ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานตามนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าวในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน, นโยบายการบริหารจัดการ, แรงงานต่างด้าวบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว ปี พ.ศ. 2562-2563 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 ราย คัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ซึ่งทำงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร ยามาเน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของนโยบาย ได้แก่ 1) แผนองค์การ ซึ่งประกอบด้วยนโยบาย ความเพียงพอของทรัพยากร ความเป็นดิจิทัล การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน การประสานงานและความร่วมมือ การประชาสัมพันธ์ ผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกฎหมายและระเบียบ 2) แผนการให้บริการ ได้แก่ กระบวนการให้บริการ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การทำให้ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการนำนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ เพื่อให้แรงงานต่างด้าวสามารถเข้าถึงกระบวนการต่ออายุการทำงานและได้รับอนุญาตทำงานถูกต้องตามกฎหมาย
References
กรมการจัดหางาน. (2563). จำนวนแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อ (Name List) เพื่อขอต่อใบอนุญาตทำงานแยกตามประเภทกิจการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการจัดหางาน.
จรัมพร โห้ลำยอง และสุรีย์พร พันพึ่ง. (2559). แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย: สิ่งที่คนไทยต้องรู้. ใน พัทยาเรือนแก้ว และคณะ. (บรรณาธิการ). ไทยต่างด้าวท้าวต่างแดน: สังคมวิทยาของชีวิตข้ามพรมแดน.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรนันท์ มณีน้อย และวิภวานี เผือกบัวขาว. (2560). การประเมินผลนโยบายแรงงานต่างด้าวของสำนักงานจัดหางานจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 7 (2), 69-76.
ธีรยุทธ คงขาว และพรรณวดี ขำจริง. (2562). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ของผู้ประกอบการในจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วันที่ 27-28 มีนาคม. หน้า 1-9.
นภสร เจริญโพธิ์. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: การให้บริการแรงงานต่างด้าวแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 22 (1), 230-243.
ผกาวดี เมืองมูล. (2562). การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ: ศึกษาบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 11 (1), 253-269.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และคณะ. (2562). แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (2), 190-229.
ภัทรวุธ เภอแสละ. (2552). แนวทางการพัฒนากระบวนการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ภูวกร โตสิงห์ขร. (2560). การจัดการระบบแรงงานต่างด้าวโดยวิธีการตรวจสัญชาติ การตรวจลงตรา และการพิจารณาอนุญาตการทำงานของแรงงานสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาในลักษณะบริการแบบเบ็ดเสร็จ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
ศักดินา สนธิศักดิ์โยธิน. (2550). การตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2550. กรุงเทพมหานคร: กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2552). นโยบายสาธารณะ, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สวรรค์นิมิต เตชาวงศ์ และคณะ. (2561). การจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 11 (2), 293-310.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2558). ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2557-มีนาคม 2558). กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2563). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักรประจำเดือนธันวาคม 2563. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว.
สุทธิจิตต์ จินตยานนท์ และคณะ. (2540). รายงานการติดตามผลการจดทะเบียนแรงงานต่างชาติจากเมียนม่าร์ กัมพูชา และลาวที่ลักลอบเข้าเมือง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Van Horn, C. E. and Van Meter, D. S. (1976). The Implementation of Intergovernmental Policy. In Jones, C. O. and Thomas, R. D. (eds.). Public Policy Making in a Federal System. California: Sage Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.