กลยุทธ์การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเขาแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

ผู้แต่ง

  • มัลวิกา นิรันราย หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กาญจนา บุญส่ง หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ไพรัช มณีโชติ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การขับเคลื่อน, การคิดวิเคราะห์, คณิตศาสตร์, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาแดง 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาแดง 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาแดง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาแดง ครูสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 4 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือการใช้กลยุทธ์การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาแดงมี 4 กลยุทธ์ ประกอบด้วยกลยุทธ์การมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม การเสริมพลังอำนาจและการบูรณาการ 2) กลยุทธ์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาแดง ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของมาร์ซาโน 3) ผลการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนพบว่า นักเรียนมีการคิดวิเคราะห์หลังเรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยมีร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 35.90 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ โรงเรียนสามารถใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม การเสริมพลังอำนาจและการบูรณาการมาขับเคลื่อนและพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนตามคู่มือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นิฏฐิตา แจ่มกระจ่าง. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากวรรณกรรมเยาวชน เรื่องชีวิตมหัศจรรย์ของออกัสต์โดยใช้ทฤษฎีของมาร์ซาโนร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 12 (34), 83-91.

บุญยง ทับทอง และกาญจนา บุญส่ง. (2560). กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (1), 1976-1993.

ปิยะพร พิมพิศาล. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (21 เมษายน 2564). ประกาศผลสอบ O-NET. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564, จาก http://www.niets.or.th/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิจัย มข. 16 (1), 74-75.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุปาณี วังกานนท์. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาการคิดวิเคราะห์ตามหลักการของมาร์ซาโน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุวรรณรัตน์ ใจเจริญ. (2550). การนําเสนอกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นของโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

โสภิดา มะลิซ้อน. (2561). การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดของมาร์ซาโน (Marzano) วิชาประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อนันต์ ม่วงอุมิงค์. (2560). กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมุสลิมโรงเรียนพัฒนศาสน์วิทยาท่าแร้ง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

อเนก พ. อนุกุลบุตร. (2554). การคิดวิเคราะห์. วารสารวงการครู. 2 (8), 62-63.

Marzano, R. J. (2001). Designing a New Taxonomy of Educational Objectives. Thousand Oaks, California: Corwin Press.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-12