การพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติในวิชา ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู ของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สุริยา อินทจันท สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ทักษะการพูด , กิจกรรมบทบาทสมมุติ , ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการสอนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งไว้ E1/E2 = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลปศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ แบบทดสอบวัดทักษะการพูด และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้วยข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 81.05 และคะแนนหลัง มีค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 85.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) คะแนนทักษะการพูดหลังการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการสอนหรือการพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การทดสอบสมมติฐานพบว่า หลังจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทองได้รับการพัฒนาทักษะการพูดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น นักศึกษามีทักษะการพูดสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณัฐชญา บุปผาชาติ. (2561). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. รายงานการศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2554). การใช้บทบาทสมมุติในการเรียนการสอน. วารสารครุศาสตร์. 6 (2), น. 361.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นารีนารถ กลิ่นหอม, กฤตพงศ มูลมี, และวริยา อินทรประสิทธิ์. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (2), น. 7-12.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 7 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 109 ง, น. 12.

ปิยจิตร สังข์พานิช. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมุติสำหรับนักศึกษาวิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ. 134 (40), น. 41-54.

พรรณิการ์ สมัคร. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารการวัดผลการศึกษา. 39 (106), น. 277-291.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). หลักการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร : ศึกษาพร.

วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). ม.ป.ท.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : ช้างทอง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต. (2565). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาโปรแกรมวิชาการสอนภาษาจีน คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 33(1), น. 73-85.

อดิศา เบญจรตนานนท์. (2552). การสอนทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษแบบเข้มให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2554). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.

เอกภาวี ขัติครุฑ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26 — Updated on 2024-12-26

Versions