ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ธารินี จริยาปยุกต์เลิศ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

โรงงานไฟฟ้า , พลังงานขยะชุมชน, การยอมรับ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชในระยะรัศมี 3 กิโลเมตร จำนวน 398 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับที่ 0.967 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ

ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยในระดับบุคคล คือ ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน และด้านความรู้ความเข้าใจของประชาชน 2) ปัจจัยสังคม คือ ด้านความสามารถในการสื่อสารของผู้นำชุมชนและด้านความสามารถในการจูงใจของผู้นำชุมชน ทั้งสองปัจจัยนี้ส่งผลต่อระดับการยอมรับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 3) ปัจจัยผลกระทบ คือ ด้านความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงในชุมชน ส่งผลต่อระดับการยอมรับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1. ความขัดแย้งและการประท้วงของประชาชนและชุมชนที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนของจังหวัดนครศรีธรรมราช มิได้เกิดจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า ระดับการยอมรับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ในระดับปานกลาง จึงมีทั้งประชาชนที่ยอมรับและไม่ยอมรับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน 2. ปัจจัยการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้นำเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระดับการยอมรับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนของประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านผู้นำชุมชนเพื่อเป็นแนวทางให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2564, จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2556

เดอะแสตนดาร์ด. (9 กรกฎาคม 2562). สถานการณ์ขยะโลกกับประเทศที่ผลิตขยะมากที่สุดในโลกขณะนี้. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก https://thestandard.co/garbage-situation/

ท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). ข้อมูลโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช.

นรมน นันทมนตรี. (2545). ยุทธวิธีการสื่อสารของผู้นำชุมชนในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนในการลดปริมาณขยะ กรณีศึกษาชุมชนสุขสันต์ 26. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พจนีย์ ฟักทอง. (2558). ความคิดเห็นของชุมชนต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจจากการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรศิริ บ่างแสงนุรัตน์. (2548). การยอมรับของประชาชนในการแยกขยะตามประเภทของความเป็นเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิทท์ คูภิรมย์. (2557). การเมืองในนโยบายจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองหนองคาย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภานุพงศ์ ชุมมะ. (2562). บทบาทของภาคประชาสังคมต่อโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ในอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ปี พ.ศ. 2557-2561. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริรัตน์ สังข์สุวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาโรงไฟฟ้าชุมชนจากขยะเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9 (3), 118-132.

สมคิด กิตติอุดมพร. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อนโยบายการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สรยุทธ รักษาศรี. (2557). การจัดการความรู้ของชุมชนเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล สหโคเจนกรีนและหมู่บ้านในตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักข่าวอินโฟเควส. (19 มกราคม 2564). มท.จี้ 14 จังหวัดเดินหน้าโรงไฟฟ้าขยะชุมชนหลังส่วนใหญ่ติดปัญหาชุมชนคัดค้าน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564, จาก https://www.infoquest.co.th/2021/60481

Yin, R K., et al. (1977). Tinkering with the System: Technological Innovations in State and Local Services. Santa Monica, California: The Rand Corporation.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-14