ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชนต้นแบบบ้านป่าตึงงาม ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วารุณี โพธาสินธุ์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • จารุณี ปัญควณิช คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สุรัสวดี อินทร์ชัย คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • พรพิมล จันทร์เพ็ญ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • รัฐนันท์ วุฒิเดช คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพึ่งพาตนเอง, ชุมชนต้นแบบ, ตัวชี้วัดความเข้มแข็ง, ปัจจัยชุมชนเข้มแข็ง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและเพื่อศึกษาตัวชี้วัดและสังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชนบ้านป่าตึงงาม เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน กลุ่มกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้าน จำนวน 24 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่มย่อยและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชน

ผลการวิจัย พบว่า ด้านบริบทของชุมชน คือ (1) ชนเผ่ามีความเป็นผู้นำสูง (2) ความร่วมมือทำกิจกรรมทุกด้าน (3) มีส่วนร่วมกำหนดข้อบังคับหมู่บ้าน (4) เชื่อฟังผู้นำและร่วมกันแก้ไขปัญหาในชุมชนได้ (5) ได้รับความช่วยเหลือหน่วยงานภายนอก (6) ความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ (7) ประสานงานกับอุทยานแห่งชาติศรีลานนา (8) ปฏิบัติตามคำสอนบรรพบุรุษอย่างเข้มแข็ง (9) ดำเนินชีวิตยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนด้านตัวชี้วัดและปัจจัยที่มีผลต่อชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเอง คือ (1) ผู้นำชุมชนเป็นแรงขับทางบวกให้ทุกคนในหมู่บ้านรักแผ่นดินเกิด (2) ชุมชนยอมรับบทบาทของคณะกรรมการชุมชน (3) มีกระบวนการบริหารงานในชุมชนที่ชัดเจน (4) มีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองสูง (5) ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากเทศบาล (6) ชุมชนมีลักษณะพื้นที่ทางกายภาพอยู่ในพื้นที่ป่า (7) เครือข่ายมีความร่วมมือกัน (8) การยึดคำสอนบรรพบุรุษอย่างเข้มแข็ง (9) การยึดหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า ชุมชนที่เข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชน ประกอบด้วย 1) ชนเผ่ามีภาวะผู้นำ 2) ชุมชนเชื่อมั่นในผู้นำ 3) การมีส่วนร่วมในการบริหาร 4) การร่วมคิด ร่วมทำงาน ร่วมแก้ปัญหา 5) การขอความช่วยเหลือจะมีเฉพาะในส่วนที่มีความจำเป็นเท่านั้น 6) การมีกฎระเบียบของหมู่บ้าน 7) การยึดมั่นในคำสอนบรรพบุรุษ ไม่ขายที่ดินให้กับคนนอก 8) ความสัมพันธ์แบบเครือญาติ 9) การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

References

ปรียาภา เมืองนก. (2557). กระบวนการบริหารจัดการชุมชนเมืองที่นำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนหมู่บ้านจัดสรร เขตปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พยอม วงศ์สารศรี และคณะ. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยภายใต้แผนการวิจัยการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในพื้นที่ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พิริยา เสนะรัตน์ (2555). กระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างมีส่วนร่วมกรณีศึกษาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ภาวิดา เจริญจินดารัตน์ และดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์. (2561). งานวิจัยท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 36 (2), 152-161.

รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วุฒิชัย สายบุญจวง. (2561). ชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชน กรณีศึกษาบ้านปลายคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8 (1), 119-129.

สรวุฒิ จันทะสิม. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นกรณีศึกษาเทศบาลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ้มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

องอาจ เดชา. (10 กันยายน 2555). เรียนรู้วิถีชุมชนป่าตึงงาม ผ่านมติ ครม.การฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง (ตอน 1). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563, จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/news_detail.php?id=1346

Castillo, I., et al. (2018). Relationships between Personal Values and Leadership Behaviors in Basketball Coaches. Frontiers in Psychology. 9, 1661. DOI: org/10.3389/fpsyg.2018.01661

Kaplan, B. and Manchester, J. (2018). The Power of Vulnerability: How to Create a Team of Leaders by Shifting Inward. Austin, TX: Greenleaf Book Group Press.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23