โยนิโสมนสิการในฐานะเป็นเครื่องมือจัดการความขัดแย้งภายในของมนุษย์

ผู้แต่ง

  • พระเจริญพงษ์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • สายน้ำผึ้ง รัตนงาม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • วันไชย์ กิ่งแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

โยนิโสมนสิการ, การจัดการความขัดแข้ง, ความขัดแย้ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักโยนิโสมนสิการในฐานะเป็นเครื่องมือจัดการความขัดแย้งภายในของมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า ความขัดแย้งภายในของมนุษย์ตรงกับวิจิกิจฉาตามทัศนะคำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นสภาวะความคิดที่ไร้ระเบียบ ลังเลสงสัย เมื่อประสบกับทางเลือกที่ต้องตัดสินใจ จำแนกออกเป็นความขัดแย้งเชิงบวกที่มีฉันทะเป็นสาเหตุ และความขัดแย้งเชิงลบที่มีตัณหาเป็นสาเหตุ ฉะนั้น การจัดการความขัดแย้งภายในของมนุษย์ คือ การขจัดวิจิกิจฉา ซึ่งมีอโยนิโสมนสิการ ความไม่คิดพิจารณาให้เข้าใจ รู้แจ้งชัดในทางเลือกที่ต้องตัดสินใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความขัดแย้งขึ้นภายใน สรุปองค์ความรู้ที่สำคัญของบทความนี้ คือ กระบวนธรรมเชิงเหตุปัจจัยสัมพันธ์แสดงการเกิดขึ้นของความขัดแย้งภายในมนุษย์ และกระบวนการเกิดขึ้นของสันติภาพภายในของมนุษย์ที่เกิดจากการนำหลักโยนิโสมนสิการมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งภายในของปัจเจกบุคคลด้วยวิธีคิดตามหลักโยนิโสมนสิการ 4 แบบ คือ 1) คิดถูกวิธี 2) คิดอย่างเป็นระบบ 3) คิดอย่างมีเหตุผล 4) คิดให้เกิดผล ซึ่งเป็นเครื่องมือทางความคิดที่นำมาใช้ในการขบคิดให้เกิดความรู้แจ้งชัดหรือมองทะลุปรุโปร่งในทางเลือกที่ต้องตัดสินใจเมื่อประสบกับสภาวะความขัดแย้งภายใน และยังเป็นการจัดระเบียบความคิดไม่ให้เกิดภาวะความลังเลสงสัย ความสับสนทางความคิด โยนิโสมนสิการจึงเป็นหลักคิดที่ช่วยเสริมสร้างให้มีสุขภาวะทางจิตที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่เกื้อกูลให้เกิดสุขภาวะทางสังคม นำมาซึ่งสันติภาพของสังคมที่ก่อตัวจากสันติภาพภายในของบุคคล

References

ชวลิต เกิดทิพย์ และภัทรชรี หนูแพ. (2554). สาเหตุและการจัดการความขัดแย้งในการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2539). ทฤษฎีสันติภาพ: พิจารณาจากบทเรียนของทฤษฎีสงคราม. ใน สันติฤษฎีวิถีวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: โกมลคีมทอง.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (12 มิถุนายน 2557). ร่องรอยความปรองดองใต้เงาความขัดแย้ง, คำกล่าวปาฐกถาวิชาการในวาระวันคล้ายวันเกิดคณะรัฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร เมื่อ 12 มิถุนายน 2558. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก http://prachatai.com/journal/2014/06/53957

ธีระ ประพฤติกิจ. (2540). จิตวิทยาเพื่อความกล้ายืนยันตัวเอง. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ธีระเดช พันธศรี. (2560). ศึกษาความขัดแย้งในองค์กรธุรกิจ บริษัท ยูนิคอินโนเวชั่น จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

บุพมาส สันธิราษฎร์. (2555). กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการความขัดแย้งภายในตนเอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประสาน ต่างใจ. (16 กรกฎาคม 2554). ความจริงทางโลก-แยกส่วน ความจริงทางธรรม-เชื่อมโยง. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565, จาก http://jitwiwat.blogspot.com/2011/07/blog-post_15.html

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545ก). สลายความขัดแย้งสังคมศาสตร์ที่หยั่งถึงธรรมชาติ. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545ข). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นตั้ง แมส โปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 15, 18, 19, 20, 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2544). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม 2, 7, 11, 18, 32. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพมหามกุฏราชวิทยาลัย.

แม่ชีสุนันทา เรียงแหลม. (2558). อุบายบรรเทาอกุศลมูลในชีวิตประจำวัน. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 22 (3), 61-75.

สาวิตรี ธรรมรัตน์ชัย. (11 กุมภาพันธ์ 2553). ความขัดแย้งและความรุนแรงภายในบุคคล. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/335532

โอม รัตนกาญจน์. (12 ธันวาคม 2558). สถานะ อภิสิทธิ์และอำนาจที่แฝงเร้น. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก http://jitwiwat.blogspot.com/2015/12/blog-post_11.html

Management Tips. (4 ตุลาคม 2550). แนวคิดและทฤษฎีการบริหารความขัดแย้ง. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565, จาก http://shine-management-tips.blogspot.com/2007/10/blog-post.html

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-23