับปรุงการบริหารสินค้าคงคลัง: กรณีศึกษาร้านดอนซากค้าวัสดุ

ผู้แต่ง

  • มนัสนันท์ เซี่ยงว่อง โครงการจัดตั้งภาควิชาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • ศิรวิชญ์ เพชรลาย โครงการจัดตั้งภาควิชาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • ณัฐพร ผูกพานิช โครงการจัดตั้งภาควิชาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • ดำรงค์ ถาวร โครงการจัดตั้งภาควิชาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการสินค้าคงคลัง, จุดสั่งซื้อซ้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลังในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงกระบวนการบริหารสินค้าคงคลัง พบว่าร้านดอนซากค้าวัสดุ มีปัญหาดังนี้คือ มีสินค้าคงคลังจำนวนมาก เนื่องจาก ไม่มีรอบการตรวจนับจำนวนสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลังไม่เป็นระบบ จากปัญหาดังกล่าวจึงได้ทำการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางการจัดการ แก้ไขปัญหาดังนี้ คือ การจำแนกประเภทของสินค้าคงคลัง การพยากรณ์ความต้องการสินค้า ลำดับถัดมา ทำการคำนวณหาจุดสั่งซื้อใหม่และจำลองแบบเปรียบเทียบกับวิธีการปัจจุบัน พบว่าปริมาณสินค้าคงคลังโดยเฉลี่ยลดลง และสามารถลดต้นทุน คิดเป็นมูลค่า 65,471 บาท และสร้างวิธีการตรวจนับสินค้าคงคลัง, ปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยเทคนิค 5 ส และแนวคิดไคเซ็น

References

กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI). (2561). สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รายเดือนสะสมปี 2560 (มกราคม-ธันวาคม). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://www.boi.go.th/upload /FDI2017edited_51756.pdf

กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.(2561). การจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท 10 พริ้นท์แอนด์แพ็ค จำกัด.

ดำรงค์ ถาวร. (2560). การบริหารพื้นที่หน้างานตามแนวทางวัฒนธรรมการผลิตแบบญี่ปุ่น. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจ ประยุกต์, 11(15), 2-3.

นิรัติศัย ทุมวงษา. (2561). วิจัยแนวโน้มธุรกิจก่อสร้างของธนาคารกรุงศรีฯ 2561. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/48157a5f-7ed0-4669-9e3e-4c00dd9132e4/IO_Construction_Materials_2017_TH.aspx

ปฐมพงษ์ หอมศรี และจักรพรรณ คงธนะ. (2557). การพัฒนาระบบการจัดการสินค้าคงคลัง: กรณีศึกษาบริษัทติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงาน SME. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 49-51.

พิภพ ลลิตาภรณ์. (2556). วางแผนและควบคุมการผลิต (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ซีเอ็ด.

มนิสรา บารมีชัย. (2560). “เอกสารฝึกอบรมโครงการสร้างที่ปรึกษาโลจิสติกส์ หลักสูตรเฉพาะทางด้านสินค้าคงคลัง”. กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก. (2561). แนวโน้มธุรกิจโมเดิร์นเทรดวัสดุก่อสร้างปี2561. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561, จาก https://www.gsb.or.th/getattachment/ 266364dc-223a-41f3-a144-b1f587f1d2e5/IN_build_61_detail.aspx

อัตถพิชญ์ พิเศษพิชญา.(2559). การบริหารจัดการวัสดุคงคลังของคลินิกบริการทันตกรรมพิเศษ คณะทันตแพทย์ศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะวิศวกรรมศาสตร์,สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ.

อุดม ตั้งล้ำเลิศ. (2551). การพยากรณ์ยอดขาย และการลดต้นทุนสินค้าคงคลังในอุตสาหกรรมไม้พื้นสำเร็จรูปลามิเนต. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์.

J. R. Tony Arnold, Stephen N. Chapman, Lloyd M. Clive. (2008). Introduction to Materials Management (6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Ronald H. Ballou.(2004). Business Logistics. Supply Chain Management (3th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28