มโนทัศน์เรื่องความรู้และเรื่องเล่าของฌ็อง ฟร็องซัวร์ ลียอตาร์

ผู้แต่ง

  • แม่ชีธรรมอธิษฐาน พรบันดาลชัย หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มโนทัศน์, ความรู้, เรื่องเล่า, ฌ็อง ฟร็องซัวร์ ลียอตาร์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับเรื่องเล่าในทัศนะของฌ็อง ฟร็องซัวร์ ลียอตาร์ ที่มองว่า เรื่องเล่าขนาดเล็กอย่างศาสนาและวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการแสดงให้เห็นถึงที่มาของความรู้และมีคุณค่าต่อการพัฒนาวิถีชีวิตจากข้อเท็จจริงตามบริบทที่แตกต่างกัน เขาปฏิเสธความรู้ที่ได้มาด้วยวิธีตรวจสอบความจริงผ่านการสังเกตทางอายตนะซึ่งเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า สิ่งที่ตนรู้นั้นถูกต้องและเป็นสากลที่สุด ทำให้เกิดการปิดกั้น กดทับการแสวงหาความรู้และการปรารถนาแบบอื่น เขามองว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าขนาดใหญ่ที่กำลังครอบงำผู้คนและลดทอนคุณค่าบางอย่างในตัวมนุษย์ลง ผู้เขียนเห็นด้วยกับข้อเสนอของเขาในแง่ของการเปิดพื้นที่ให้กับความรู้ในฐานะเป็นเรื่องเล่าขนาดเล็ก แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการปฏิเสธความรู้ในฐานะเป็นเรื่องเล่าขนาดใหญ่อย่างวิทยาศาสตร์แบบเด็ดขาด เพราะข้อเสนอของวิทยาศาสตร์ทำให้แนวคิดทางด้านญาณวิทยามีรูปแบบต่อการจัดการปัญหาเชิงประจักษ์ได้ชัดเจนที่สุด ในเรื่องนี้จึงพิจารณาผ่านมุมมองทางพุทธปรัชญาเถรวาท โดยนำเรื่องราวของคนตาบอดคลำช้างมาเป็นเครื่องมือในการพิจารณา เพราะไม่มีสิ่งไหนสมบูรณ์แบบต่อการนำเสนอความรู้ในฐานะเป็นเรื่องเล่า ฉะนั้น ระหว่างเรื่องเล่าขนาดเล็กกับขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องนำเสนอควบคู่กันไปเพื่อให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างกัน เพราะทุกเรื่องเล่าต่างก็ทำให้เห็นความจริง องค์ความรู้ใหม่ คือ 1) ความรู้และเรื่องเล่ามีความสัมพันธ์กันในแง่ที่มีลักษณะเป็นเหตุและผลของกันและกัน 2) เรื่องเล่าทั้งสองประเภทต้องอาศัยกันและกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในความรู้ที่ถูกต้องที่สุด การที่ลียอตาร์ปฏิเสธเรื่องเล่าขนาดใหญ่อาจทำให้ขาดการเข้าถึงความรู้ได้ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องเล่าทั้งสองสามารถพิจารณาผ่านมุมมองพุทธปรัชญาเถรวาทในเรื่องคนตาบอดคลำช้าง อันเป็นการเข้าถึงความรู้ในลักษณะทางสายกลางและศาสตร์แห่งการตีความสมัยใหม่

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). แนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม. กรุงเทพมหานคร: สมมติ.

ประทุม อังกูรโรหิต. (2519). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความคิดของวิตต์เกนสไตน์ เกี่ยวกับความหมายของปรัชญา. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2544). เศรษฐศาสตร์การเมือง: จากสุภา ศิริมานนท์ถึงวันพรุ่งนี้ รื้อถอนระบบคิดบนหนทาง Post-marxism/Post-modrenism/New Anarchism. ใน ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. วิถีทรรศน์ ชุดโลกาภิวัตน์: ทฤษฎีและความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: อมรินพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 11. นครปฐม: ผลิธัมม์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 13, 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วุฒิ เลิศสุขประเสริฐ. (2545). ญาณวิทยาเชิงธรรมชาติของไควน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภฤกษ์ คณิตวรานันท์. (2562). ฌอง ฟรองซัวส์ ลีโยตาร์ด ความงามที่แตกต่างในศิลปะร่วมสมัย. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

สมภาร พรมทา. (2560). พุทธปรัชญากับญาณวิทยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับราชบัณฑิตยสภา, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

Boyle, N. (1998). Who are We Now? Christian Humanism and the Global Market from Hegel to Heaney. Notre Dame, IN: University of Notre Dame Press.

Hylton, P. (2001). Blackwell Companions to Philosophy: A Companion to Analytic Philosophy. Martinich, A. P. and Sosa, D. (eds.). Oxford: Blackwell Publishers Ltd.

Landau, C., et al. (2011). The Philosophy Book. London: Dorling Kindersley Limited.

Lyotard, J. F. (1984). The Postmodern Condition: A Report on Knowledge. Bennington, G. and Massumi, B. (trans.). Minneapolis: The University of Minnesota Press.

Sim, S. (2001). The Routledge Companion to Postmodernism. London: Routledge.

Soskice, J. M. (2005). The Ends of Man and the Future of God. In Ward, G. (ed.). The Blackwell Companion to Postmodern Theology. Oxford: Blackwell Publishing Ltd.

Wittgenstein, L. (1967). Philosophical Investigations, 3rd ed. Anscombe, G. E. M. (tran.). Oxford: Basil Blackwell Ltd.

#JSBS #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-15