การผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลําปาง
  • พระมหาสุพัตร์ วชิราวุโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • เบญญาดา กระจ่างแจ้ง มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
  • ปาณิสรา เทพรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลําปาง

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ , เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์, เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการผลิตผลิตภัณฑ์ของพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาการผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง 3) เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปฏิบัติการ โดยมีเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่มย่อย ชุดปฏิบัติการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและกระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์

ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิดการผลิตผลิตภัณฑ์ของพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ (1) การผลิตผลิตภัณฑ์พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยจากการจัดการของชุมชน เอกชนและหน่วยงานภาครัฐ (2) การผลิตผลิตภัณฑ์พิพิธภัณฑ์ชุมชนในต่างประเทศ (3) การวิเคราะห์การผลิตผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ โดยในประเทศไทยเน้นการผลิตเครื่องใช้ เครื่องแต่งกายและสินค้าตามความเชื่อ ส่วนต่างประเทศมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์แปลกใหม่และคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ 2) การผลิตผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์มีกระบวนการ ได้แก่ (1) กระบวนการการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยการจัดเวทีชุมชน นำเสนอรูปแบบ ระดมความคิดออกแบบ ตั้งคณะทำงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์และปฏิบัติการ (2) วิธีการการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยนำต้นแบบมาขยายผล อบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ ทดลองจำหน่ายและสรุปบทเรียน (3) รูปแบบการผลิตผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ต้นน้ำ-สำรวจบริบทชุมชน กลางน้ำ-ลงมือปฏิบัติการเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ และปลายน้ำ-การจำหน่าย 3) แนวทางการเสริมสร้างการผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ (1) การผลิตแบบมีส่วนร่วม (2) ผลิตภัณฑ์แสดงอัตลักษณ์ชุมชน (3) ผลิตภัณฑ์สร้างรายได้แก่ชุมชน องค์ความรู้จากการวิจัย พบว่า การผลิตผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ความรับผิดชอบ ผลิตภัณฑ์พิพิธภัณฑ์และเครือข่ายการตลาด ซึ่งจะทำให้ชุมชนเกิดรายได้และรักษาอัตลักษณ์ของทุนทางวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืน

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). เศรษฐกิจพอเพียงกับภาคการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กฤษฎา ตัสมา. (2560). การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 12 (24), 70-84.

ชลธิชา โรจนแสง. (2563). การจัดทำศูนย์วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในฐานะศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนบ้านเพียนาม ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 14 (3), 121-136.

ทศพร แก้วขวัญไกร. (2562). เศรษฐกิจชุมชน: การสะสมทุนชุมชนเพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์ปัจจุบัน. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1), 69-83.

นรุตม์ โล้กูลประกิจ. (2559). พิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น: สื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 35 (ฉบับพิเศษ), 97-116.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืด แม่สมศรี ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (2), 206-230.

ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (21 พฤษภาคม 2541). เศรษฐกิจชุมชน: ความหมาย ฐานคิด แนวทางปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2565, จาก https://sites.google.com/site/banrainarao/column/commu_econ_02

ปราโมทย์ เหลาะลาภ และกาญจนา เส็งผล. (2555). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 4 (1), 36-49.

รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10 (1), 994-1013.

สยามรัฐ. (6 กุมภาพันธ์ 2560). ประเทศไทย 4.0 อย่าลืม เศรษฐกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2565, จาก https://siamrath.co.th/n/9124

สายชล ปัญญาชิต. (2562). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น: บทบาททางศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาสู่ความยั่งยืน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 23 (2), 113-128.

สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์. (2561). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 15 (1), 21-36.

Emagtravel. (ม.ป.ป.). พิพิธภัณฑ์บ้านดำ เชียงราย. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.emagtravel.com/archive/baandam-museum.html

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-16