การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยวิธีโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)

ผู้แต่ง

  • ชญานิศ เนียมสุวรรณ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • อนงค์ศิริ วิชาลัย หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ, แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์โดยวิธีโฟนิกส์, แผนการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์โดยวิธีโฟนิกส์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านคำศัพท์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยวิธีโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์โดยวิธีโฟนิกส์ โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คนอยู่ในระดับเหมาะสมมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.09-4.58 และมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 40.35/64.50 มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยวิธีโฟนิกส์ คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 8.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 12.09 และหลังเรียนค่าเฉลี่ย 12.90 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 3.09 ซึ่งคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การเรียนด้วยวิธีโฟนิกส์ช่วยให้ผู้เรียนออกเสียงภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและเสริมทักษะการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าการเรียนโฟนิกส์จะช้ากว่าการเรียนแบบท่องจำ แต่ผู้เรียนสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วกว่านักเรียนทั่วไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา แข็งแรง. (2559). หลักการสร้างแบบฝึกหัด, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ฉวีวรรณ วัฒนานุกิจ. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนโฟนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้เรื่องสระเสียงสั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 7-19.

ณัฐพล สุริยมณฑล. (2561). การสอนแบบโฟนิกส์เพื่อส่งเสริมการออกเสียงและความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 8 (2), 117-124.

ดาวนิน ไทยศิลา. (2562). การพัฒนากิจกรรมการฝึกออกเสียงแบบโฟนิกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นคำและท้ายคำภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีร์วรา ปลาตะเพียนทอง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์และความคงทนโดยการใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับสมุดภาพคำศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปริญญา ผสมทรัพย์. (2561). การพัฒนาการอ่านสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยการฝึกประสมคำด้วยเสียงสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. รายงานการวิจัย. โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปุณยวัจน์ วรรณคาม. (2564). ผลการใช้วิธีสอนโฟนิกส์ในการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2547). ภาพรวมของการศึกษาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาริสา พันเปรม. (2561). การประเมินสื่อการสอนโฟนิกส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองแขม. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศจีมาจ ณ วิเชียร. (2561). การออกแบบวิธีดำเนินการวิจัย. โครงการ Research Zone: Phase 137 “งานประชุมปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยประเมินผล โครงการเลี้ยงดูลูกตามคำสอนพ่อ”. อาคารศูนย์จัดการความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัย สำนักงานการวิจัยหางชาติ. วันที่ 26 ตุลาคม. หน้า 1-61.

ศุภิสรา กุมาทะ. (2562). ผลการใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางที่มีผลต่อการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 7 (2), 303-313.

อินทิรา ศรีประสิทธิ์. (2552). ทฤษฎีใหม่ในการสอนภาษาอังกฤษ สำหรับคนไทยที่รวมการวางพื้นฐานด้วย Phonemic Awareness & Phonics ตามด้วยการสอนอ่านเป็นคำ (Whole Language) เพื่อแก้ปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษบกพร่อง (dyslexia) ของคนไทย. ใน เอกสารการอบรมครูในสภาพแวดล้อมที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้, หน้า 1-14. กรุงเทพมหานคร: UNESCO-APEID.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21