รูปแบบการอภิบาลในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน

ผู้แต่ง

  • พลัฐวัษ วงษ์พิริยชัย วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชมภูนุช หุ่นนาค วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ศิริพร แย้มนิล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การอภิบาล, การจัดการ, ทรัพยากรป่าชายเลน

บทคัดย่อ

ทฤษฎีการอภิบาล เป็นทฤษฎีที่อยู่ในกระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์ในยุคปัจจุบันตามแนวคิดของนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิโคลัส เฮนรี่ ซึ่งนับเป็นทฤษฎีที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกี่ยวกับมุมมองในการบริหารงานภาครัฐ จากเดิมที่เชื่อว่า ภาครัฐเป็นผู้กำกับ สั่งการ รวมศูนย์อำนาจในการบริหารเพียงลำพัง เปลี่ยนเป็นมีเครือข่าย สถาบันที่หลากหลายเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมมากขึ้น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชน และประชาชน เรียกได้ว่า พลเมืองตื่นตัว ตื่นรู้ และลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งรวมถึงการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนด้วย

ภายใต้บริบทของสภาพทรัพยากรป่าชายเลนและสภาพสังคมไทย สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการอภิบาลออกมาเป็นรูปแบบการอภิบาลในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน ครอบคลุม 3 ด้าน คือ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน และด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งประกอบด้วย 6 มิติ ได้แก่ 1) การอภิบาลแบบมีส่วนร่วม 2) การอภิบาลแบบเครือข่าย 3) การอภิบาลแบบชุมชน 4) การอภิบาลแบบจัดการตัวเอง 5) การอภิบาลแบบปรึกษาหารือ และ
6) การอภิบาลแบบปรับตัว

References

ปฐม มณีโรจน์. (2554). สาธารณคดี : ภาครัฐในมุมมองกฎหมาย การเมือง และการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สุภาพรการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).

สมบูรณ์ ศิริประชัย. (2552). ธรรมาภิบาลภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์: นัยต่อประเทศไทย. รัฐศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 30(2) (พฤษภาคม - สิงหาคม), หน้า 1-112.

อัมพร ธำรงลักษณ์. (2553). “การบริหารปกครองสาธารณะ : การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21.” ในการบริหารปกครองสาธารณะ: การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21. หน้า 1-34. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bekkers, V., Dijkstra, G., Edwards, A., and Fenger, M. (2007). Governance and the Democratic Deficit:Assessing the Democratic Legitimacy of Governance Practices. Hampshire: Ashgate Publishing Limited.

Emerson, K., Tina N., and Stephen, B. (2012). An Integrative Framework for Collaborative Governance. Public Administration Research Theory. 22(1), 1-29.

Hood, C. (1991). A Public Management for all Seasons?. Public Administration. 69 (Spring 1991), 3-19.

Levi-Faur, D. (2012). “From “Big Government” To “Big Governance”?” In Oxford Handbook of Governance, pp. 3-18. Levi-Faur, D., ed. New York: Oxford University Press.

Meuleman, L. (2008). Public Management and the Metagovernance of Hierachy Network and Markets:The Feasibility of Designing Style Combinations. A. Spring Company: Physicn-Verlag.

Rhodes, R.A.W. (1996). The New Governance : Governing without Government. Political Studies, XLIV, 652-667.

____ . (1997). Understanding Governance, Policy Networks, Governance, Reflexivity and Accountability. Berkshire: Open University Press.

Roiseland, A. (2011). Understanding Local Governance:Institutional Forms of Collaboration. Public Administration, 89(3), 879-893.

Rosenau, J., and Czempiel, E.O. (1992). Governance without government: order and change in world politics. Cambridge University Press.

Papadopoulos, Y. (2003). “Co-operative Forms of Governance: Problems of Democratic Accountability in Complex Environments.” European Journal of Political Research,
42, 473-501.

Peter, B. G. (1996). Future of Governing: Four Emerging Model. University Press of Kansas.

Weber, M. (2004). “Bureaucracy.” In Shafritz, Jay M. & Hyde, Albert C. Classics of Public Administration. Wadsworth: Cengage Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28