การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • วิภาสินี คำแก้ว โรงเรียนบ้านหนองเขียว จังหวัดเชียงใหม่
  • วิชญา ผิวคำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเรียนรู้บูรณาการ, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการแก้ปัญหา, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากการจัดกิจกรรมผ่านหน่วยการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเบญจม 2 บ้านน้ำรู สังกัดกลุ่มศรีสังวาลย์ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 ห้องเรียน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบประเมินความเหมาะสมของหน่วยการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) แบบทดสอบทักษะแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ฐานนิยม

ผลการวิจัย พบว่า 1) หน่วยการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีแนวคิดบูรณาการรูปแบบบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ลักษณะสหวิทยาการ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ระดมสมองเพื่อระบุปัญหา ขั้นที่ 2 เลือกปัญหาที่สำคัญที่สุด ขั้นที่ 3 ระดมสมองเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหา ขั้นที่ 4 กำหนดเกณฑ์ ขั้นที่ 5 เลือกวิธีการแก้ไขปัญหา ขั้นที่ 6 เสนอวิธีการแก้ไขปัญหา และขั้นที่ 7 การนำเสนอแผนผังความคิด หน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 แผนการเรียนรู้ ได้แก่ เรื่องที่ 1 หยดน้ำมีคุณค่า เรื่องที่ 2 อากาศคือชีวิต เรื่องที่ 3 เสียงที่เราได้ยิน เรื่องที่ 4 แผ่นดินที่เราอยู่ และเรื่องที่ 5 ขยะน่าคิด หน่วยการเรียนรู้บูรณาการที่พัฒนาขึ้นตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี 2) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดกิจกรรม โดยรายการประเมินทั้ง 7 ขั้นมีระดับคุณภาพดีมาก 1 ขั้นตอน และระดับคุณภาพดี 6 ขั้นตอน สรุปได้ว่า ระดับคุณภาพหลังการจัดกิจกรรม มีระดับคุณภาพดี องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) สามารถปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนในช่วงชั้นหรือวิชาอื่นได้ 2) สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะรูปแบบอื่นได้ 3) สิ่งที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะสมกับช่วงวัยและสภาพบริบทของแต่ละโรงเรียน

References

ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช. (2545). คู่มือการเขียนแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

ทิศนา แขมมณี. (2545) ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนและฝึกกระบวนการกลุ่ม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลลี สัตยาศัย. (2557). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเสริมสร้างทักษะการสอนโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการเตรียมการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก. วันที่ 21-23 พฤษภาคม. โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ปทุมธานี. หน้า 1-3.

วิจารณ์ พานิช. (2560). เส้นทางสู่คุณภาพการศึกษายุคประเทศไทย 4.0. การประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4 (The 4th National Symposium on Education 2017). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล. วันที่ 8-9 มกราคม. หน้า 1-49.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สำลี รักสุทธี และคณะ. (2544). เทคนิควิธีการพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2544). รายงานการปฏิรูปการศึกษาต่อประชาชน. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิง.

เสริมศรี ไชยศร. (2528). ระบบหลักสูตร-การสอน. เชียงใหม่: พระสิงห์การพิมพ์.

อรัญญา สุธาสิโนบล. (2545). แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการ. 5 (52), 20-21.

อุดม รัตนอัมพรโสภณ. (2544). ผลการสื่อสารในเวลาเดียวกันและต่างเวลากันในการเรียนรู้ผ่านเว็บ โดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีต่อผลการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณทิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Edens, K. M. (2000). Preparing Problem Solver for the 21st Century through Pro-based Learning. College Teaching. 48 (2), 55-60.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21