การพัฒนานวัตกรรมสื่อภาษาอังกฤษในรูปแบบแอปพลิเคชันนำเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • รณวีร์ พาผล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

นวัตกรรมสื่อภาษาอังกฤษ, แอปพลิเคชันนำเที่ยว, การท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นคู่มือแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในอำเภอเชียงดาว 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อภาษาอังกฤษในรูปแบบของแอปพลิเคชันคิวอาร์โค้ดนำเที่ยว ในอำเภอเชียงดาว และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อคู่มือข้อมูลและนวัตกรรมสื่อภาษาอังกฤษในรูปแบบของแอปพลิเคชันนำเที่ยวคิวอาร์โค้ดในอำเภอเชียงดาว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ชุมชนจากแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 17 แหล่ง จำนวน 85 คน (แหล่งละ 5 คน) และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ 1) ตัวแทนชุมชน จำนวน 765 คน จากแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 17 แหล่ง (แหล่งละ 45 คน) และ 2) นักท่องเที่ยว จำนวน 45 คน ทั้งหมดใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความพึงพอใจต่อคู่มือข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และแบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรมสื่อภาษาอังกฤษในรูปแบบแอปพลิเคชันนำเที่ยวคิวอาร์โค้ด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดเนื้อหาในประเด็นต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่ และข้อมูลเชิงปริมาณโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนรายงานด้วยการพรรณนาประกอบตัวอย่าง

ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นคู่มือแหล่งท่องเที่ยวชุมชนพบว่า แหล่งท่องเที่ยวชุมชนแต่ละแหล่งมีข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลประวัติความเป็นมา ความสำคัญ ความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชุมชน ตำนานเรื่องเล่าที่แฝงไปด้วยความเชื่อของคนในท้องถิ่น จุดเด่น กิจกรรมที่น่าสนใจ และข้อควรรู้เฉพาะสำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่บ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละแหล่ง 2) ความพึงพอใจต่อคู่มือข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในอำเภอเชียงดาวอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ได้แก่ บุคลากรในชุมชน (gif.latex?\bar{X}=4.66; S.D.=0.28) นักท่องเที่ยว (gif.latex?\bar{X}=4.26; S.D.=0.52) และชุมชนผู้ให้ข้อมูล (gif.latex?\bar{X}=4.67; S.D.=0.28) และ 3) การประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรมสื่อภาษาอังกฤษในรูปแบบของแอปพลิเคชันนำเที่ยวคิวอาร์โค้ดเชื่อมโยงกับสื่อคลิปวีดิทัศน์พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก บุคลากรในชุมชนมีความพึงพอใจ (gif.latex?\bar{X}=4.37; S.D.=0.50) นักท่องเที่ยว (gif.latex?\bar{X}=4.33; S.D.=0.67) และชุมชนผู้ให้ข้อมูล (gif.latex?\bar{X}=4.22; S.D.=0.43) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด องค์ความรู้จากการวิจัย คือ แหล่งท่องเที่ยวชุมชนสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและนำเสนอผ่านนวัตกรรมสื่อภาษาอังกฤษในรูปแบบแอปพลิเคชันนำเที่ยวคิวอาร์โค้ดที่มีคำบรรยายด้วยภาษาที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ เข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว และทันสมัย ใช้ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชน และดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนได้อย่างยั่งยืน

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์ และจิราพร ขุนศรี. (2560). การวิเคราะห์อัตลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 12 (2), 121-143.

ขวัญจุฑา คำบรรลือ. (2558). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.). (2561). แผนพัฒนาภาคเหนือในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-25654). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จังหวัดเชียงใหม่. (2561). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม MICE จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2561-2564). เชียงใหม่: จังหวัดเชียงใหม่.

ชุติกาญจน์ กันทะอู. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน: กรณีศึกษาบ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพเกล้า ยิ้มสถาน. (2553). อิทธิพลสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. ปัญหาพิเศษปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นุชนาฏ เชียงชัย. (2558). การใช้อัตลักษณ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บริษัท เอฟฟินิตี้ จำกัด. (2559). การวิจัยและพัฒนาโครงการทิศทางการพัฒนาท่องเที่ยวของประเทศไทยระยะ 10 ปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ประไพพิมพ์ พานิชสมัย. (2560). การออกแบบอัตลักษณ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปีติ ชิดตระการ. (2552). การใช้ภาพ 3 มิติ และภาพเคลื่อนไหวในการสร้างสื่อการสอนเชิงรุก. การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พจนา สวนศรี และคณะ. (2557). การพัฒนาการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับภูมิภาคอาเซียนสู่ความเป็นสากล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เมธชนัน สุขประเสริฐ. (2558). ปัจจัยจากการใช้สื่อออนไลน์ยูทูบที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศไทย: กรณีศึกษาบิวตี้บล๊อกเกอร์. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (13 ตุลาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-70.

ยุพาภรณ์ พิริยศิลป์. (2557). ความต้องการทางด้านภาษาอังกฤษของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 9 (2), 16-30.

รัตนา วงศ์คำสิงห์. (2561). การวิจัยและพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ สถาบันพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ. ชัยภูมิ: สถาบันพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ.

วนัชพร ไกยราช. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับสวนพฤกษศาสตร์ วิทยาเกษตรกรรม และเทคโนโลยีพิจิตร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สรธารา ทองต่อ. (2556). การตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมคิวอาร์โค้ด: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12