การวิเคราะห์ความเชื่อของคนพะเยาจากนิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้าน จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • พิงพร ศรีแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระปลัดพงศ์ศิริ พุทฺธิวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, นิทานพื้นบ้าน, ตำนานพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษานิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้าน จังหวัดพะเยา 2) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อของคนพะเยาจากนิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้านจังหวัดพะเยา 3) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับความเชื่อของคนพะเยาจากนิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้านจังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บรรพชิต 2 รูป และคฤหัสถ์ 12 คน ในพื้นที่อำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ อำเภอจุน อำเภอปง และอำเภอภูกามยาว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง และ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลนิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้าน จังหวัดพะเยา ประกอบด้วยนิทานพื้นบ้านจำนวน 14 เรื่อง ตำนานพื้นบ้าน จำนวน 8 เรื่อง จากอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ อำเภอจุน อำเภอปงและอำเภอภูกามยาว 2. ความเชื่อของคนพะเยาจากนิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้านประกอบด้วยความเชื่อเกี่ยวกับสถานที่ ตำนานพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ความเชื่อเกี่ยวกับความศรัทธาความเคารพต่อกษัตริย์วีรบุรุษ ความเชื่อเกี่ยวกับคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่สอนให้คนทำความดี ความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ที่แฝงคติเตือนใจ ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่โพสพ และความเชื่อเกี่ยวกับหลักในการใช้ชีวิตในการครองคู่ 3. การพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากความเชื่อของคนพะเยาจากนิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้านจังหวัดพะเยา เป็นความเชื่อที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตทั้งต่อตนเองและสังคม เพราะความเชื่อเหล่านี้สังคมได้สั่งสมหรือปฏิบัติไปในแนวเดียวกัน กระทั่งกลายเป็นวิถีชีวิตในสังคมและแรงผลักดันให้เกิดบรรทัดฐานทางสังคมต่อไป องค์ความรู้จากการวิจัยมี 3 ด้าน คือ 1. ด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้านแก่ชาวจังหวัดพะเยา 2. ด้านความเชื่อในพระพุทธศาสนาที่สอนให้ทำดีที่ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นฐานและตำนานพื้นบ้าน 3. ด้านการพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้านของชาวจังหวัดพะเยาในสถานศึกษา

References

กลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้. (2526). ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2518). คติชนวิทยา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เกริก ยุ้นพันธ์. (2547). การเล่านิทาน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ขวัญชนก นัยจรัญ. (2557). การวิเคราะห์ภาพสะท้อนค่านิยมของไทยจากนิทานพื้นบ้าน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ชวน เพชรแก้ว. (2528). ลักษณะของวรรณกรรมภาคใต้. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการวรรณกรรมภาคใต้จากหนังสือบุด. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สงขลา.

ชานนท์ ไชยทองดี. (2561). ภูมิปัญญา อัตลักษณ์เรื่องเล่าในวรรณกรรมเมืองศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ดารินทร อินทับทิม และสิงห์คำ รักป่า. (2563). วรรณกรรมตำนานพระธาตุจังหวัดพะเยาในฐานะเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในการสร้างนวัตกรรมนิทานในจังหวัดพะเยา. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (1), 397-412.

ประคอง นิมมานเหมินทร์. (2528). ประเพณีท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: แสงแดด.

ประยูร ทรงศิลป์. (2542). การศึกษาวิเคราะห์ตำนานและนิทานพื้นบ้านเขมรภาคที่ 1-9. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏธนบุรี.

พระมหาศรีบรรดร ถิรธมฺโม และคณะ. (2545). พระธาตุสำคัญเมืองพะเยา. พะเยา: โครงการสืบสานวัฒนธรรมภูกามยาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิทยา ว่องกุล. (2540). พลานุภาพแห่งวรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า.

ยศ สันตสมบัติ. (2540). มนุษย์กับวัฒนธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชนี กาวิ. (2558). นิทาน ตำนาน ภูมินามและประวัติศาสตร์: บทบาทหน้าที่ คุณค่าและอัตลักษณ์ของชุมชนท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิเชียร เกษประทุม. (2550). นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: พัฒนศึกษา.

สุจิตต์ วงศ์เทศ. (2538). ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

สุนันท์ อุดมเวช. (2524). คติชนวิทยา. เพชรบุรี: วิทยาลัยครูเพชรบุรี.

เสฐียร พันธรังษี. (2513). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-22