การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของนิสิตรายวิชาหลักการแปลและการตีความ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

ผู้แต่ง

  • ชาคริยา ขันคำ โรงเรียนชุมชนบ้านมั่ว จังหวัดลำปาง
  • ปัญญา สุนันตา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

คำสำคัญ:

การเรียนรู้, การมีส่วนร่วม, การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, หลักการแปลและการตีความ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของนิสิต รวมถึงการวิเคราะห์และพัฒนาความรู้ด้านหลักการแปลและการตีความของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามจากประชากรจำนวน 10 รูป/คน และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งศึกษาในรายวิชาหลักการแปลและการตีความของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อนำเสนอผลการวิจัย

ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของนิสิตในรายวิชาหลักการแปลและการตีความ โดยภาพรวม พบว่า นิสิตมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=3.47; S.D.=0.298) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความคิดรวบยอด อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.08; S.D.=.402) รองลงมา คือ ด้านการสะท้อน/อภิปราย อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.56; S.D.=0.363) ด้านการทดลอง/ประยุกต์แนวคิด อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=3.38; S.D.=0.346)  และด้านประสบการณ์ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=2.84; S.D.=0.337) 2. การวิเคราะห์และแนวทางการพัฒนาความรู้ด้านหลักการแปลและการตีความของนิสิต พบว่า 1. ด้านประสบการณ์ ควรได้รับประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการแปลเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง 2. ด้านการสะท้อน/อภิปราย การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นการมีส่วนร่วมที่ดี 3. ด้านการทดลอง/ประยุกต์แนวคิด การได้ประสบการณ์ตรงจึงจะทำให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง 4. ด้านความคิดรวบยอด การได้ศึกษาทบทวนเนื้อหาทำให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้เป็นของตนเอง องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1. การวางแผน เป็นการกำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับการเรียนรู้ 2. การจัดกิจกรรม เป็นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง 3. การนำเสนอ เป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับเสนอต่อผู้อื่นเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น 4. การอภิปราย เป็นการนำเสนอความคิด แลกเปลี่ยนประเด็นต่าง ๆ 5. การสรุปกิจกรรม เป็นการสรุปกระบวนการทั้งหมดทั้งทางด้านเนื้อหาและกิจกรรม

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วงศ์กมล โปรดักชั่น.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2558). การมีส่วนร่วมแนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2556. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วราภรณ์ ศรีวิโรจน์. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชา 1022230: หลักการจัดการเรียนรู้ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. เพชรบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506703: การพัฒนาการเรียนการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2555). การพัฒนา การจัดการความขัดแย้ง การมีส่วนร่วมและสังคมเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: สุภัชนิญค์ พริ้นติ้งกรุ๊ป.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2560). จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทักษะชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สุมณฑา พรหมบุญ. (2551). ทฤษฎีและแนวคิดเรื่องการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุรินทร์ สุริยวงศ์. (2558). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านทุ่งยาว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

#JSBS #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25