คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

                                                                                                                                                                                                       

                                    

                                     

                                    

1. นโยบายการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

          วารสารบัณฑิตแสงโคมคำเป็นวารสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการ การศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่บทความต่าง ๆ ในสาขาวิชาที่วิทยาเขตพะเยาเปิดสอน คือ (1) พระพุทธศาสนาและปรัชญา (2) การสอนสังคมศึกษา (3) การสอนภาษาไทย และ (4) รัฐศาสตร์ 2) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ตลอดถึงการบูรณาการสหวิทยาการต่าง ๆ ของคณาจารย์ บุคลากร นิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่น อันเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม 3) เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และสร้างความร่วมมือในการบูรณาการการเรียนการสอนกับการเผยแพร่ผลงาน องค์ความรู้ของคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

          ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแบบ Double-blind อย่างน้อย 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน)

          ทั้งนี้ ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด

          ทัศนะและความคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตแสงโคมคำ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความและไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

2. ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

          2.1 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ และมีความมุ่งหมายชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัยมีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น การตั้งสมมติฐานหรือการกำหนดปัญหาที่สมเหตุผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การตีความและสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์

          2.2 บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป

          2.3 บทความปริทัศน์ (Review Article) งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the Art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้างและทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป

          2.4 บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) บทความที่วิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาสาระให้เห็นคุณค่าของหนังสือ โดยบทวิจารณ์หนังสือจะต้องกล่าวถึงรายละเอียดของหนังสืออันประกอบด้วยชื่อผู้เขียน จำนวนหน้า ปีที่พิมพ์ ครั้งที่พิมพ์และสถานที่พิมพ์ให้ชัดเจน

 3. รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ

          3.1 ต้นฉบับบทความ ต้องมีความยาว 8-15 หน้ากระดาษ A4 (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ขนาด 16 pt. ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า โดยระบุหมายเลขหน้าไว้ด้านบนขวา ด้วยตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ขนาด 14 pt. ห่างจากขอบกระดาษด้านบนและขอบด้านขวา 0.5 นิ้ว การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวธรรมดา ขนาด 14 pt. เช่น ตาราง 1 หรือ Table 1 และ ภาพ 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

          3.2 ชื่อเรื่อง ต้องมีภาษาไทย (TH Sarabun PSK ขนาด 20 pt. ตัวหนา) และภาษาอังกฤษ (TH Sarabun PSK ขนาด 18 pt. ตัวหนา) พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง

          3.3 ชื่อผู้เขียน หน่วยงานสังกัดและอีเมล โดยชื่อผู้เขียนต้องระบุภาษาไทยและภาษาอังกฤษตัวหนา ด้วยอักษรแบบ TH Sarabun PSK ขนาด 16 pt. ส่วนหน่วยงานสังกัดระบุภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตัวธรรมดาด้วยอักษรแบบ TH Sarabun PSK ขนาด 14 pt. อีเมลของผู้ประพันธ์อันดับแรก (First Author, E-mail) และอีเมลของผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author, E-mail) สำหรับติดต่อ ให้ใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ขนาด 14 pt. ทั้งหมดให้จัดชิดขอบด้านขวา ในกรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 ราย ให้ใส่ตัวเลขเป็นตัวยก ท้ายชื่อผู้เขียนและชื่อหน่วยงานสังกัดให้ตรงกัน และในกรณีที่บทความเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หรือหลักสูตรการศึกษา โปรดระบุชื่อหลักสูตรและสถาบันการศึกษาให้ชัดเจน

          กรณีผู้เขียนสังกัดเดียวกัน ไม่ต้องใส่เลขยกที่หน่วยงานสังกัด เช่น

                   * First Author หมายถึง ผู้ประพันธ์อันดับแรก ผู้เขียนต้นฉบับ ผู้มีชื่อคนแรกในผลงาน ผู้รับผิดชอบผลงาน ผู้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย รวมถึงนักศึกษา/นิสิตผู้เป็นเจ้าของงานวิจัย

                    ** Corresponding Author หมายถึง ผู้ประพันธ์บรรณกิจ ผู้ติดต่อประสานงานในการตีพิมพ์บทความและให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลงาน ผู้ร่วมศึกษาข้อมูล คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ปรับปรุงผลงาน

          กรณีผู้เขียนสังกัดต่างกัน ให้ใส่เลขยกแต่ละคนให้ชัดเจน เช่น             

          กรณีผู้ประพันธ์อันดับแรก (First Author) และ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) คนเดียวกัน ให้ใส่อีเมลเดียว เช่น

          หมายเหตุ: หากบทความเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาให้ใช้คำว่า “หลักสูตร... สาขาวิชา... คณะ...มหาวิทยาลัย..” ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แทนหน่วยงานสังกัดที่ระบุข้างต้น เช่น

          3.4 บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทยไม่เกิน 350 คำ

          3.5 คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 3-5 คำ

          3.6 การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุดให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย พิมพ์ตัวหนา TH Sarabun PSK ขนาด 18 pt. หัวข้อรองเว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 0.5 นิ้ว (เริ่มพิมพ์ตัวที่ 6) พิมพ์ตัวหนา TH Sarabun PSK ขนาด 16 pt. และหัวข้อย่อยใช้ตัวธรรมดา TH Sarabun PSK ขนาด 16 pt. ทั้งหัวข้อรองและหัวข้อย่อยควรพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ควรเว้นระยะพิมพ์ระหว่างบรรทัด แบบ Before 6 pt.

          3.7 การใช้ตัวเลข คำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) สำหรับการวงเล็บภาษาอังกฤษ อักษรตัวแรกของทุกคำควรเป็นตัวใหญ่ เช่น Student-centered Learning

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับ ดังนี้ ***ผู้เขียนรวมทั้งผู้ร่วมไม่เกิน 5 ท่าน

  1. บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์การวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัยและองค์ความรู้จากการวิจัย โดยสรุปให้สั้นและกระชับความ
  2. บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัย กรอบแนวคิด
  3. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objectives) ระบุวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับข้อ
  4. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ระบุแผนการวิจัย กลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
  5. ผลการวิจัย (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิก็ได้
  6. อภิปรายผล (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด พร้อมระบุองค์ความรู้จากการวิจัย
  7. สรุป (Conclusion) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้และประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไป
  8. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) (ถ้ามี)
  9. เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหาบทความเท่านั้น โดยใช้การอ้างอิงระบบ APA

บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับ ดังนี้ ***ผู้เขียนรวมทั้งผู้ร่วมไม่เกิน 3 ท่าน

  1. บทคัดย่อ (Abstract)
  2. บทนำ (Introduction)
  3. เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับและระบุองค์ความรู้ใหม่
  4. สรุป (Conclusion)
  5. เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA 

บทความปริทัศน์ (Review Article) ให้เรียงลำดับ ดังนี้  

  1. บทคัดย่อ (Abstract)
  2. บทนำ (Introduction)
  3. เนื้อเรื่อง (Content)
  4. บทวิจารณ์ (Discussion)
  5. สรุป (Conclusion)
  6. เอกสารอ้างอิง (References)

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ให้เรียงลำดับ ดังนี้

  1. บทนำ (Introduction)
  2. เนื้อหา (Content)
  3. บทวิจารณ์ (Discussion)
  4. สรุป (Conclusion)
  5. เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA 

4. ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ

           เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดก่อนส่งต้นฉบับ ผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้องของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

          4.1 การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

          รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) หรือระบบนาม–ปี โดยใช้วงเล็บเปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้แต่ง ปีที่จัดพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เอกสารที่นำมาอ้างอิงในเนื้อหาบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้

อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย

           1.พระไตรปิฎกและอรรถกถา ให้อ้างชื่อคัมภีร์ เล่ม ข้อ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น

            (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 15 ข้อ 16: 282-283)

            (พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 16: 256-320)

           2. ผู้แต่ง 1 ราย (ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ วิทยานิพนธ์ สัมภาษณ์ สื่อออนไลน์ เป็นต้น) ให้อ้างชื่อผู้แต่ง แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง (ถ้ามี) เช่น

           (พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, 2554: 44)

           3. ผู้แต่ง 2 ราย ให้อ้างชื่อของผู้แต่งทั้งสอง เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น

           (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2553: 44)

หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการ ให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิง เช่น

           (พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2548: 8; พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, 2554: 44)

          4. ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 ราย ให้อ้างชื่อของผู้แต่งคนแรก เว้นวรรคหนึ่งครั้ง เพิ่มคำว่า “และคณะ” เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น

           (พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ, 2548: 55)

ทั้งนี้ หากเป็นการอ้างอิงด้วยการสรุปความหรือเอกสารที่ไม่มีเลขหน้า ไม่ต้องใส่เลขหน้า เช่น

           (พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, 2554)

           (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2553)

           (พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ, 2548)

           (พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2548; พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, 2554)

อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ

          1. ถ้ามีผู้แต่ง 1 ราย ให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น

           (Keown, 2003: 4)

          2. ถ้ามีผู้แต่ง 2 ราย ให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง 2 ราย เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น

           (Hersey & Blanchard, 2000: 3)

และให้ใช้เครื่องหมาย อัฒภาค (;) คั่นกลางระหว่างเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 เอกสาร เช่น

           (Keown, 2003: 4; Hersey & Blanchard, 2000: 3)

          3. ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 ราย ให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรก ตามด้วย et al. ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น

           (Kaiser, et al., 2008: 55)

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์

          กรณีเป็นบริษัทหรือสำนักพิมพ์ให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง

  1. บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด ให้ใช้ “21 เซ็นจูรี่"
  2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ใช้ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
  3. กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

 4.2 เอกสารอ้างอิง

              (1) พระไตรปิฎก อรรถกถา

             ตัวอย่าง

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitaka Vol. 1. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Press.

              (2) หนังสือ

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ,/ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

              ตัวอย่าง

กรณีผู้แต่ง 1 ราย (หากเป็นภาคภาษาอังกฤษให้เขียนนามสกุลไว้หน้า ตามด้วยชื่อ) เช่น

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2548). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้และการจัดการ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พิสิษฐ์ไทย ออฟเซต.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.

 

กรณีผู้แต่ง 2 ราย (ให้ใช้คำว่า “และ” หรือ “and” เป็นคำเชื่อม) เช่น

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล.(2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม Participatory Democracy.กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

Strauss, A. and Corbin, J. (1998). Basics of Qualitative Research: Grounded Theory, Techniques and Procedures for Developing. London: California Sage Publications. 

 

กรณีผู้แต่งมากกว่า 2 ราย (ให้ใช้คำว่า “และคณะ” หรือ “et al.” ต่อท้ายชื่อผู้แต่งคนแรก) เช่น

สุขุม นวลสกุล และคณะ. (2550). การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Snyder, C. R., et al. (2011). Positive Psychology: The Scientific and Practical Explorations of Human Strengths, 2nd ed. Los Angeles: SAGE Publications Inc. 

 

กรณีมีทั้งผู้แต่งและผู้แปลหรือบรรณาธิการ (ให้เขียนชื่อผู้แต่งไว้หน้า ชื่อผู้แปลหรือบรรณาธิการเขียนไว้หลัง ชื่อเรื่อง ตามด้วยวงเล็บว่า (ผู้แปล) หรือ (บรรณาธิการ) สำหรับภาษาไทย และ (tran.) หรือ (ed.) สำหรับภาษาอังกฤษกรณี 1 คน หรือ (trans.) หรือ (eds.) กรณี 2 คนขึ้นไป) เช่น

เจมส์ แอล เครย์ตัน. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ. (ผู้แปล). ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

Hylton, P. (2001). Blackwell Companions to Philosophy: A Companion to Analytic Philosophy. Martinich, A. P. and Sosa, D. (eds.). Oxford: Blackwell Publishers Ltd.

Lyotard, J. F. (1984). The Postmodern Condition: A Report on Knowledge. Bennington, G. and Massumi, B. (trans.). Minneapolis: The University of Minnesota Press.

Wittgenstein, L. (1967). Philosophical Investigations, 3rd ed. Anscombe, G. E. M. (tran.). Oxford: Basil Blackwell Ltd.  

 

              (3) บทความในหนังสือ

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)./ชื่อเรื่อง/เลขหน้าแรก-สุดท้ายที่ตีพิมพ์./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

              ตัวอย่าง

ชาญณรงค์ บุญหนุน. (2562). ข้อถกเถียงเรื่องพระพุทธศาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญ. ใน ปรีดี หงส์สตัน และอัมพร หมาดเด็น. ศาสนากับความรุนแรง, หน้า 400-459. กรุงเทพมหานคร: Illuminations Editions.

Bergstein, M. (2000). Tubular Function. In Richard, E. B., et al. (eds.).  Nelson Textbook of Paediatrics, 16th ed. (p. 596). Philadelphia: Saunders.

 

              (4) บทความจากวารสาร

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์. (บทความที่มี DOI ให้ใส่ DOI ไว้ตอนท้าย)

              ตัวอย่าง

ประยงค์ จันทร์แดง. (2563). พระภิกษุสามเณรควรเรียนวิชาทางโลกหรือไม่. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 5 (1), 123-137.

Piaget, J. (1972). Intellectual Evolution for Adolescence to Adulthood. Human Development. 15, 1-12. DOI:10.1159/000271225

 

              (5) บทความในสารานุกรม

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อสารานุกรม,/เล่มที่อ้าง, หน้าเลขหน้าที่อ้าง./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

              ตัวอย่าง

สนิท อาจพันธ์. (2537). หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ, หน้า 274-275. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

Sturgeon, T. (1995). Science Fiction. In The Encyclopaedia Americana (Vol. 24, pp. 390-392). Danbury, CT: Grolier Press.

            

              (6) หนังสือพิมพ์

ผู้แต่ง./(วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า. (กรณีภาษาอังกฤษที่มีหลายหน้า ให้ใช้คำว่า pp. แทน p.)

              ตัวอย่าง

สุชาติ เผือกสกนธ์. (9 มิถุนายน 2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้จัดการรายวัน, น.13.

Chetchotiros, N. and Yonpiam, Ch. (16 May 2019). PPRP Faces Major Coalition Sang. Bangkok Post, p. 1.

            

             (7) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายงานการวิจัย

ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/หรือการค้นคว้าแบบอิสระ/ชื่อมหาวิทยาลัย.

              ตัวอย่าง

สัมฤทธิ์ ต่อสติ. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของสถานบริการสาธารณสุขเขตเมือง กรณีศึกษาศูนย์: แพทย์ชุมชนเมืองพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

Tyrone, R. (2007). Effects of Upland Timber Harvest and Road Construction on Headwater Stream Fish Assemblages in a Southeastern Forest. (Master’s Thesis). Texas State University. San Marcos, Texas.

Lim, H. L. (2018). Contemporary Buddhism: Introduction into Thich Nhat Hanh's Teaching. (Doctoral Dissertation). Mahidol University. Nakhon Pathom.

           

              (8) สัมภาษณ์

ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์./(ปีที่สัมภาษณ์)./ตำแหน่ง./สัมภาษณ์./วันเดือนที่สัมภาษณ์.

              ตัวอย่าง

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺ.โต). (2558). อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.      สัมภาษณ์. 18 เมษายน.

Interviewee A. (2019). Student at Faculty of Buddhism, MCU. Interview. 1 March.

 

              (9) สื่อออนไลน์

ผู้แต่ง./(วันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี,/จาก แหล่งที่อยู่ไฟล์ (URL)

              ตัวอย่าง

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ). (1 พฤษภาคม 2555). การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษาอาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ.  สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2556, จาก http://www.mcu.ac.th /site/artidecontent_desc.php?artide_id=1304&articlegroup_id=274

Doyle, M. W. (22 June 2004). Liberal Internationalism: Peace, War and Democracy. Retrieved September 2, 2013, from http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/themes/peace /doyle/index.html

 

                (10) การสัมมนา/ประชุมวิชาการ

ผู้เขียน./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./การสัมมนาหรือประชุม./หน่วยงานที่จัด./วันเดือนที่จัด./หน้าที่ตีพิมพ์.

              ตัวอย่าง

พระครูวรวรรณวิฑูรย์ และคณะ. (2561). เปรียบเทียบหลักอุเบกขาธรรมในพระพุทธศาสนาและหวู่-เว่ยในเต๋า. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 เรื่อง “การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (The Research on Buddhism for Sustainable Development). วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วันที่ 20 มีนาคม. หน้า 119-129. 

          การให้เรียงลำดับเอกสารอ้างอิงให้ปฏิบัติ ดังนี้ 1) เรียงตามลำดับพยัญชนะ ก-ฮ หากซ้ำอักษรให้เรียงตามสระตัว 2) หากซ้ำชื่อผู้แต่งให้เรียงตามลำดับ พ.ศ. โดยเรียง พ.ศ. ที่น้อยสุดไว้หน้า ส่วนเอกสารอ้างอิงที่ซ้ำซึ่งเรียงไว้หลัง ให้เขียนเส้นปรุแทน โดยมีความยาวเท่าย่อหน้า 3) เรียงลำดับเอกสารภาคภาษาไทยก่อน จากนั้นจึงเป็นภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งเรียงตามอักษร A-Z หากซ้ำอักษรให้เรียงตามสระ และหากชื่อผู้แต่งที่ซ้ำกันให้เรียงตามลำดับ ค.ศ. จากน้อยไปหามากเหมือนภาคภาษาไทย

           ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง

โกนิฏฐ์ ศรีทอง. (2558). การบูรณาการภูมิปัญญาพระพุทธศาสนากับการเสริมสร้างความสมดุลของระบบนิเวศวิทยาชุมชน. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 

จรูญ รัตนกาล. (2556). การประยุกต์หลักพุทธธรรมและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการอยู่ร่วมกันของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย. กองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 

พงศ์ศานต์ พิทักษ์มหาเกตุ. (2538). ชาวบ้านกับช่องทางประกอบธุรกิจท่องเที่ยว แนวคิดในการจัดตั้งสหกรณ์บริการนำเที่ยวแนวอนุรักษ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ปกเกล้า.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). โลกทัศน์ชาวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์, พิมพ์ครั้งที่ 6.  กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ). (1 พฤษภาคม 2555). การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษาอาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2556, จาก http://www.mcu.ac.th/ site/artidecontent_desc.php?artide_id=1304& articlegroup_id=274

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500 เล่ม 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.

Bergstein, M. (2000). Tubular Function. In Richard, E. B., et al. (eds.).  Nelson Textbook of Paediatrics, 16th ed. (p. 596). Philadelphia: Saunders.

Boo, E. (1990). Ecotourism: The Potentials and Pitfalls, Vol. 1 and 2. Washington, D.C.: World Wildlife Fund.

Boo, E. (1991). Making Ecotourism Sustainable: Recommendations for Planning, Development, and Management. In Nature Tourism Managing for the Environment. Washington, D.C.: Island Press.

Hylton, P. (2001). Blackwell Companions to Philosophy: A Companion to Analytic Philosophy. Martinich, A. P. and Sosa, D. (eds.). Oxford: Blackwell Publishers Ltd.

Keown, D. (1995). Are There “Human Right” in Buddhism. London: University of London.

Kiarash, A. (2007). Human Dignity in Islamic Bioethics. The Iranian Journal of Allergy.  6 (5), 25-28. 

Snyder, C. R., et al. (2011). Positive Psychology: The Scientific and Practical Explorations of Human Strengths, 2nd ed. Los Angeles: SAGE Publications Inc. 

Strauss, A. and Corbin, J. (1998). Basics of Qualitative Research: Grounded Theory, Techniques and Procedures for Developing. London: California Sage Publications. 

5. การส่งบทความต้นฉบับ

          5.1 การเตรียมเอกสารต้นฉบับประกอบด้วย    

                1. ต้นฉบับที่เป็นไฟล์ *.doc ของ Microsoft Word โปรดดูรายละเอียดที่ระบุในรูปแบบข้างต้น

                2. กรอกแบบฟอร์มเสนอผลงานเพื่อตีพิมพ์ (ใบสมัคร) ให้ถูกต้องและชัดเจน

          5.2 การจัดส่งต้นฉบับ

                   ส่งทางระบบวารสารออนไลน์ “วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ” ตามลิงก์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/about/submissions หากผู้เขียนยังไม่มีบัญชีของระบบ ThaiJO ต้องลงทะเบียน (Register) ในระบบวารสารก่อน จากนั้นเข้าสู่ระบบ (Login) เพื่อส่งบทความต้นฉบับและแนบไฟล์แบบฟอร์มเสนอผลงานเพื่อตีพิมพ์มาให้เรียบร้อย (หรือกรอกใบสมัครทาง Google Form)  

6. การพิจารณาบทความเบื้องต้นของกองบรรณาธิการ

          บทความต้นฉบับต้องจัดในรูปแบบไฟล์ *.doc ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 8-15 หน้า (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้นใน 2 ด้าน คือ 1) ความถูกต้องตามรูปแบบของวารสาร 2) ขอบข่ายเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้น จะส่งกลับไปให้ผู้เขียนแก้ไข ถ้าผ่าน จะเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลอย่างไร จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบต่อไป

7. สิทธิของกองบรรณาธิการ

          ในกรณีกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองบทความมีความเห็นว่า ควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยยึดข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก และขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ในกรณีที่บทความไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และรูปแบบของวารสารบัณฑิตแสงโคมคำ หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หากบทความใดได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยเสียงข้างมากให้ตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์จากวารสาร (เฉพาะผู้แจ้งความประสงค์เท่านั้น)

8. อัตราค่าตีพิมพ์บทความ

          กำหนดค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ บทความละ 6,000 บาท

9. การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

          หลังจากผู้เขียนส่งบทความต้นฉบับและกรอกแบบฟอร์มเสนอผลงานเพื่อตีพิมพ์ (ใบสมัคร) ในระบบวารสารออนไลน์แล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ตามรายละเอียด ดังนี้

          ชื่อธนาคาร: ออมสิน สาขามหาวิทยาลัยพะเยา

         ชื่อบัญชี: วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ มจร.พะเยา

         บัญชีเลขที่: 020320117631

           จากนั้น ให้ผู้เขียนแจ้งผลการโอนพร้อมหลักฐานการโอน โดยระบุชื่อผู้โอนและชื่อบทความ มาที่ Email: [email protected] (หากประสงค์จะให้ออกใบเสร็จในนามหน่วยงานหรือองค์กรใด กรุณาระบุให้ชัดเจน)

          ***ทั้งนี้ ทางวารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียม ในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจากค่าธรรมเนียมได้นำไปเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว

           อนึ่ง ในกรณีบทความใด ถูกปฏิเสธโดยเสียงข้างมากของผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณากลั่นกรอง (2 ใน 3) วารสารจะยึดเสียงข้างมากของผู้ทรงคุณวุฒิในการปฏิเสธหรือยุติการดำเนินการตีพิมพ์บทความนั้นทันที ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้ 1) ผู้เขียนยืนยันที่จะตีพิมพ์บทความนั้นอีกครั้ง 2) ผู้เขียนได้ปรับแก้บทความตามผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเสียงข้างมากที่ปฏิเสธการตีพิมพ์นั้นแล้ว และ 3) กองบรรณาธิการเห็นสมควรให้บทความที่ปรับแก้ใหม่นั้นส่งประเมินอีกรอบได้ จากนั้น วารสารจึงจะดำเนินการต่อในขั้นตอนต่อไป โดยผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนของค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม (2 ท่าน) ตามที่วารสารกำหนดค่าตอบแทนไว้