การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์) เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ฝนพรม พุทธนา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สุวิมล สพฤกษ์ศรี หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การคิดแก้ปัญหา, แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก, โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกหลังการจัดการเรียนรู้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีการและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์หลังการจัดการเรียนรู้ (gif.latex?\bar{X}=13.85, S.D.=1.81) สูงกว่าผลก่อนการจัดการเรียนรู้ (gif.latex?\bar{X}=8.53, S.D.=1.99) 2) ผลการประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเป็นรายข้อหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}=3.69, S.D.=0.58) และ 3) การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า สิ่งที่นักเรียนชื่นชอบ เช่น สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้ สิ่งที่นักเรียนไม่ชื่นชอบ เช่น เวลาไม่เพียงพอในการเรียนรู้ ปัญหาการร่วมกิจกรรมกลุ่ม องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) การจัดการเรียนรู้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์ได้ รูปแบบการเรียนรู้แนวคิดนี้จึงเหมาะกับการนำไปใช้ในสาระการเรียนรู้อื่นหรือในระดับชั้นอื่นเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) แนวคิดการเรียนนี้สามารถพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี เหมาะกับรายวิชาและระดับชั้นอื่นที่จะพัฒนารูปแบบความคิดอื่นต่อไป 3) แนวคิดนี้มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด จึงควรปรับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทในการเรียนรู้

References

จิราภรณ์ ยกอินทร์. (2558). การใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา Using Cooperative Learning towards Students’ Learning Behavior. กรุงเทพมหานคร: สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ปรียานุช พรหมภาสิต. (2558). คู่มือการจัดการเรียนรู้ Active Learning (AL) for HuSo at KPRU. กำแพงเพชร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (19 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

รสิตา รักสกุล และคณะ. (2558). สัมฤทธิ์ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้ Active Learning ของนักศึกษาในรายวิชาการบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจองเกล้าธนบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2558 (RSU National Research Conference 2015). มหาวิทยาลัยรังสิต. วันที่ 24 เมษายน. หน้า 1325-1333.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). โครงการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประจำปีงบประมาณ 2560 เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สุชาภรณ์ พวงทอง และคณะ. (2560). การพัฒนาแนวคิดและทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) ร่วมกับการสืบเสาะแบบชี้แนะแนวทางและการสืบเสาะแบบเปิด (Guided and Opened Inquiry). การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วันที่ 31 มกราคม-3 กุมภาพันธ์. หน้า 134-143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-15