บูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด-19

ผู้แต่ง

  • สิริพร ครองชีพ หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระสุทธิสารเมธี หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บูรณาการ , การดูแลคุณภาพ, คุณภาพชีวิต, พุทธปรัชญาเถรวาท, โควิด-19

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาชีวิตและการดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมกับการดูแลคุณภาพชีวิตในยุคโควิด-19 3) เพื่อบูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 และ 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เรื่องการบูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด-19 โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา กลุ่มสายงานด้านการดูแลสุขภาพ ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบในสถานการณ์โควิด แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาจากนั้นนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า ประเด็นที่ 1 สภาพปัญหาชีวิตในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้พบสภาพปัญหาชีวิต 3 ด้าน คือ 1) ด้านจิตใจ มีความเครียด วิตกกังวลเพิ่มขึ้น 2) ด้านสังคม มีความลำบากในการดำเนินชีวิตตามประเพณีและวิถีปฏิบัติต่าง ๆ และ 3) ด้านเศรษฐกิจ กลุ่มประชากรตกงาน ขาดรายได้ ประเด็นที่ 2 หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมกับการที่จะนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตประกอบด้วย 1) พรหมวิหารธรรม 4 หลักธรรมประจำใจอันประเสริฐ 2) สังคหวัตถุ 4 หลักการสงเคราะห์กันในสังคม 3) ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 หลักการสร้างประโยชน์ในปัจจุบัน ประเด็นที่ 3 การบูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 พบว่า ปัญหาด้านจิตใจได้นำหลักพรหมวิหาร 4 เข้ามาบูรณาการดูแลคุณภาพชีวิต ปัญหาด้านสังคมได้นำหลักสังคหวัตถุ 4 เข้ามาบูรณาการดูแลคุณภาพชีวิต ปัญหาด้านเศรษฐกิจได้นำหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 เข้ามาบูรณาการดูแลคุณภาพชีวิต ประเด็นที่ 4 องค์ความรู้ที่ได้เรียกว่า MSE Strong Model ประกอบด้วย M (Mentally Strong) มีความเข้มแข็งทางจิตใจ S (Socially Strong) มีความเข้มแข็งทางสังคม และ E (Economically Strong) มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ไซค์.

กฤตสุชิน พลเสน และคณะ. (2563). การอยู่ร่วมกันในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตามแนวพุทธปรัชญา. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

กฤษฎา บุญชัย และคณะ. (2563). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. รายงานการวิจัย. มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. (2563). แผนการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

จักรวาล สุขไมตรี. (2562). การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารราชพฤกษ์. 17 (2), 105-111.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 4 (1), 33-48.

ธัญญพัทธ์ ภูริพินิศนันท์. (2565). การประยุกต์ใช้หลักทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์กับการดำเนินชีวิตในยุคโควิด-19. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11 (5), A74-A83.

พระครูปลัดสิวริศร์ สุทฺธิมโน (ด่านประสิทธิ์) และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมบริโภคนิยม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (4), 144-155.

พระอดิศักดิ์ ปิยสีโล (ดีล้วน). (2556). ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวพุทธด้วยหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มนัสนันท์ ประภัสสรพิทยา. (2564). การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 เพื่อดูแลสภาวะจิตใจในช่วงวิกฤตโควิด 19. วารสารนวัตกรรมการพัฒนาจิตและปัญญา. 1 (1), 24-33.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 20, 21, 22, 23. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทยา เอื้องเพ็ชร์. (2554). คุณลักษณะตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศภัสส์ โกมล. (2563). รายงานผลการศึกษามาตรการด้านการบริหารจัดการองค์กรในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19. รายงานการวิจัย. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12. (2563). รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2563. สงขลา: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

สุดา วงศ์สวัสดิ์. (2563). นวัตกรรมวัคซีนใจในชุมชนสู้ภัย COVID-19 ปี 2563 ถอดรหัสคุณค่าในชุมชน. นนทบุรี: กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.

สุพัตรา รุ่งรัตน์ และคณะ. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ และคณะ. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. รายงานการวิจัย. สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31