ค่านิยมทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนบ้านติ้ว ตำบลบ้านเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ พิพิธกุล องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อําเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
  • นิตยา จันทะปัสสา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1
  • ดวงเนตร ชาสุวรรณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
  • พระนิทัศน์ วงศ์วังเพิ่ม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • สมยศ ปัญญามาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ค่านิยมทางเศรษกิจ, พฤติกรรมการบริโภค, จังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่านิยมทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนบ้านติ้ว ตำบลบ้านเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครัวเรือนด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากตัวแทนหรือหัวหน้าครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติแบบบรรยาย  

          ผลการวิจัย พบว่า ค่านิยมทางเศรษฐกิจของชาวบ้านติ๋วพบจากการสัมภาษณ์รายได้ต่อปี โดยเฉลี่ย 20,000 บาทต่อครัวเรือน ครึ่งหนึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน รายได้ส่วนหนึ่งต้องพึ่งพาบุตรหลาน ค่าใช้จ่ายรอบหนึ่งปีมากกว่า 10,000 บาทต่อครัวเรือน ส่วนพฤติกรรมการบริโภค จะพบจากรายจ่ายจำแนกตามปัจจัยสี่ ได้แก่ 1) รายจ่ายซื้ออาหารต่อสัปดาห์ รายจ่ายระหว่าง 100-200 บาท อาหารที่ซื้อ คือ ผัก ผลไม้และเนื้อหมู 2) มูลค่าราคาที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย 10,000-100,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.33 ของครัวเรือน และร้อยละ 30 เป็นค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้าน อุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ที่จ่าย คือ พัดลม เตารีด หมอหุงข้าวไฟฟ้า 3) รายจ่ายเพื่อซื้อเครื่องนุ่งห่ม ร้อยละ 86.66 มีการซื้อเสื้อผ้านาน ๆ ครั้ง บ่อยครั้งและบางครั้งตามลำดับ 4) ค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล แต่ละครั้งโดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 500 บาท ส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 83.30 ส่วนอีกร้อยละ 26.70 ใช้โทรศัพท์บ้าน นอกจากนี้ ยังพบว่ามีปัจจัยอื่น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเสียงและเครื่องเล่นแผ่นซีดีตามลำดับ ค่าใช้จ่ายหนังสือสำหรับบุตรหลาน ร้อยละ 16.70 การซื้อหนังสือพิมพ์อ่านข่าว ร้อยละ 56.67 การบริโภคซื้อสินค้าและการท่องเที่ยว ร้อยละ 33.33 ได้มีการท่องเที่ยว ส่วนการเสี่ยงโชค พบว่า ร้อยละ 46.67 เสี่ยงโชคทุก 15  วัน จำนวนเงินที่เสี่ยงโชคร้อยละ 73.33 มีการทำบุญบ่อยครั้ง

References

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2550). สวัสดิการสังคมเพื่อคนด้อยโอกาส นโยบายว่าด้วยการกินดี อยู่ดี มีสุข มีสิทธิ. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรส โปรดักส์.

คณะกรรมการจัดงานวันสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ครบรอบ 66 ปี. (2563). สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม: การปลดล็อกความเหลื่อมล้ำสู่ความยั่งยืน. การประชุมสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาส ครอบรอบ 66 ปี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วันที่ 24 มกราคม.

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่. (2556). 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, บรรณาธิการ. (2544). สวัสดิการโดยภาคชุมชน (1) กลุ่มออมทรัพย์. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรส โปรดักส์.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, บรรณาธิการ. (2549). สวัสดิการสังคมในมิติกินดี อยู่ดี มีสุข มีสิทธิ. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรส โปรดักส์.

พจน์ บุญเรือง. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับการส่งเสริมการเกษตร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ธีรฟิมล์การพิมพ์.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2539). สังคมวิทยาชนบท: วิธีการวิจัย ทฤษฎีและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. (2553). สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-23