ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สนธยา ละอองนวล หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สมเดช มุงเมือง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผล, การพัฒนาบุคลากร, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาบุคลากรและกระบวนการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาบุคลากร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรและกระบวนการพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการพัฒนาบุคลากร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง 162 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิจากบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล 8 แห่ง ในอำเภอบางเลน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.19; S.D.=0.45) โดยด้านขนาดและความซับซ้อนขององค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การสนับสนุนของผู้บริหาร ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลการปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ของการบริหารทรัพยากรบุคคล หลักการเรียนรู้ ความมุ่งมั่นของฝ่ายทรัพยากรบุคคล และความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ ส่วนกระบวนการพัฒนาบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.11; S.D.=0.47) โดยการดำเนินการพัฒนาบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การประเมินความต้องการพัฒนาบุคลากร การออกแบบแผนงาน/โครงการ/หลักสูตรการพัฒนาบุคลากร การติดตามและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร 2) ประสิทธิผลของการพัฒนาบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.24; S.D.=0.37) โดยด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ก้าวหน้า และการเพิ่มความรู้ ทักษะ นำวิธีการและเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน และ 3) ปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาบุคลากรด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และกระบวนการพัฒนาบุคลากรด้านการดำเนินการพัฒนาบุคลากร ส่งผลต่อประสิทธิผลของการพัฒนาบุคลากร สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 45.0 (R2=0.450) และมีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=0.589) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การพัฒนาบุคลากรควรยึดแนวทางให้บุคลากรเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และควรปรับพฤติกรรมและทัศนคติของบุคลากรให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.–อปท.) ประจำปี พ.ศ. 2564 Local Performance Assessment (LPA) Annual Report 2021 สาระสำคัญจากผลการประเมิน LPA ประจำปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น.

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (3 มีนาคม 2552). ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1314&read=true&count=t

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นิดา ประพฤติธรรม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. วารสารบริหารธุรกิจ. 10 (2), 58-80.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษา มศว มหาสารคาม. 3 (1), 22-25.

ปนัสดา โตรัตน์ และธนายุ ภู่วิทยาธร. (2564). การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการงานคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชุมพร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศิริบังอร ต่อวิเศษ และไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กรณีศึกษา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สกล บุญสิน. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบการคมนาคมขนส่งทางรางของไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 15 (2), 79-110.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อาภาพร ธุรี. (2537). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากร กรมส่งเสริมสหกรณ์. นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Agwu, M. O. and Ogiriki, T. (2014). Human Resource Development and Organizational Performance in the Nigeria Liquefied Natural Gas Company Limited, Bonny. Journal of Management and Sustainability. 4 (4), 134-146. DOI:10.5539/jms.v4n4p134

Bateman, T. S., and Snell, S. A. (2015). Management Leading & Collaborating in a Competitive World, 12thed. New York: McGraw-Hill Education.

Harrison, R. and Kessels, J. W. M. (2004). Human Resource Development in a Knowledge Economy. An Organizational View. New York: Palgrave Macmillan.

Hinelo, R., et al. (2021). The Influence of Human Resource Development Based on Local Wisdom on the Performance of Village Apparatus in Batuda'a Beach, Biluhu, and Bilato Districts of Gorontalo. International Journal of Innovative Science and Research Technology. 6 (3), 139-145.

Hinkle, D. E., et al. (2003). Applied Statistics for the Behavioral Sciences, 5th ed. Boston: Houghton Mifflin.

Kareem, M. A. (2019). The Impact of Human Resource Development on Organizational Effectiveness: An Empirical Study. Management Dynamics in the Knowledge Economy. 7 (1), 29-50. DOI:10.25019/ MDKE/7.1.02

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607–610.

Mathis, R. L., et al. (2014). Human Recourse Management: Essential Perspectives, 7th ed. Boston, MA: Cengage Learning.

Mondy, R. W. and Noe, R. M. (1990). Human Recourse Management, 4th ed. Massachusetts: Allyn and Bacon.

Nadler, L. (1984). The Handbook of Human Resource Development. New York: Wiley.

Okoye, P.V.C. and Ezejiofor, R. A. (2013). The Effect of Human Resources Development on Organizational Productivity. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences. 3 (10), 250-268. DOI:10.6007/IJARBSS/v3-i10/295

Olaosebikan, T. W. (24 February 2020). Impact of Human Resource Development on Employees Performance. Retrieved November 24, 2022, from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3526441

Otoo, F. N. K. and Mishra, M. (2018). Influence of Human Resource Development (HRD) Practices on Hotel Industry’s Performance: The Role of Employee Competencies. European Journal of Training and Development. 42 (7/8), 435-454. DOI:10.1108/EJTD-12-2017-0113

Otoo, F. N. K., et al. (2019). Impact of Human Resource Development (HRD) Practices on Pharmaceutical Industry’s Performance: The Mediating Role of Employee Performance. European Journal of Training and Development. 43, (1/2), 188-210. DOI:10.1108/EJTD-09-2018-0096

Potnuru, R. K. G. and Sahoo, C. K. (2016). HRD Interventions, Employee Competencies and Organizational Effectiveness: An Empirical Study. European Journal of Training and Development. 40 (5), 345-365. DOI:10.1108/EJTD-02-2016-0008

Rumman, A. A., et al. (2020). The Impact of Human Resource Development Practices on Employee Engagement and Performance in Jordanian Family Restaurants. Problems and Perspectives in Management. 18 (1), 130-140. DOI:10.21511/ppm. 18(1).2020.12

Surbhi, S. (26 July 2018). Difference between Efficiency and Effectiveness. Retrieved July 25, 2021, from https://keydifferences.com/difference-between-efficiency-and-effectiveness.html

Werner, J. M. and DeSimone, R. L. (2012). Human Resource Development, 6th ed. Mason, Ohio: South-Western, Cengage Learning.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30