กระทืบเมียในปั้ม ปตท.: ภาพสะท้อนข้อเท็จจริงความรุนแรงในครอบครัวแต่พุทธกาลถึงปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา ภูมะธน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ดิเรก ด้วงลอย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระทืบเมียที่ปั้ม, ความรุนแรงในครอบครัว, ข้อเท็จจริงทางสังคม

บทคัดย่อ

          บทความนี้ถอดรหัสจากเหตุการณ์จริง มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนความคิดเกี่ยวกับความรุนแรงภายในครอบครัว อันเนื่องด้วยสามีภรรยาและสมาชิกอื่น ๆ ใช้การศึกษาจากคำบอกเล่า เอกสารและงานวิจัย เรียบเรียงออกมาเป็นความเรียงในรูปแบบบทความวิชาการ

          ผลการศึกษา พบว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นผลจากระบบคิดซึ่งทำให้มีการใช้ความรุนแรงภายใต้ระบบคิดปิตาธิปไตยที่เชื่อว่า ผู้ชายเป็นใหญ่ หาเงิน สนับสนุนอาชีพ รายได้และงาน จึงนำไปสู่การใช้ความรุนแรงที่เนื่องด้วยความคิดความเชื่อว่าทำได้ อาทิ ผู้ชายให้เงินผู้หญิงค่าหอ ดังนั้น ต้องอยู่ในอาณัติหรือควบคุม การทำร้ายร่างกาย กระทั่งใช้ความรุนแรงทุกประเภท ด่าทอ ประณาม ตบตี ทำร้าย ทรมานหรือการใช้ความรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิต ถูกทำให้เชื่อว่า เป็นความถูกต้องชอบธรรม มีสิทธิ์ทำได้ในความรุนแรงนั้น แนวทางแก้ไขควรแก้ไขผ่านคติความเชื่อที่ว่าทำได้ด้วยนานาวิธีการ ทั้งควรช่วยเหลือกันในระบบครอบครัว ชุมชน สังคมและกฎหมาย ส่วนคติทางพระพุทธศาสนาต้องเน้นย้ำ ส่งเสริมให้เกิดการใช้กฎศีลธรรมเป็นกลไกเครื่องมือร่วมในการป้องกัน แก้ไขความรุนแรงที่จะพึงเกิดขึ้นในครอบครัวได้

References

กิ่งกานต์ แก้วฟั่น. (2550). ความรุนแรงในครอบครัว: กรณีศึกษาแรงงานสตรีโรงงานในอำเภอสารภี เชียงใหม่ ต่อการใช้ความรุนแรงของคู่สมรส. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชุตินาฏ พงษ์ทองวัฒนา (MONO29 NEWS). (12 กุมภาพันธ์ 2561). เปิด 3 ปัจจัยนำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัว เผย ‘ผู้ชาย’ ก่อปัญหามากสุด. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2562, จาก https://news.mthai.com/special-report/617615.html

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2555). ปิตาธิปไตย: ภาพสะท้อนแห่งความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงในสังคมเอเชีย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 4 (2), 30-46.

ทีวีพูล. (10 ตุลาคม 2562). เผชิญหน้า มีมี่ & น้องบี อีกครั้ง แฉตบหน้าลูก ด่ากระ-รี่. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.tvpoolonline.com/content/1519762

ธีรวุฒิ นิลเพ็ชร์. (2561). ความรุนแรงในครอบครัว: การวิเคราะห์สาเหตุและการป้องกันปัญหาในสังคมไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 24 (2), 1-20.

พระครูพิพิธปริยัติกิจ. (2555). พฤติกรรมความโกรธของนางมาคันทิยา: ศึกษาวิเคราะห์ตามแนวจิตวิทยา. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาชานนท์ ธมฺมวโร (โพธิวรานนท์). (2557). วิเคราะห์เปรียบเทียบความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์ระหว่างประเทศรวันดาและพระเจ้าวิฑูฑภะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเชาวฤทธิ์ นรินฺโท (ทรัพย์สวัสดิ์). (2560). การศึกษากระบวนการเจริญเมตตาของพระนางสามาวดี. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระระพิน พุทฺธิสาโร (ด้วงลอย). (2554). ความรุนแรงครั้งพุทธกาล: กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศากยวงศ์. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ. (2554). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อป้องกันความรุนแรงในครอบครัว. วารสารพยาบาลรามาธิบดี. 17 (3), 444-462.

ฟีลดิ้ง-ฮอลล์, แฮโรลด์, เขียน. สุภัตรา ภูมิประภาส และสุภิดา แก้วสุขสมบัติ, เเปล. (2558). ราชินีศุภยาลัต จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยงยุทธ แสนประสิทธิ์ และคณะ. (2554). รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยกระบวนการการมีส่วนร่วม. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 17 (2), 19-36.

วนิดา ฉายาสูตบุตร. (2550). การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระนางสามาวดีที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วสมน ทิพณีย์. (2558). การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวตามแนวพุทธธรรม. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 7 (1), 51-60.

วุฒิไชย ทองเสภี. (2560). ปัญหาผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: ศึกษากรณีการรับโ

ทษตามกฎหมายอื่น. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น. 1 (29), 95-118.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (24 สิงหาคม 2561). สถิติความรุนแรงปี 61 '7 เดือน' 367 ข่าว สูงสุดในรอบ 3 ปี. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/44211-สถิติความรุนแรงปี%2061%20%277%20เดือน%27%20367%20ข่าว%20สูงสุดในรอบ%203%20ปี.html

สำนักงานยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (25 กรกฎาคม 2561). ความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องส่วนตัว. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2562, จาก https://udonthani.moj.go.th/view/945

สุกิจ อยู่ในธรรม และประณต นันทิยกุล. (2559). การบริหารจัดการเพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. 6 (3), 333-342.

สุกิจ อยู่ในธรรม. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว: ศึกษากรณีการจดทะเบียนสมรส. วารสารวิชาการ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 8 (2), 45-51.

สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2541). สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2310): ศึกษาจากพงศาวดารพม่า ฉบับราชวงศ์คองบอง. กรุงเทพมหานคร: สยาม.

อาภรณ์ เสียงแหลม และคณะ. (2554). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาความรุนแรง ในครอบครัวต่อสตรีในสังคมไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 25 (3), 38-55.

Chapuis, O. (2000). The Last Emperors of Vietnam: From Tu Duc to Bao Dai. Santa Barbara: Greenwood Publishing Group.

Cook, A. (2017). The Murder of the Romanovs Chalford. Gloucestershire: Amberley Publishing.

Fielding-Hall, H. (2017). Thibaw's Queen. Norderstedt: Hansebooks.

Stuart-Fox, M. (1997). A History of Laos. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-23