แนวคิดประชานิยม: นโยบายทางการเมืองสู่การแก้ปัญหาตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

นโยบายการเมือง, ประชานิยม, ไทยนิยม ยั่งยืน

บทคัดย่อ

          ประชานิยมเป็นนโยบายทางการเมืองที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวาง เปรียบเหมือนอุดมการณ์และนโยบายทางการเมืองที่เป็นที่นิยมของประชาชน และหลายพรรคการเมืองในประเทศไทยได้ใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงเลือกตั้ง กระทั่งปัจจุบันยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่และยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า นโยบายประชานิยมที่แท้จริงแล้วเป็นนโยบายในแง่บวกหรือแง่ลบต่อประชาชนและประเทศชาติกันแน่ อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์และนโยบายประชานิยมถือเป็นหัวใจของพรรคการเมือง โดยเฉพาะนโยบายประชานิยมที่สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) ประชานิยมสนับสนุนเกษตรกร 2) ประชานิยมสนับสนุนการเมือง นอกจากนี้ นโยบายประชานิยมยังส่งผลกระทบต่อประเทศชาติทั้งแง่บวกและแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ต่อมารัฐบาลได้ประกาศใช้นโยบายประชานิยมภายใต้ชื่อโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยมีแผนดำเนินงาน 10 เรื่อง คือ 1) สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง 2) คนไทยไม่ทิ้งกัน 3) ชุมชนอยู่ดีมีสุข 4) วิถีไทยวิถีพอเพียง 5) รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย 6) รู้กลไกการบริหารราชการ 7) รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม 8) รู้เท่าทันเทคโนโลยี 9) การร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด 10) งานตามภารกิจของส่วนราชการและหน่วยงานอื่น ถึงกระนั้น ประชานิยมและไทยนิยม ยั่งยืน ก็มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน ในความเหมือน เช่น เรื่องวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานและลักษณะของการกำหนดนโยบายสาธารณะที่มุ่งเน้นคะแนนนิยมจากประชาชน ส่วนความแตกต่าง เช่น นโยบายประชานิยมมักมาจากการตั้งนโยบายไว้หาเสียงก่อนเลือกตั้ง เมื่อชนะการเลือกตั้งจึงดำเนินการตามที่สัญญาไว้กับประชาชน ส่วนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นการกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาลที่ได้เข้ามาบริหารประเทศแล้ว ทั้งนี้ เพื่อหวังผลทางการเมืองที่จะตามมาภายหลัง  

References

กระทรวงต่างประเทศ. (ม.ป.ป.). Thailand's Voluntary National Review on the Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development, June 2018. Retrieved October 25, 2019, from http://www.mfa.go.th/sep4sdgs/contents/filemanager/images/sep/VNR%202018%20English%2010.07.18.pdf

กระทรวงมหาดไทย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2562). รายงานสรุปผู้บริหาร (Executive Summary): โครงการประเมินผลการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไทยรัฐออนไลน์. (25 สิงหาคม 2560). ย้อนรอยวิบากกรรมชาวนา จุดชนวนระเบิด สู่คดีทุจริตจำนำข้าว, สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.thairath.co.th/content/1049487

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ และคณะ. (2555). การวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการทุจริตเชิงนโยบาย Research for Studying Forms of Policy Corruption. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

นันทวุฒิ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเกิดขึ้นของประชานิยมในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์. 26 (3), 22-25.

ประชาชาติธุรกิจ. (2 พฤษภาคม 2561). ถอดรหัสประชานิยมชิงมวลชน “ประชารัฐ-ไทยนิยม” สไตล์ “บิ๊กตู่”. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562, จาก https://www.prachachat.net/politics/news-152317

ผลสำรวจของนิด้าโพล. (29 เมษายน 2559). การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562, จาก http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=37

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2546). ประชานิยม-นักบุญหรือคนบาป?. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2555). มาตรการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบาย ฉบับวิชาการ. นนทบุรี: รุ่งศิลป์การพิมพ์ 1977 จำกัด.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2549). ทักษิณา-ประชานิยม. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29